
กล้าม

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
กล้ามเนื้อใดที่ทำให้เราเคลื่อนไหวได้?
เฮ้อ ฉันอยากแข็งแรงได้เท่านายบ้างจังซีมัส ฉันจะสร้างกล้ามเนื้อให้ทั่วทั้งตัว แล้วก็จะไม่ให้พลาดเลยสักที่ แต่ลีออน ฉันไม่คิดว่านายจะทำได้หรอกนะ การสร้างกล้ามเนื้อทุกส่วน มันเป็นไปไม่ได้หรอก เพราะนายไม่อาจควบคุม กล้ามเนื้อทั้งหมดที่มีอยู่ได้ อะไรนะ นายหมายความว่ายังไง ที่บอกว่าควบคุมไม่ได้ ใช่แล้วล่ะ ไม่ใช่กล้ามเนื้อทุกส่วนหรอก ที่เราสามารถไปควบคุมมันได้ เมื่อพูดถึงการสร้างกล้ามเนื้อ เรามักจะหมายถึงกล้ามเนื้อลาย หรือกล้ามเนื้อยึดกระดูก ซึ่งกล้ามเนื้อยึดกระดูกนี่แหละ ที่ทำให้เราเคลื่อนไหวได้ ทุกอย่างตั้งแต่การวิ่งเร็วๆ การยกของหนัก ไปจนถึงการกระพริบตาได้ กล้ามเนื้อจะยึดอยู่กับโครงกระดูก และยึดติดกับผิวหนังด้วยเส้นเอ็น ในร่างกายของเรามีกล้ามเนื้อยึดกระดูก มากกว่า 600 กล้ามเนื้อเลยทีเดียว ซึ่งแต่ละกล้ามเนื้อก็จะประกอบไปด้วย มัดของเซลล์ที่มีลักษณะเหมือนเส้นด้าย นั่นคือใยกล้ามเนื้อ ใยกล้ามเนื้อนี้จะมีคุณสมบัติพิเศษ นั่นคือพวกมันจะหดสั้น ทั้งที่ยึดกันอยู่ได้ ยิ่งเส้นใยในกล้ามเนื้อหนาและมากเท่าไหร่ การยึดกันของพวกมัน ก็จะยิ่งแข็งแรงขึ้นเท่านั้น ดูตรงนี้สิ เมื่อเราต้องการงอแขน ใยกล้ามเนื้อที่อยู่ในกล้ามเนื้อ ที่ชื่อไบเซ็ปส์ก็จะหดตัว แต่เมื่อเราเหยียดแขนอีกครั้ง กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ก็จะไม่ทำงาน แต่กลายเป็นหน้าที่ของ กล้ามเนื้อไตรเซ็ปส์ ที่ยึดอยู่อีกด้านของแขน ที่หดตัว กล้ามเนื้อจะทำงานประสานกันเป็นคู่ๆแบบนี้ และบางครั้งก็พบการทำงานร่วมกัน ที่มากกว่านี้ เพื่อให้การเคลื่อนไหวนั้นคล่องตัว และควบคุมได้มากขึ้น เราสามารถควบคุมกล้ามเนื้อยึดกระดูกพวกนี้ ด้วยความสมัครใจ ภายใต้การควบคุมของจิตใจนั่นเอง แต่ก็ยังมีกล้ามเนื้ออีก 2 แบบ ที่เราไม่อาจควบคุมได้ตามต้องการ แบบแรกถูกเรียกว่ากล้ามเนื้อเรียบ เราจะพบกล้ามเนื้อเรียบได้ที่ลำไส้ ทางเดินหายใจ และเส้นเลือดต่างๆ เราไม่สามารถขยายเส้นเลือดได้ ตามใจใช่หรือเปล่าล่ะ ร่างกายของเราจะคอยควบคุม กล้ามเนื้อเรียบได้โดยใช้วิธีต่างๆ สมองหลายส่วนที่เราควบคุม ไม่ได้อยู่แล้ว จะส่งสัญญาณไฟฟ้า ผ่านเส้นประสาทต่างๆ ไปยังกล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อเรียบนี้ก็ยังได้รับผลจาก