
การหายใจ

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
จริงหรือเท็จ? ที่เส้นขนเล็กๆ ใน หลอดลมจะจับฝุ่นและอนุภาคเล็กๆ ไว้ ดังนั้นเราจึงไม่หายใจเอามันเข้าไปในปอด
มนุษย์ทุกคนต้องหายใจ ร่างกายของเราและอวัยวะทั้งหมดที่่มีอยู่ในร่างกาย ประกอบไปด้วยเซลล์เป็นส่วนใหญ่ และเซลล์นั้นต้องการออกซิเจน เพื่อจะให้ทุกอย่างทำงาน ถ้าไม่มีออกซิเจนไปเลี้ยงเป็นเวลานาน เซลล์ก็จะสลายไป นี่คือสาเหตุที่ว่าทำไมมนุษย์และสัตว์ ต้องหายใจ ในหนึ่งปี เราหายใจเอาอากาศประมาณสี่ล้าน ลิตรเข้าไป อากาศจะผ่านเข้าไปทางจมูก และทางปาก ผ่านโพรงจมูก ผ่านคอหอย ผ่านหลอดลมใหญ่ (หรือหลอดลมเทรเคีย) ซึ่งแยกออกเป็นสองหลอด กลายเป็น หลอดลม (บรองไค) ที่จะแยกออกไปอีก เป็นหลอดเล็กๆ เรียกว่าหลอดลมฝอย ซึ่งอยู่ข้างในปอด คุณอาจจะจินตนาการไปว่าปอดก็เหมือนกับถุง เปล่าๆสองใบ ที่ถูกเติมให้เต็มเวลาเราหายใจเข้า แต่ว่าปอดไม่ได้กลวงขนาดนั้น จริงๆแล้ว ข้างในมันคล้ายกับฟองน้ำ หรือคล้ายขนมปังเปรี้ยวมากกว่า มันมีถุงเล็กๆอยู่เต็มไปหมด ซึ่งเรียกว่าถุงลม ถุงลมพวกนี้เรียงตัวกันเหมือนกับพวง องุ่นลูกเล็กๆมากมาย ตรงปลายของหลอดลมฝอยเป็นที่เล็กที่สุด ถุงลมมีขนาดเล็กมากๆ มีเส้นผ่าศูนย์กลางแค่ครึ่งมิลลิเมตร เท่านั้น และยังมีเส้นเลือดฝอยมากมาย ห่อหุ้มมันอยู่ ตรงนี้แหละ คือจุดที่ถุงลมโดนกับ เส้นเลือด ทำให้ร่างกายของเราได้รับออกซิเจน และปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปได้ และที่นี่จะมีการแลกเปลี่ยนก๊าซเกิดขึ้น ออกซิเจนในอากาศที่เราหายใจเข้า จะเดินทางผ่านผนังของถุงลมเข้าไปในเลือด ซึ่งจะนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ใน ร่างกายต่อไป ในขณะเดียวกัน เลือดจะปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ ผ่านทางถุงลมแต่ละถุง จากนั้นคาร์บอนไดออกไซด์ จะถูกระบายออกไปเมื่อเราหายใจออก ถุงลมในปอดนี้มีขนาดเล็กมาก แต่ว่ามีจำนวนเยอะเป็นหลายร้อยล้านถุง! จริงๆแล้ว ก็มีเหตุผลของมัน ว่าทำไมถึงต้องมีเยอะขนาดนี้ ภายในผนังถุงลมนี้ เลึอดจะนำเอาออกซิเจน ทั้งหมดมารวบรวมไว้ในผนังของถุงลม เมื่อหลายล้านถุงรวมกันเข้า ก็ทำให้มีพื้นที่ใหญ่ใหญ่ขึ้น ถ้าหากเราแผ่ผนังของถุงลมออกมาต่อกันเป็นแผ่น มันจะกว้างเท่ากับสนามเทนนิส เลยทีเดียว กว้างกว่าพื้นที่ของ ถุงสองใบที่จุอากาศมารวมกันเสียอีก ยิ่งพื้นที่กว้างเท่าไหร่ เราก็จะสามารถซึมซับออกซิเจนได้มากขึ้น เท่านั้น เพราะเหตุผลนี้เองคนถึงมีถุงลม เล็กๆมากมายในปอดของเรา แต่ ถึงแม้ว่า มีถุงลมมากมายในปอด ก็ยัง ไม่เพียงพอในการหายใจอยู่ดี จึงต้องอาศัยความช่วยเหลือจาก กล้ามเนื้อต่างๆด้วย กล้ามเนื้อที่สำคัญที่สุดก็คือ กล้ามเนื้อกระบังลม ซึ่งอยู่ข้างใต้บริเวณทรวงอก ที่หุ้มปอดเอาไว้ เวลาเราหายใจเข้า เราจะเกร็งกล้ามเนื้อกระบังลม ทำให้มันหดตัวลง เลยมีพื้นที่ในทรวงอกมากขึ้น และทำให้ปอดมีพื้นที่ในการขยายตัว เมื่อปอดขยายใหญ่ขึ้น อากาศจึงถูกสูดเข้าไป นี่คือการหายใจเข้า เวลาที่เราหายใจออก กระบังลมจะผ่อนคลาย พื้นที่ตรงทรวงอกจะเล็กลง ทำให้อากาศถูกดันออกไป ปอดของคุณ บอบบางมาก เวลาที่เราหายใจ เข้าอากาศจะเดินทางผ่าน โพรงจมูก ช่องปาก และช่องโพรงอากาศ หรือไซนัส ตรงนี้ อากาศจะแปลสภาพให้ร้อนและชื้นขึ้น เพื่อปกป้องปอดจากอากาศภายนอก ที่อาจจะเย็นหรือแห้งเกินไป ด้านในจมูกของเราจะปกคลุมด้วยน้ำมูกและขน จมูกอยู่ ซึ่งช่วยทำงานเป็นตัวกรอง โดยคอยกักฝุ่นและสิ่งสกปรกไว้ แต่ยังมี ฝุ่นบางส่วนสามารถ ผ่านขนจมูกเข้าไปได้ และเดินทางลึกเข้าไปเรื่อยๆ หลอดลมก็มีเส้นขนปกคลุม เช่นกัน เรียกว่าซิลเลีย หรือ เมือก ชนิดหนึ่ง ซิลเลียคอยดักฝุ่นและอนุภาคต่างๆไว้ มันเคลื่อนที่เหมือนกับคลื่นไปข้างบน และนำพาฝุ่น รวมถึงเสมหะ ไปข้างบนด้วย และผ่านออกไปทางหลอดลมใหญ่ จากนั้นฝุ่นและเสมหะ ก็เดินทางลงไปที่หลอดอาหาร แล้วเราก็กลืนมันเข้าไป