
มอสส์

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
พืชชนิดใด คือพืชบกชนิดแรกบนโลก ?
รู้ไหมว่าเราเคยใช้พืชชนิดใด มาเป็นส่วนประกอบในการทำแผล ใช้เป็นผ้าอ้อม และสร้างเป็นรั้วกำแพง ใช่แล้วล่ะ มันคือมอสส์ พืชเล็กๆที่จิ๋วแต่แจ๋ว ราว 450 ล้านปีมาแล้ว พืชบกชนิดแรกๆได้มีวิวัฒนาการขึ้นมา นั่นคือพวกไบรโอไฟต์และเฟิร์น พืชบกชนิดแรกเหล่านี้จะขยายพันธุ์ได้ เหมือนกับสาหร่ายและแบคทีเรียที่ อาศัยอยู่ในทะเลในขณะนั้น โดยการแพร่สปอร์ออกมาแทนที่จะใช้เมล็ด และปัจจุบันก็ยังคงเป็นแบบนั้นอยู่ พวกมันเป็นพืชมีสปอร์ ไบรโอไฟต์นั้นถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม มอสส์ ลิเวอร์เวิร์ต และฮอนเวิร์ต ฮอนเวิร์ตจะมีความพิเศษกว่านิดหน่อย มาดูที่มอสส์กับลิเวอร์เวิร์ต กันก่อนดีกว่า มีมอสส์อยู่มากมายหลายพันธุ์ ตัวอย่างเช่น พีทมอสส์ มอสส์เป็นพืชที่มีแกมีโทไฟต์ในวงจรชีวิต พืชตัวผู้จะมีสเปิร์มเพศผู้ และพืชตัวเมีย ก็จะมีเซลล์ไข่ของเพศเมีย มีใครรู้บ้างว่าสเปิร์ม เข้าไปในไข่ได้อย่างไร ฝนนั้นถือเป็นตัวช่วยที่ดี สเปิร์มจึงจะว่ายน้ำไปหาเซลล์ไข่ได้ แล้วทีนี้ยังไงต่อล่ะ สเปิร์มที่ว่า ก็จะเข้าไปผสมกับไข่ และบางสิ่งก็จะเติบโตขึ้นอยู่ใน แกมีโทไฟต์เพศเมียน่ะสิ ว่าแต่ขั้นตอนการสืบพันธุ์ของมอสส์ มันเสร็จสิ้นลงแล้วเหรอ ยังหรอก นี่ยังไม่จบ มอสส์ยังเหลือขั้นตอนสุดท้ายอีกอย่าง ก่อนกระบวนการนี้จะจบลง จำได้ไหมว่าไบรโอไฟต์เอง ก็เป็นพืชมีสปอร์น่ะ ดังนั้น จึงทำให้เหมือนมีเม็ดกลมๆ อยู่ตรงก้านของมันเลย นี่เรียกว่าสปอร์โรไฟต์ บนยอดตรงก้านของมัน เรียกว่า ซีตา จะมีก้านชูอับสปอร์ที่บรรจุ แคปซูลสปอร์ที่โตเต็มวัยอยู่ เมื่อสปอร์ของมันโตเต็มที่ แคปซูลนี้ก็จะแตกออก ทำให้สปอร์พัดไปตามลม และเมื่อสปอร์ที่เล็กมากๆนั้น ตกลงไปที่ใด มอสส์ต้นใหม่ก็จะงอกงามขึ้นมาอีกครั้ง เป็นอันว่าวัฏจักรชีวิตของมอสส์ ก็เสร็จสมบูรณ์ดีแล้ว ดังนั้น การสืบพันธุ์ของมอสส์ ก็มีอยู่ 2 ขั้นตอนด้วยกัน ขั้นตอนแรกคือการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ผ่านแกมีโทไฟต์ และขั้นตอนที่สองคือการสืบพันธุ์แบบ ไม่อาศัยเพศผ่านสปอร์โรไฟต์ สับสนกันหรือเปล่าเนี่ย จริงๆแล้วมันก็ได้ผลมาตลอดตั้งแต่ 450 ล้านปีก่อนแล้วนะ แต่ว่ามอสส์ก็สามารถสืบพันธุ์ ด้วยวิธีอื่นที่ง่ายกว่านี้ บางครั้ง ส่วนประกอบของมอสส์ ก็แบ่งตัวออกมาและเจริญเป็นต้นใหม่ ที่อยู่กันคนละที่ได้ การโคลนนิ่งไงล่ะ แต่ถ้าไบรโอไฟต์มีความต่างจาก พืชมีเมล็ดอย่างมากล่ะก็ ทำไมพวกมันถึงดูไม่ต่างกันเลยล่ะ พวกมอสส์เองก็มีใบ ลำต้น และรากไม่ใช่เหรอ ไม่สิ พวกมันไม่มีหรอก ที่กล่าวไปนี้ ก็ทำให้มันแค่ดูเหมือนราก แต่จริงๆแล้วมันเป็นอย่างอื่นน่ะสิ นั่นคือใยเส้นบางที่ยึดให้มอสส์ ยังอยู่บนพื้นดินได้ พวกมันดูดซึมน้ำแบบที่รากทำ ไม่ได้ด้วยซ้ำ เส้นใยที่ว่านั่นมีชื่อว่าไรซอยด์ และเจ้าพวกนี้ ที่หน้าตาเหมือนใบนี่แหละ มันถูกเรียกว่าใบเทียม และใบเทียมของมอสส์ ก็มีชื่อว่าไมโครฟิลล์ ทีนี้มาดูดอกทานตะวันดอกนี้กัน มันดูดซึมน้ำและแร่ธาตุผ่านทางราก และลำเลียงสารเหล่านั้นผ่านเวสเซล ไปยังลำต้นและใบ และเวสเซลอื่นๆก็จะลำเลียง น้ำตาลจากใบต่อไป นี่คือเหตุผลว่าทำไมดอกไม้และพืชอื่นๆ จึงถูกเรียกว่าพืชมีท่อลำเลียง ไบรโอไฟต์นั้นไม่มีระบบลำเลียง แล้วแบบนี้มอสส์จะได้รับน้ำผ่านทางไหนล่ะ มอสส์จะดูดซึมความชื้นและน้ำ ผ่านทางอากาศโดยตรง โดยมีไมโครฟิลล์ และลำต้นเทียมคอยช่วยเหลือ และเพราะมอสส์นั้นดูดซึมน้ำ จากอากาศ พวกมันจึงอ่อนไหวต่อ มลพิษที่อยู่ในอากาศมาก มอสส์จะโตได้ในที่ชื้น ที่ซึ่งมันจะแผ่คลุมดินเหมือนกับพรมนุ่มๆ นั่นทำให้ดินในบริเวณมีความชุ่มชื้น และโอกาสที่ฝนจะชะหน้าดินตรงนั้นไป ก็จะลงน้อยลงไปด้วย ด้วยเหตุนี้มันจึงช่วยไม่ให้ หน้าดินพังทลายลงมา มอสส์จึงเป็นพืชที่ให้คุณ กับสิ่งแวดล้อมมาก ว่าแต่ลิเวอร์เวิร์ตนี่มัน หน้าตาแบบไหนกันล่ะ ก็แบบนี้ไง พวกมันไม่มีราก แต่มีไรซอยด์ ไม่ต่างมอสส์นั่นแหละ แล้วก็มีใบเทียมด้วย ทั้งนี้ มันยังสืบพันธุ์ได้ แบบเดียวกับมอสส์ คือสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ผ่านแกมีโทไฟต์ และสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ผ่านสปอร์โรไฟต์ แต่แทนที่จะมีไมโครฟิลล์ ที่เล็กมากแบบมอสส์ ลิเวอร์เวิร์ตกลับมีใบเทียม ขนาดใหญ่เพียงใบเดียว มันคือทัลลัส ไบรโอไฟต์ทุกชนิดต่างก็สร้าง ทั้งอาหารและพลังงาน ผ่านการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งกระบวนการนี้ก็ทำให้มี ออกซิเจนเพิ่มขึ้นให้กับโลกของเรา ก็อย่างที่เคยพูดไปแล้วนั่นแหละ พืชเล็กๆที่จิ๋วแต่ว่าแจ๋ว