สื่อสัญญาณทางเคมี ที่มาจากสารที่ร่างกายผลิตขึ้นมาใช้เอง เราเรียกมันว่า สารสื่อประสาท สารสื่อประสาทชนิดหนึ่งนั้นคืออะดรีนาลีน หรือจะเรียกว่าอิพิเนฟรินก็ได้ อะดรีนาลีนจะถูกสร้างขึ้นที่ต่อมหมวกไต และจะถูกหลั่งออกมาเมื่อเราออกแรงมาก และเมื่อเกิดความกลัว หรือโกรธ อะดรีนาลีนจะส่งผลต่อกล้ามเนื้อ ที่อยู่รอบๆเส้นเลือด ทำให้มันสูบฉีดเลือดไปยัง กล้ามเนื้อมัดใหญ่มากขึ้น และลดปริมาณเลือดที่ส่งไปยังส่วนอื่นๆลง เช่น ตับ เป็นต้น กล้ามเนื้อแบบที่สองที่เราไม่อาจ ควบคุมได้โดยอำนาจของจิตใจ ก็คือกล้ามเนื้อที่มีความแข็งแรงมาก ทั้งยังทำงานตลอดเวลา ตลอดชีวิตของเรา คงพอรู้กันแล้วใช่ไหมว่ามันคืออะไร ใช่แล้ว มันคือหัวใจ หรือที่ เรียกว่ากล้ามเนื้อหัวใจไงล่ะ การหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ จะมีกระแสไฟฟ้าเป็นตัวควบคุม แต่นี่เป็นกล้ามเนื้อชนิดพิเศษ กระแสไฟฟ้าที่กระตุ้น ให้เกิดการเต้นของหัวใจแต่ละครั้งนั้น มาจากภายในหัวใจ หัวใจนั้นไม่จำเป็นต้องพึ่งสมอง เพื่อทำให้มันเต้นอยู่ได้ แต่อย่างไรก็ดี สัญญาณจากสมองและ ส่วนอื่นๆในร่างกายของเรา ก็สามารถเปลี่ยนความแรงและความเร็ว ของอัตราการเต้นของหัวใจได้ การทำงานของกล้ามเนื้อ จำต้องอาศัยพลังงาน ที่ได้มาจากไขมันและกลูโคส ซึ่งเป็นน้ำตาลชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ กล้ามเนื้อก็ต้องใช้ออกซิเจน ในการเผาผลาญน้ำตาล นอกจากจะช่วยให้เราเคลื่อนไหวได้แล้ว กล้ามเนื้อยังมีหน้าที่อีกหลายอย่าง มันช่วยพยุงโครงกระดูก ปกป้องอวัยวะภายใน ให้ความอบอุ่นกับร่างกาย ด้วยการสร้างความร้อน รวมทั้งยังกักเก็บพลังงานไว้ใช้ ในรูปโมเลกุลของน้ำตาล ด้วยการทำงานและใช้งานกล้ามเนื้อนั้น เราทำให้มันยิ่งแข็งแรงขึ้น และมีสุขภาพที่ดีกว่าเดิม แต่ในการสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ มันก็ต้องได้รับอาหารที่เหมาะสม แล้วมันก็ต้องการพักผ่อนด้วยเช่นกัน ช่วงพักระหว่างการใช้งานกล้ามเนื้อนี่เอง ที่กล้ามเนื้อได้ฟื้นฟูตัวเอง และแข็งแรงขึ้น แต่ถ้าเราเอาแต่ออกกำลังกาย และไม่ยอมพักกล้ามเนื้อเลย กล้ามเนื้อของเราก็จะทรุดโทรมลงแทน ว่าแต่นายคิดว่ายังไงนะ เราควรยกหินพวกนั้นต่อใช่ไหมล่ะ ไม่ใช่เลย เดี๋ยวก็รู้แหละ แล้วฉันเองก็ ต้องไปออกกำลังกล้ามเนื้อส่วนอื่นด้วย ก็กล้ามเนื้อเรียบที่อยู่ในลำไส้นั่นไงล่ะ