
เทคโนโลยีของยีนส์

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
จริงหรือเท็จ? ถ้ามียีนใหม่ถูกนำไปใส่ไว้ในสิ่งมีชีวิต เราจะถือว่าสิ่งมีชีวิตนั้นได้รับการตัดแต่งพันธุกรรม
นี่คือเซลล์ และที่นิวเคลียสของเซลล์ จะมีโมเลกุลของดีเอ็นเอ ที่มีเซลล์ของยีนส์อยู่ ยีนส์นั้นคือสูตรที่นำไปสร้าง โปรตีนแต่ละชนิดขึ้นมา เซลล์จะทำหน้าที่ถอดรหัสสูตร แล้วสร้างโปรตีนขึ้นจากกรดอะมิโน เซลล์ทำหน้าที่นี้มาหลายพันล้านปีแล้ว นับตั้งแต่มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นบนโลก มนุษย์เองก็เรียนรู้วิธีการอ่าน สูตรเหล่านี้ไว้เช่นกัน เราสามารถศึกษาลำดับ ของคู่เบสในยีนส์ และสรุปออกมาว่าเซลล์จะสร้าง โปรตีนตัวใดขึ้นมา และปัจจุบันนี้ เราไม่ได้รู้แค่เพียงวิธีการ อ่านสูตรของโปรตีนพวกนี้เท่านั้น แต่เรายังเขียนมันออกมาได้ด้วย ลีออนนั้นเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เขาเป็นโรคเบาหวาน นั่นหมายความว่าร่างกายของเขา ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนตัวหนึ่ง ที่ชื่ออินซูลินให้เพียงพอได้ ดังนั้นเขาจึงต้องฉีดฮอร์โมนตัวนี้ เข้าไปทุกครั้งหลังทานข้าวเสร็จ ในอดีตนั้นมีการสกัดอินซูลิน ออกมาจากหมู และต้องใช้หมูจำนวนมาก แต่ได้อินซูลินปริมาณเพียงเล็กน้อย มันเคยเป็นยาที่มีราคาแพง ไม่เพียงเท่านั้น อินซูลินที่ได้จากหมู ยังไม่เหมือนกับอินซูลินของมนุษย์ด้วย นักวิทยาศาสตร์จึงหาทางออกอีกทาง เพื่อผลิตอินซูลินขึ้นมา วิธีที่ต้นทุนไม่แพง ทั้งยังผลิตอินซูลิน ที่เหมาะกับคนมากกว่า และพวกเขาก็ได้คำตอบแล้ว อินซูลินถือเป็นโปรตีนประเภทหนึ่ง และโปรตีนก็จะถูกสร้างขึ้นโดยเซลล์ที่ ถอดรหัสยีนส์ในนิวเคลียสของเซลล์ออกมา แล้วถ้าเราเปลี่ยนยีนส์ที่อยู่ใน แบคทีเรียพวกนี้ได้ล่ะ ก็เอายีนส์พวกนี้มาตัดต่อสิ เพียงเท่านี้ แบคทีเรียก็เริ่ม ผลิตอินซูลินได้แล้วล่ะ นักวิทยาศาสตร์เริ่มต้นศึกษาเซลล์ ของคนที่ไม่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 1 ที่ซึ่งเซลล์เหล่านั้นจะมีสูตรในการ ผลิตอินซูลินในเซลล์ของนิวเครียส จากเซลล์พวกนี้ทำให้พวกมัน เริ่มตัดเอายีนส์ ที่คอยควบคุมการผลิตอินซูลินออกไป ทั้งยีนส์และสูตรการสร้างอินซูลิน จะถูกใส่ลงไปในแบคทีเรีย แล้วยีนส์ใหม่ ก็จะทำให้แบคทีเรียผลิต อินซูลินจากกรดอะมิโนขึ้นมา จากนั้นเราจึงนำอินซูลินที่ได้ ไปเก็บไว้เพื่อนำไปทำเป็นยา รักษาโรคเบาหวานอีกที พวกเขาใช้วิธีนี้ในการตัดต่อ สูตรโปรตีนในแบคทีเรีย และนั่นทำให้มีแบคทีเรีย ที่เหมาะสมกับร่างกายมนุษย์เกิดขึ้นมา