
การได้ยิน

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
ข้อใดต่อไปนี้อยู่ในลำดับที่ถูกต้อง?
นี่คือลุดวิก แวน บีโธเฟน หนึ่งในนักประพันธ์ที่ ยอดเยี่ยมที่สุดของยุค เขามีเพลงเป็นของตัวเองนะ แต่ทำไมเขาถึงได้ดูเศร้าขนาดนั้นล่ะ บางทีสำหรับเขาแล้ว เสียงที่ได้ยิน อาจเป็นแบบนี้หรือเปล่า ใช่แล้วล่ะ บีโธเฟนมีอาการ บกพร่องทางการได้ยิน มาตลอดชีวิต เขาไม่อาจได้ยินเพลงที่เขาแต่งขึ้นได้ หูของเขาหนวก นี่เป็นอาการที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น หูของเขาก็ดูปกติดี แต่การได้ยินและหูนั้น เป็นอะไรที่มากกว่าสิ่งที่ยึดติด กับด้านนอกของศรีษะ มาสิ เราจะตามรอยเสียงนี้ไป โดยเข้าไปทางหูนี่แหละ เพื่อจะได้เข้าใจ ว่ามันมีหลักการทำงานอย่างไร ส่วนประกอบของหูที่เรา จะมองเห็นได้ก็คือใบหู มีเหตุผลอยู่เหมือนกันนะที่รูปร่าง ของใบหูนั้นเหมือนกับปล่องรูปกรวย รูปร่างที่มันเป็นจะเป็นผลดีต่อการจับ คลื่นเสียง เพลง ที่มาจากทิศทางต่างๆ เสียงนั้นจะมุ่งหน้าเข้าไป และผ่านส่วนของช่องหูไป ส่วนของใบหูและช่องหูนั้น ถูกเรียกรวมกันว่า หูชั้นนอก ที่ปลายสุดของช่องหู คลื่นเสียงจะกระทบกับเยื่อบุผิว และสั่นสะเทือนไปมา เยื่อบุผิวนั้นก็คือเยื่อแก้วหู ที่คั่นอยู่ระหว่างหูชั้นนอก และหูชั้นกลาง ที่หูชั้นกลางนี้ จะมีกระดูกขนาดเล็กๆอยู่ 3 ชิ้น มันเป็นกระดูกที่เล็กที่สุดในร่างกาย แรงสั่นของเสียงที่กระทบเข้ากับ เยื่อแก้วหูจะไปขยายคลื่นเสียง เราเรียกพวกมันว่ากระดูกรูปค้อน หรือกระดูกค้อน กระดูกรูปทั่ง หรือกระดูกทั่ง และกระดูกโกลน กระดูกโกลนนั้นจะอยู่ลึกที่สุด และจะส่งผ่านคลื่นเสียงลึกเข้าไป ในหูชั้นใน และนี่ คืออวัยวะรูปหอยโข่งขนาดเล็ก ที่เต็มไปด้วยของเหลวเหนียวข้น ที่สั่นสะเทือนเมื่อได้รับสัญญาน เมื่อคลื่นเสียงผ่านอากาศเข้าไป ยังของของเหลวนั้น มันก็จะไม่มีเสียงอะไร คงพอจำกันได้ตอนที่เราไม่ได้ยินอะไรเลย เมื่อลงไปว่ายน้ำอยู่ในสระ ทีนี้คงเข้าใจแล้วว่าทำไมคลื่นเสียงถึง ต้องถูกขยาย ก่อนจะผ่านเข้าไปถึงหูชั้นใน และอวัยวะรูปหอยโข่งนั้น ถูกเรียกว่าโคเคลีย จนตอนนี้ การเดินทางของเสียงผ่านหู ก็ประกอบไปด้วยการสั่นสะเทือนในอากาศ และอวัยวะต่างๆที่อยู่ในหู ทว่าสมองกลับไม่อาจรับรู้ ถึงแสงสั่นสะเทือนนั้นได้ เพื่อให้สัญญาณเหล่านี้ส่ง ไปที่สมอง มันจำต้องเปลี่ยนไปเป็นสัญญาณไฟฟ้า การแปลงสัญญานนี้จะเกิดขึ้น ที่โคเคลีย ตรงนี้จะมีเซลล์ขนที่คอยตรวจจับ แรงสั่นสะเทือนในของเหลว ก่อนจะเปลี่ยนมันไปเป็นสัญญาณไฟฟ้าเล็กๆ หรือที่เรียกว่ากระแสประสาท สิ่งเหล่านี้ถูกจะถูกถ่ายทอดผ่าน ประสาทการรับฟังไปยังสมอง และตอนนี้เราก็สามารถรับรู้เสียงนั้นแล้ว สมองจะแปลสัญญาณพวกนั้นออกมาได้ทันที เราจดจำเสียงและภาษาต่างๆได้ เราได้ยินเสียงสูงต่ำ หรืออาจถูกรบกวนจากเสียงอึกทึกอื่นๆ นั่นคือกลไกการทำงานของการได้ยิน เสียงจะถูกตรวจจับและถูกส่งผ่าน หูชั้นนอกไป จากนั้นมันจะถูกขยายที่หูชั้นกลาง และถูกเปลี่ยนแปลงที่หูชั้นใน ให้กลายเป็นกระแสประสาทที่สมอง สามารถรับรู้และแปลได้ แต่บางครั้ง เหมือนกับที่บีโทเฟนเป็น มันอาจมีปัญหาบางอย่างที่ทำให้เกิด ความบกพร่องทางการได้ยิน เสียงที่ดังนั้นอาจเข้าไปทำลายเซลล์ขน หรือทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาด ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีคนจำนวนมากพึ่งพา อุปกรณ์ที่ช่วยในการได้ยิน ซึ่งมันก็มีอุปกรณ์พวกนี้อยู่หลายแบบ อุปกรณ์ช่วยฟังบางชนิดก็ ช่วยขยายเสียง เพื่อช่วยให้การตรวจจับเสียงในระบบ การได้ยินทำได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ ยังมีอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมาทดแทน นั่นคือโคเคลียเทียม ซึ่งมันจะช่วยให้ผู้ที่ใส่ได้ยินเสียง และเปลี่ยนมัน เป็นกระแสประสาทที่ส่งไปยังสมองได้ นี่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่ให้ความ ช่วยเหลือคนมากมาย - ทั้งในเด็กและผู้สูงอายุ - และยังทำให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้นด้วย แล้วบีโทเฟนล่ะ เชื่อกันว่าความบกพร่องทางการได้ยินของเขา เกิดขึ้นที่บริเวณหูชั้นใน ถ้าเขายังมีชีวิตอยู่ถึงตอนนี้ บางที เขาคงได้ใส่โคเคลียเทียมเข้าไปช่วย และนั่นก็อาจทำให้เขา ได้ฟังเพลงที่แต่งขึ้นเอง และบางทีเขาอาจดูอารมณ์บูดน้อยลง กว่าที่เราเห็นกันอยู่ก็ได้