
วัฏจักรของฟอสฟอรัส

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
สัตว์ทั้งหลายได้รับฟอสฟอรัสจากไหน ?
สิ่งมีชีวิตบนโลกต้องการส่วนประกอบ หลายๆอย่าง หนึ่งในนั้นคือ ฟอสฟอรัส ฟอสฟอรัสนั้นเคลื่อนที่ไปมาระหว่าง สัตว์และ พื้นดิน พืช และ น้ำ พืชดูดซับฟอสฟอรัสจากพื้นดิน จากนั้นสัตว์ต่างๆก็กินพืช หรือสัตว์ตัวอื่นๆเข้าไป เวลาที่พืชเหี่ยวเฉา เวลาที่สัตว์ฉี่ หรืออึ หรือเวลาที่สิ่งต่างๆตาย ฟอสฟอรัสจะถูกปล่อยออกมา สู่วงจรอีกครั้ง อะตอมฟอสฟอรัสหมุนเวียนอยู่ใน วงจรนี้ระยะหนึ่ง ในที่สุดก็โดนนำ้พัดพาไปยังทะเล ตรงนี้ มันจะถูกสิ่งมีชีวิตกินเข้าไป ทำให้มันหมุนเวียนอยู่ในมหาสมุทรได้เป็น นับแสนปี จนกระทั่ง มันไปติดกับเปลือกหอยหรือเปลือกของสัตว์อื่นๆ แล้วจมลงไปก้นมหาสมุทร เปลือกชิ้นเล็กๆเหล่านี้ได้สะสม รวมกับโคลนและสิ่งเล็กๆต่างๆ จะค่อยๆกลายเป็นตะกอนชั้นบางๆ ชั้นตะกอนเหล่านี้จะถูกกดทับกันเรื่อยๆ แน่นขึ้น แน่นขึ้น จนกลายเป็นหิน! เปลือกโลกนั้นย้ายหรือเปลี่ยนไปตามกาลเวลา พื้นมหาสมุทรอาจกลายเป็นพื้นดินได้ เมื่อผ่านไปหลายล้านปี ตอนนี้ ฟอสฟอรัสอยู่ในรูปของหินและ พื้นดินอีกครั้ง แต่มันไม่อยู่นิ่งๆหรอก เมื่อเวลาผ่านไป หินนั้นก็จะถูกขูดกรีดไปตามธรรมชาติ ทำให้แตกกลายเป็นเม็ดเล็กๆ ทั้งหมดนี้ คือกระบวนการทาง ธรณีวิทยา ซึ่งเกิดขึ้นช้ามากๆ อาจจะใช้เวลานับเป็น ล้านๆปี การผุกร่อนของหินทำให้ฟอสฟอรัสอยู่ ในสภาพที่ พืชสามารถดูดซึมมันเข้าไปได้ พืชเหล่านี้ใช้ฟอสฟอรัสสร้าง เนื้อเยื่อฃองมัน และวงจรทั้งหมดนี้ก็คือวงจรหมุนเวียนนั่นเอง ซํ้าแล้วซํ้าอีก ดังนั้น มีฟอสฟอรัสอยู่สามที่ด้วยกันบน โลกนี้ ในระบบนิเวศบนบก ซึ่งหมายถึงสิ่ง มีชีวิตทั้งหมดและพื้นดิน ในระบบนิเวศในน้ำ ซึ่งหมายถึงสิ่งมี ชีวิตทั้งหมดในน้ำ และในชั้นตะกอนของพื้น มหาสมุทร รวมทั้งฟอสฟอรัสใน หินดานใต้ดินด้วย ยังมีวงจรหมุนเวียนธรรมชาติอื่นๆอีกหลาย อย่างเช่นวงจรคาร์บอน หรือไนโตรเจน เป็นวงจรที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ แต่วงจรของฟอสฟอรัสนี้ ไม่เกี่ยวกับ อากาศเลย มันจึงเดินทางไปในหินดานใต้ดินแทน จึงทำให้วงจรฟอสฟอรัส เป็นวงจรที่ อ่อนไหวกว่าวงจรอื่นๆ ซึ่งหมายความว่า มันอาจจะเกิดภาวะไม่สมดุลย์ได้ง่าย ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยการเกษตรสมัยใหม่ คนเรายังทำให้ภาวะไม่สมดุลย์เกิดขึ้นเสมอ เราขุดฟอสฟอรัสขึ้นมาจากหินดานใต้ดิน เพื่อใช้เป็นปุ๋ยในไร่นา ฟอสฟอรัสเหล่านี้ถูกพืชดูดซึมเข้าไป และตอนที่เราเก็บเกี่ยว ฟอสฟอรัสในพื้นดินที่เราเพาะปลูกนี้ ก็ลดลงอย่างรวดเร็ว เร็วกว่าตอนที่มันเดินทางออกจาก พื้นดินโดยธรรมชาติ ซึ่งพืชค่อยๆเหี่ยวเฉา และฟอสฟอรัสค่อยๆ เดินทางกลับสู่พื้นดิน วิธีการเกษตรสมัยใหม่ เรามักจะใช้ฟอสฟอรัสเป็นจำนวนมาก และมักจะเก็บเกี่ยวพืชทั้งหมดพร้อมๆกัน ดังนั้น จึงทำให้ฟอสฟอรัสที่เราใส่ลงไป ในดินไม่ได้เข้าไปอยู่ในดิน จึงทำให้ฟอสฟอรัสนวนมากกว่าปกติถูกพัดพาไป ในทะเลสาปหรือทะเลเกินกว่าธรรมชาติ และฟอสฟอรัสซึ่งอยู่ในนํ้าก็เช่นดียวกับบนบก มันก็ทำหน้าที่เป็นปุ๋ยและสารอาหาร แต่การมีสารอาหารมากไปในน้ำนั้น ไม่ใช่ เรื่องดี มันทำให้เกิดปรากฎการณ์ยูโทรฟิเคชั่น ซึ่งทำให้สิ่งต่างๆในทะเลสาปและในน้ำ เติบโตและขยายพันธืุมากขึ้น โดยอาจมีสาหร่ายเติบโตอย่างมาก เรียกว่าปรากฏการ์น้ำเขียว สาหร่ายบางชนิดนั้นมีพิษ ทำให้เราว่ายน้ำ ไม่ได้ เวลาที่ระบบนิเวศถูกรบกวนแบบนี้ จะมีผลกระทบไม่ใช่แค่ต่อธรรมชาติ แต่ต่อคนเราด้วย คนเราพึ่งพาธรรมชาติและสิ่งที่มัน มอบให้เรา ทั้งอาหาร และผลิตภัณฑ์อื่นๆ หากเราเปลี่ยนระบบนิเวศ เราจะไม่ได้รับประโยชน์ที่เราเคยได้ ถ้าเรายังไม่เลิกทำสิ่งที่เราทำอยู่ และยังนำฟอสฟอรัสจากหินดานใต้ดิน มาใช้เร็วกว่าขั้นตอนตามธรรมชาติ เป็นล้านๆเท่า และส่งผลกระทบต่อระบบน้ำ เราก็จะรบกวนวงจรฟอสฟอรัสมากขึ้นไปอีก พื้นดินเพาะปลูกจะไม่มีประสิทธิภาพ และการเก็บเกี่ยวก็จะแย่ลง ในขณะเดียวกัน สิ่งต่างๆใน เลสาปและมหาสมุทรก็จะเติบโตมากเกินไป และระบบนิเวศก็จะถูกทำลาย หากเราเปลี่ยนการทำการเกษตร สักเล็กน้อย และคอยควบคุมรักษาฟอสฟอรัสให้เป็นไปตามธรรมชาติ การเกษตร การขจัดนํ้าเสีย ให้ถูกวิธี เราอาจสามารถนำเอาฟอสฟอรัสมาใช้เป็นปุ๋ยได้อีกครั้ง และวงจรฟอสฟอรัสที่สมดุลย์ก็จะกลับมา เป็นวงจรหมุนเวียนฟอสฟอรัสแบบสมบูรณ์