
นิเวศวิทยาเฉพาะตัว ชีวพนาเวศ และถิ่นที่อยู่อาศัย

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
เราเรียกวิถีที่สปีชีส์อย่างหนึ่งดำรงชีวิตและบทบาทหน้าที่ของมันต่อสิ่งแวดล้อมว่าอะไร?
มีใครครองแชมป์ที่โหล่ประจำห้องบ้าง แล้วมีใครเป็นพวกหัวกะทิ หรือเป็นพวกฉลาดที่รู้ ไปหมดทุกเรื่องหรือเปล่า บางทีอาจมีคนคิดว่าตัวเองนั้น เป็นคนที่ไม่รู้อะไรเลย แต่เพื่อนๆกลับบอกว่าเรามีความรู้ และเป็นอะไรที่ดีกว่านี้ได้อีก ในธรรมชาติเองก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน ทุกสิ่งนั้นล้วนมีหน้าที่ที่ต่างกัน การเอาชีวิตรอดนั้น ทุกชีวิตก็ต้องมี กลยุทธ์ที่ใช้ในการเอาตัวรอด นี่คือ นิเวศวิทยาเฉพาะตัว ที่โรงเรียนนั้น ไม่ใช่ทุกคนจะทำ หน้าที่ต่างๆได้ดีเท่ากันหมด แต่สำหรับธรรมชาติ ทุกชีวิต จะเกื้อหนุนและมีหน้าที่ร่วมกัน เรียกได้ว่าพวกมันต่างก็เป็น ผู้ชำนาญพิเศษในแต่ละด้าน มีวิถีเฉพาะตัว ในการใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรแวดล้อม เช่น อาหาร น้ำ การป้องกันตัว และที่อยู่อาศัย วิถีเฉพาะตัว เพื่อตอบโต้การ แข่งขันกับสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์ จึงทำให้เราเรียกมันว่า นิเวศวิทยา เฉพาะตัวของสปีชีส์ นิเวศวิทยาเฉพาะตัวไม่ได้บอกเรา แค่เรื่องการอยู่อาศัยของ สิ่งมีชีวิต ณ ที่ใดที่หนึ่ง แต่มันยังบอกเราถึงหน้าที่ ของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นด้วย ฟังไจและแบคทีเรียบางชนิดจะช่วย ย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์ที่ตายแล้ว และด้วยหน้าที่ดังกล่าว สารอาหารต่างๆจึงก่อเกิดขึ้น พวกมันจึงเป็น ผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร สิ่งมีชีวิตนั้นจะพัฒนากลยุทธ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งอาหาร ซึ่งการพัฒนาของมันก็ส่งผล ต่อนิเวศวิทยาเฉพาะตัว สิ่งมีชีวิตบางชนิดนั้นสามารถปรับตัว ให้เข้ากับเงื่อนไขที่แตกต่างได้ง่าย พวกหนูนั้นย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองของเรา เพื่อหาอาหาร แหล่งเพาะพันธุ์ และคู่ผสมพันธุ์ พวกมันต้องคว้าทุกโอกาสที่มี สิ่งมีชีวิตพวกนี้คือนักฉวยโอกาส แต่สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นกลับมีความชำนาญ ในนิเวศวิทยาเฉพาะตัวที่แคบลงกว่านั้น นกหัวขวานด่างหลังขาว ก็มีความชำนาญอย่างมาก มันจะกินแค่หนอนดักแด้และแมลง ที่อาศัยอยู่ในซากไม้ที่ตายไปแล้ว หรือไม้ใบกว้างผลัดใบที่ไร้ซึ่งชีวิต มันดูเหมือนเป็นนกที่กินยาก แต่การกินอาหารที่ไม่มีสัตว์อื่นกิน ทำให้พวกมันไม่ต้องแข่งขัน เพื่อแย่งอาหารกับใคร และนกหัวขวานชนิดนี้ก็วางใจ กับแหล่งอาหารของมันได้มากกว่า แต่โชคร้าย ที่นกหัวขวานด่างหลังขาว ซึ่งนับเป็นสัตว์ที่มีความชำนาญสูง ได้เริ่มสูญพันธุ์ไปแล้วในหลายประเทศ เพราะว่าป่าผลัดใบนั้นหายไป เนื่องจากการทำป่าไม้และการตัดไม้ทำลายป่า นอกไปจากนักฉวยโอกาส และสัตว์ที่มี ความชำนาญพิเศษแล้ว ก็ยังมีกลยุทธ์ที่ 3 ในการเอาตัวรอด ที่มีอยู่ตามธรรมชาติด้วย สิ่งมีชีวิตที่เข้ามาควบคุมในสถานที่หนึ่ง เป็นอันดับแรกจะถูกเรียกว่า ผู้บุกเบิก พื้นดินจะไม่ถูกทิ้งให้ว่างเปล่า นานนักหลังจากไฟป่าสิ้นสุดลง พืชที่โตเร็วหลายชนิด จะมีเมล็ดที่ถูกกระตุ้นจาก ความร้อนของไฟ เริ่มแผ่คลุมหน้าดินอย่างรวดเร็ว และเมื่อรากของพืชชนิดอื่นๆงอกเงยอีกครั้ง ผู้บุกเบิกก็จะถูกขับออกจากพื้นที่ แต่เมล็ดของพืชที่เป็นผู้บุกเบิก ก็ได้แพร่กระจายไปในที่แห่งนั้นแล้ว ซึ่งตอนนี้พวกมันก็ลงไปอยู่ในดินอย่างสงบ เพื่อรอให้ไฟป่าเกิดขึ้นมาอีกครั้ง นิเวศวิทยาเฉพาะตัวบอกเราเป็นนัย ว่าสิ่งมีชีวิตนั้นหาอาหาร น้ำ ที่กำบัง และแหล่งเพาะพันธุ์อย่างไร รวมถึงหน้าที่ต่างๆที่มันมี ต่อสิ่งแวดล้อมด้วย แต่กับสถานที่อันเป็นถิ่นอาศัยของมัน เราจะเรียกบ้านที่พืช หรือสัตว์อยู่ว่า ถิ่นที่อยู่ ภูมิภาคจะถูกกำหนดเอาไว้ ด้วยเขตแดนตามธรรมชาติ ด้วยสภาพแวดล้อมที่มีลักษณะเฉพาะ รวมทั้งยังมีสัตว์และพืชประจำถิ่น ที่เราเรียกมันว่า ชีวพนาเวศ (biotope) ซึ่งมันอาจเป็นป่าผลัดใบ ทุ่งหญ้า หรือทะเลสาปก็ได้เหมือนกัน สิ่งมีชีวิตในสายพันธุ์เดียวกันทุกชนิด ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคและเวลาเดียวกัน จะถือว่าเป็นประชากรพืชและสัตว์ ในบริเวณนั้นๆ และประชากรพืชและสัตว์ในบริเวณนั้น ก็อยู่ในชีวพนาเวศเดียวกัน ซึ่งพวกมันก็สร้างสังคมหนึ่ง ขึ้นมาได้ในเวลาเดียวกัน เหมือนกับสังคมที่เราอยู่นั่นเอง