
ระบบไหลเวียนโลหิต

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
ส่วนใดของหัวใจที่สูบฉีดเลือดที่มีออกซิเจนออกไปทั่วร่างกาย?
เมื่อคนเราออกกำลังกาย เราจะหายใจลึกขึ้น และหัวใจจะเต้นเร็วขึ้น เพื่อนำออกซิเจนและสารอาหาร เข้าร่างกายให้มากขึ้น ออกซิเจนและสารอาหารถูกส่งผ่านเลือด ไปตามเส้นเลือดทั้งหมดรวมถึงหัวใจ ขบวนการทั้งหมดนี้เรียกว่าระบบไหลเวียน เลือดที่ไม่มีออกซิเจนจะถูกปั๊มออกทาง ด้านขวาของหัวใจ ไปที่ปอด และปอดนี้ก็จะทำหน้าที่ปล่อยคาร์บอนได- ออกไซด์ออกไปและเอาออกซิเจนเข้าร่างกาย จากนั้นเลือดก็จะเดินทางกลับเข้าไปทางด้าน ซ้ายของหัวใจ ส่วนนี้ของระบบไหลเวียน คือจากหัวใจถึงปอด และ ปอดถึงหัวใจ เรียกว่าวงจรระบบไหลเวียนในปอด (pulmonary circuit) หลังจากนั้น เลือดที่มีออกซิเจนจากด้าน ซ้ายของหัวใจ จะถูกปั๊มเข้าสู่ร่างกาย และเลือดก็จะทำการปล่อยออกซิเจน ไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ และดูดซับเอาคาร์บอนไดออกไซด์ไปด้วย แล้วเดินทางกลับไปยัง หัวใจอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ไปทางด้านขวา ส่วนนี้ของระบบหมุนเวียน คือเริ่มจากหัวใจ แล้วไหลเวียนไปสู่ร่างกายและกลับมา เรียกว่า ระบบการไหลเวียน ของเลือดในร่างกาย (systemic circuit) เวลาที่ร่างกายต้องออกแรง เลือดต้องไหลเวียนมากขึ้น เพื่อทำให้เลือดที่เต็มไปด้วย ออกซิเจน ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้เร็วขึ้น ในขณะเดียวกัน เซลล์กล้ามเนื้อก็ต้องกำจัดสิ่งไม่จำเป็น ที่ร่างกายไม่ต้องการ ออกจากร่างกาย อย่างเช่นคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเลือดจะนำพากลับไป ที่ปอด และถูระบายออกไปทางลมหายใจออก เส้นเลือดที่เดินทางออกจากหัวใจ คือเส้นเลือดแดง ส่วนเส้นเลือดที่เดินทางกลับเข้าไปในหัวใจ คือเส้นเลือดดำ เส้นเลือดที่นำพาเลือดเข้าและออกจากหัวใจ เหล่านี้ เป็นเส้นเลือดที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย และยิ่งไกลจากหัวใจเท่าไหร่ เส้นเลือดก็จะ แยกตัวไปเรื่อยๆ และมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ เส้นเลือดที่เล็กที่สุด คือเส้นเลือดฝอย ซึ่งสร้างฟอร์มตัวขึ้นคล้ายตาข่ายในเนื้อเยื่อ ต่างๆ เส้นเลือดฝอยเหล่านี้ เชื่อมต่อกับ เซลล์ในร่างกายโดยตรง ผนังของเส้นเลือดฝอยนั้นบางมากๆ โดยประกอบไปด้วยเซลล์ชั้นเดียวเท่านั้น ตรงนี้ คือจุดที่ออกซิเจนและสารอาหาร สามารถเดินทางจากเส้นเลือดไปเลี้ยงเซลล์ ได้อย่างง่ายดาย ส่วน สิ่งที่ไม่จำเป็นต่างๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ก็สามารถเดินทางออกจากเซลล์ไปในเลือด ในเส้นเลือดฝอยเหล่านี้ มีเส้นเลือดแดงเชื่อมต่อกับเส้นเลือดดำ ที่เป็นตัวนำพาเลือดกลับไปยังหัวใจ และปอด ในขณะที่หัวใจกำลังเต้น แรงดันในเส้นเลือดจะสูงขึ้น แต่จะสูงแค่ไหน ขึ้นอยู่หลายๆอย่าง ทั้งความแรงและความถี่ของหัวใจ ในทางกลับกัน เส้นเลือดก็ส่งผลต่อความดัน ถ้าเส้นเลือดหดตัว มันก็จะตีบลง ความดันจะสูงขึ้น ถ้าเส้นเลือดขยายใหญ่ขึ้น ความดันก็จะลดลง การที่เส้นเลือดบางส่วนขยายใหญ่ในขณะที่ บางส่วนหดตัว ทำให้เลือดไหลเวียน ไปเลี้ยงบางส่วนของร่างกาย มาก กว่าส่วนอื่นๆ กระบวนการนี้เกิดขึ้นเวลาเราเครียดเป็นต้น โดยเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมัดใหญ่ จะขยายตัวออก ในขณะที่เส้นเลือดส่วนอื่นๆ จะหดตัวลง ทำให้ส่วนอื่นๆของร่างกาย มี ออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยง น้อยลง การที่ร่างกายของเราตอบสนองแบบนี้ เป็นเพราะว่า ในยุคที่มนุษย์ยังอาศัย อยู่ในทุ่งหญ้าซาวาน่า หมายความว่า ความเครียด นั่นเอง สถานะการณ์แบบนี้ เครียดคือ หาทางออกไม่ได้ ว่า จะสู้ หรือ หนี กล้ามเนื้อต้องการเลือด ไปเลี้ยงเป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันนี้ ตี ความหมายคำว่าเครียดไปอีกแบบหนึ่งกล่าวได้ว่า มีเหตุผลอื่นๆให้เครียดมาก มาย แต่ร่างกายของเราไม่รู้ มันจึงปั๊มความดันที่เหมาะสำหรับ การต่อสู้หรือวิ่งหนี ร่างกายมีวิธีมากมายในการตรวจสอบ ว่าต้องมีการปรับแรงดันไหม และถ้าจำเป็น มันก็จะปรับให้ เส้นเลือดส่วนนี้เรียกว่าเอออร์ติคอาร์ค ซึ่งเป็นเส้นเลือดส่วนโค้ง ที่จะทำหน้าที่ตรวจความดันในเลือด และคอยส่งสัญญาณไปสู่ก้านสมอง จากนั้น ก้านสมองก็จะส่งสัญญาณไปที่ หัวใจ รวมทั้งเส้นเลือดต่างๆ และปอด เพื่อปรับอัตราการเต้นของหัวใจ แรงดันในเลือด และการหายใจ และตรงนี้ ตรงหลอดเลือดใหญ่ที่คอ (carotid artery) เป็นจุดที่ร่างกายตรวจสอบ จำนวนคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด ไตก็จะตรวจสอบเช่นกัน ถ้ามีเลือดน้อยและต้องการ แรงดันสูง ระบบประสาทก็มีส่วนเกี่ยวข้องเช่นกัน มันรู้ว่าเรากำลังเครียดหรือทำงานหนัก ระบบประสาทนั้น ผลิตภาค เคมีชนิดต่างๆ ที่ส่งสัญญาณไปที่เลือดเรียกว่าสารสื่อประสาท (neurotrans- mittors) สารสื่อประสาทนี้มีผลต่อ การเต้นของหัวใจ ว่าเต้น อย่างไง รวมถึง ส่งผลต่อทางเดินหายใจ และเส้นเลือดต่างๆ ว่าควรขยายหรือตีบตัวลง