
แบคทีเรียดื้อยา

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
จริงหรือเท็จ? วัณโรค อหิวาตกโรค และโรคปอดบวมเป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย
เมื่อร้อยปีก่อน โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย เป็นสาเหตุหลักของการตายบนโลกของเรา หลายคนเสียชีวิตจากวัณโรค อหิวาตกโรค หรือโรคปอดบวม แผลธรรมดาๆ ก็อาจทำให้ตายได้ ถ้ามันติดเชื้อแบคทีเรีย และบ่อยครั้ง ที่การผ่าตัดล้มเหลว เนื่องจากมีเชื้อแบคทีเรียเข้าไปใน แผลผ่าตัดของคนไข้ ทำให้คนไข้เสียชีวิต เมื่อปี 1928 สิ่งสำคัญเกิดขึ้น นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อว่าอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง ได้เพาะแบคทีเรียในชาม และบังเอิญใส่เชื้อราลงไปในชามๆหนึ่ง สิ่งที่เกิดขึ้น น่าประหลาดใจยิ่งนัก เพราะแบคทีเรียได้ตายไป ดูเหมือนว่า เชื้อราจะเป็นพิษ ต่อแบคทีเรีย การค้นพบของเฟลมมิ่ง นำไปสู่การพัฒนา ยาเพนิซิลลิน ด้วยเพนิซิลินนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ พัฒนา ยาอื่นๆอีกมากมายที่สามารถต่อสู้ กับแบคทีเรียได้ ยาเหล่านี้คือ ยาปฏิชีวนะ ซึ่งได้ช่วยชีวิตคนมาเป็นล้านๆคน แต่ยาปฏิชีวนะ ยังถูกนำไปใช้เพื่อ วัตถุประสงค์อื่น นอกเหนือจากการรักษาผู้ป่วย ยาฏิชีวนะ ถูกจ่ายให้กับคนไข้ที่ป่วย เป็นโรคคล้ายกับโรคแบคทีเรีย แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ หวัดธรรมดา เกิดจากไวรัส ยาปฏิชีวนะจึงเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นเลย เนื่องจากมันไม่ส่งผลใดๆต่อไวรัส ยาปฏิชีวนะ ถูกแจกจ่ายให้สัตว์ที่ป่วย... ...และสัตว์ที่แข็งแรงดี วิธีนี้ ทำให้ เกษตรกรปศุสัตว์ มีต้นทุน ในการเลี้ยงสัตว์ต่ำลง สัตว์ที่กินยาปฏิชีวนะเข้าไปจะโตเร็วขึ้น สรุปแล้ว คนเราใช้ยาปฏิชีวนะ มากเกินไป เราทำอย่างนั้นจริงๆนะ ใช้ยาอย่างสุรุ่ยสุร่าย โรงงานผลิตยา ได้ผลิตยาออกมาสู่ธรรมชาติ อย่างกับ ของเสีย แล้วมันแตกต่างจากเมื่อก่อนยังไงล่ะ? ปัญหาก็คือ ยาปฏิชีวนะจะหยุดทำงาน ในที่สุด มีแบคทีเรียที่สามารถต้านทานยามากขึ้น เรื่อยๆ มันดื้อยาปฏิชีวนะ มันทำงานแบบนี้ แบคทีเรียก็เหมือนกับเรานั่นแหละ มันมียีน ที่คอยควบคุมการทำงานของมันอยู่ แบคทีเรียบางตัวมียีนที่ ทำให้มันสามารถต้านทานยาปฏิชีวนะได้ มันคือยีนดื้อยา ตราบใดที่แบคทีเรียที่มียีนดื้อยานี้ ไม่ไปโดนกับยาปฏิชีวนะ ยีนเหล่านี้ก็ จะไม่ส่งผลอะไร แบคทีเรียแข่งขันกัน และมีสิทธิ์เจริญพันธุ์เท่าๆกัน ทุกตัว แต่จะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถ้ามีแบคทีเรียยีนดื้อยา อยู่ในบริเวณที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ อยู่ๆ แบคทีเรียตัวนี้ก็เหนือกว่า ตัวอื่นมาก แบคทีเรียอื่นๆถูกยาปฏิชีวนะทำลาย ทำให้เหลือแต่ตัวที่ดื้อยา ซึ่งจะได้รับสารอาหารและพื้นที่ไปเต็มๆ มันขยายพันธุ์และมีจำนวนมากขึ้น เรื่อยๆ... แบคทีเรียที่เกิดใหม่ ได้รับยีนดื้อยา และสามารถต้านทานยาปฏิชีวนะได้ แปลกไหมล่ะ? ยิ่งใช้ยาปฏิชีวนะมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีแบคทีเรียดื้อยามากขึ้นเท่านั้น ยาปฏิชีวนะมาก เท่ากับ แบคทีเรียดื้อยา จำนวนมาก ตั้งแต่มีการค้นพบเพนิซิลิน เราใช้ยาปฏิชีวนะ เป็นจำนวนมาก แบคทีเรียบางชนิดสามารถต้านทานยาปฏิชีวะ ทุกชนิด มันจึงอันตรายมาก ทุกวันนี้ มีคนประมาณ 700,000 คน ที่เสียชีวิตจากการดื้อยาปฏิชีวนะ ถ้าการเปลี่ยนแปลงนี้ยังเติบโต ต่อไปเรื่อยๆเป็นสิบๆปี แบคทีเรียก็จะกลับมาเป็น สาเหตุหลักของการเสียชีวิตอีกครั้ง เราไม่อาจกำจัดแบคทีเรีย ดื้อยาที่มีอยู่แล้วได้ แต่มีสิ่งที่เราสามารถทำได้ เพื่อทำให้มันเพิ่มจำนวนช้าลง แบคทีเรียดื้อยา จะได้ไม่แพร่พันธุ์เร็วนัก ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีเวลามากขึ้น ในการ พัฒนายาตัวใหม่ เลิกให้ยาปฏิชีวนะต่อสัตว์ที่แข็งแรงดี ไม่ทิ้งขว้างยาปฏิชีวนะจากโรงงาน แพทย์ ต้องให้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม กับคนไข้ที่ต้องการจริงๆเท่านั้น และบุคลากรทางการแพทย์ ต้อง รักษาความสะอาด เพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายของแบคทีเรีย ในระบบบริการสุขภาพ นอกจากนี้ เรายังสามารถหลีกเลี่ยง การป่วย โดยการล้างมือ หลังเข้าห้องน้ำ หรือก่อนทำอาหาร เป็นต้น มีวัคซีนสำหรับแบคทีเรีย บางชนิด ยิ่งมีคนฉีดวัคซีนมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ ยิ่งมีคนต้องการยาปฏิชีวนะน้อยลงเท่านั้น หากทำแบบบนี้ เราจะมีเวลาพอ ให้แพทย์และนักวิจัย ได้ค้นคว้าและ พัฒนา ยาและการรักษาแบบใหม่ ทำให้เราสามารถต่อสู้กับ แบคทีเรียในอนาคตได้ต่อไป