
รูปกริยาในกาลต่างๆ

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
Which word fits the gap? "".
ในภาษาอังกฤษ แบ่งคำเป็นหลายชนิด หนึ่งในนั้นมีลักษณะแปลกๆ และดูน่าสับสน มีการเปลี่ยนรูปคำไปตามกาลเวลา เรากำลังพูดถึงคำชนิดไหนนะ ? ถูกต้อง คำกริยา คำกริยานั้นมีประโยชน์มากมาย เช่น บอกเราได้ว่าสิ่งๆ หนึ่ง เกิดขึ้นเมื่อไร ดูประโยคเหล่านี้สิ ดูที่คำกริยาแล้วบอกซิว่ามันเกิดขึ้น ในอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต A ship was moored to the quay" Further down, a giant crane towered It had rusted so much it was leaning over. When you press the button underneath here, the video plays at a different speed. If you select pause, the video stops. I will do the dishes and then I will clean up, but first of all I will take a nap. ดูคำกริยาเหล่านี้สิ มันบอกเราว่าสิ่งๆนั้น ได้เกิดขึ้นไปแล้ว ในอดีต ส่วนคำกริยาเหล่านี้บอกเราว่าสิ่งนั้น กำลังเกิดขึ้นตอนนี้ และส่วนคำกริยาเหล่านี้บอกเราว่า สิ่งนั้นยังไม่เกิดขึ้น จริงๆ แล้วเรายังไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่า สิ่งๆ นั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่ ยกเว้นเรื่องงีบน่ะ เมื่อเราเปลี่ยนคำกริยาให้เหมาสม ตามกาลเวลาแบบนี้ เราอาจพูดได้ว่าเราผันคำกริยา tense แปลว่ากาลหรือเวลา และคำกริยาก็มีหลายรูป ขึ้นอยู่กับกาล มาดูตัวอย่างอีกสักหน่อย Will eat. Eat.
Ate. Have eaten. Will be flying. Fly Flew. Had flown. จะเห็นได้ว่าบางกาล หรือ tense นั้น มีรูปแบบกริยาของตัวเอง เรียกว่ารูปกริยา กาล หรือ tense อื่นๆ เช่น พวกนี้ เกิดขึ้นจากการเพิ่มคำกริยาเข้าไปช่วย เรียกว่า"กริยาช่วย" จะเห็นได้ว่ามันมีอยู่หลายวิธีในการ อธิบายถึงเวลาทั้งในอดีตและอนาคต เราจะลบตัวอย่างนี้ออกแล้วทำ ให้มันชัดเจนขึ้น เวลาก่อนปัจจุบัน I ate dinner last night.
I have eaten dinner. I had eaten dinner. เวลาหลังปัจจุบัน This Tuesday we will be flying to Paris". This Tuesday we shall fly to Paris. We fly on Tuesday. หยุดวิดีโอแล้วอ่านประโยคพวกนี้ดูดีๆ ดูออกไหมว่าวิธีต่างๆที่อธิบายเกี่ยวกับ อดีตและอนาคตแตกต่างกันอย่างไร? ประโยคทั้งหมดมีความหมายเหมือนๆกัน หรือเกือบเหมือนกัน? เวลาที่เราเขียนเรื่องเล่าหรือเรื่องใดๆ เราไม่ผสมกาลต่างๆ มากเกินไป ลองฟังตัวอย่างต่อไปนี้ว่า เจออะไรแปลกๆ ไหม It was a beautiful morning. She gets dressed and looked out of the window.
The sun is shining. but it has been raining and the street was still wet. นั่นฟังดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ดูคำกริยาเหล่านี้สิ ผสมกาลมั่วไปหมด ลองใหม่อีกครั้งกันนะ It was a beautiful morning. She got dressed and looked out of the window. The sun was shining. but it had been raining and the street was still wet. ดีขึ้นไหม? ตอนนี้กาลต่างๆ เข้ากันแล้ว เมื่อเราทำกาลให้เข้ากันแบบนี้ คำกริยาส่วนใหญ่จะอยู่ในกาลเดียวกัน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ดูอันนี้สิ มันไม่ได้อยู่ในกาลเดียวกัน กับส่วนที่เหลือของเรื่อง หยุดวิดิโอแล้วลองอ่านดูว่าทำไม ฝนหยุดตกไปก่อนแล้ว ตอนที่เธอจะมองออกไป ดังนั้นมันจึงเป็นกาลอื่น Sequence of tenses คือการที่ กาลต่างๆเหล่านั้น สอดคล้องกันตลอดเรื่อง ไม่ใช่ว่าต้องเป็นกาลเดียวกันทั้งหมด ตอนนี้เราได้ดูวิดิโอเกี่ยวกับกาลไปแล้ว เรากำลังดูช่วงวินาทีสุดท้ายอยู่ และอีกสักครู่ เราจะได้ดูมันจนจบ ในอนาคต เราอาจจะมาดูอีกครั้ง