ทั้งยังนำไปใช้ในการผลิตยาได้ด้วย ตอนนี้เราก็มีอินซูลินที่เหมาะกับ ร่างกายมนุษย์มากกว่าเดิมแล้ว นั่นทำให้หมูไม่จำเป็นต่อกระบวนการ ผลิตอินซูลินอีกแล้ว แล้วราคาของยาที่ว่าก็ถูกลงไปด้วย นี่คือตัวอย่างหนึ่งของความรู้ในเรื่อง ของยีนส์และโมเลกุลของดีเอ็นเอ ที่ถูกใช้ไปกับเรื่องที่นำไป สร้างประโยชน์ได้จริง นี่คือเทคโนโลยีของยีนส์ มีการใช้เทคโนโลยีของยีนส์ ไปในหลายด้าน เช่น ด้านการเกษตร และนี่ก็เป็น อีกทางที่เทคโนโลยียีนส์อาจได้ผล ปลาชนิดนี้อาศัยอยู่ใน มหาสมุทรอาร์กติก พวกมันจึงมียีนส์ที่ทนต่ออุณหภูมิ ที่หนาวเย็นได้เป็นอย่างดี เป็นไปได้ว่าการนำเทคโนโลยีของยีนส์มาใช้ จะทำให้เราดึงยีนส์ที่พวกมันมี มาใส่เอาไว้ในมันฝรั่ง ซึ่งก็จะทำให้พวกมันมีความทนทาน ต่ออากาศที่หนาวเย็นได้ดีมากขึ้น ตอนนี้ได้มีการสร้างมันฝรั่งพันธุ์ใหม่ ที่หลากหลายขึ้นมา และหน้าตาของมันก็ไม่ต่างจาก มันฝรั่งทั่วไป แต่มันถูกเปลี่ยนไปได้ด้วยความช่วยเหลือ จากเทคโนโลยีของยีนส์ คือมันถูกตัดแต่งใหม่ นั่นทำให้มันเติบโตได้ ในพื้นที่ที่อากาศหนาวเย็น เราได้ตัดต่อพันธุกรรม กับมันฝรั่งดังกล่าว ยังมีตัวอย่างอีกมายของทั้งสัตว์ ผลิตผลจากพืช ที่ถูกเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม เพื่อให้โตเร็วกว่าเดิม หรือให้ผลผลิตในปริมาณที่มากขึ้น ทั้งพืชและสัตว์ที่ถูกตัดแต่งพันธุกรรม สามารถเป็นแหล่งอาหารราคาถูกได้ ดังนั้นเทคโนโลยีของยีนส์จึงให้ทั้งคุณภาพ ของยาที่มากขึ้นและราคาอาหารที่ถูกลง มนุษย์จึงแข็งแรงขึ้น รวมทั้ง ผู้คนก็อดอยากน้อยลง แต่ความเสี่ยงนั้นยังมีอยู่ และมันก็ยากที่จะบอกได้ว่าผลลัพธ์ทาง เทคโนโลยีของยีนส์จะเป็นอย่างไรต่อไป มันจะดีกับมนุษย์แน่หรือ หากว่าเรา กินอาหารที่มีการตัดแต่งพันธุกรรมนี้ ในอาหารพวกนั้นจะมีสารที่ทำให้ เราป่วยหรือเปล่า แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับธรรมชาติ ถ้าหากมีพืชและสัตว์ที่ผ่านการตัดแต่ง พันธุกรรมหลุดออกไปปะปน ระบบนิเวศที่มีอยู่จะเปลี่ยนไปหรือเปล่า แล้วสปีชีส์บางสายพันธุ์จะถูกกำจัดไปไหม ธรรมชาติเป็นสมดุลที่เปราะบางนัก เมื่อพืชและสัตว์ต่างพึ่งพา และส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน บางทีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ของสปีชีส์ต่างๆอาจทำให้สมดุลเสียไป ในทางที่ยากจะคาดเดาได้ ตอนนี้เราไม่อาจรู้ได้เลยว่า ผลลัพธ์ในระยะยาวทางเทคโนโลยีของยีนส์ จะเป็นอย่างไรต่อไป เราจึงจำเป็นต้องระวังให้มาก เรียกได้ว่าเทคโนโลยีของยีนส์นั้น จะนำมาทั้งโอกาสและความเสี่ยงมากมาย