
เสียงและเสียงรบกวน

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
เราเรียกเครื่องมือที่ใช้แสดงคลื่นเสียงว่าอะไร ?
ฟังนี่ดูสิ นี่ด้วย สิ่งไหนเสียงดังกว่ากัน? ตอนนี้ลองฟังอันนี้ดูซิ ยังดังกว่าอยู่ไหม? แล้วอันนี่ล่ะ? ทั้งหมดนี้คือโทนเสียงสี่โทน มาลองฟังดูใหม่อีกครั้ง เบอร์สองและเบอร์สามเสียงดัง แอมพลิจูดของมันสูงกว่า ของเบอร์หนึ่งและอันสุดท้าย เบอร์สามกับสี่คือเสียงเบส ซึ่งมีความถี่ต่ำกว่า และมีความยาวคลื่นที่ใหญ่กว่าสอง เบอร์แรก โทนเสียงคือรูปแบบของ การกดตัวและการขยาย ที่ถูกแสดงเป็นเส้นโค้งเมื่อเราใช้ เครื่องวัดสัญญาณไฟฟ้าวัด คือแบบนี้ ทีนี้ ฟังเสียงเหล่านี้ดู เสียงทั้งหมดเป็นโทนเดียวกัน คือโทน C และมีความเข้มข้นของเสียงหรือ ความดังเท่ากัน แต่ถึงแม้พวกมันจะมีโทนและความ ดังเท่ากัน เครื่องดนตรีแต่ละเครื่อง ก็มีเสียง แตกต่างกันมาก นี่เป็นเพราะเครื่องดนตรีแต่ละชนิด ไม่ได้ผลิตเสียงแค่โทนเดียว ความแตกต่างนิดหน่อยเกี่ยวกับโทนเสียง, เสียงรบกวน, รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของโทนระหว่าง ที่เครื่องดนตรีผลิตเสียง ล้วนส่งผลต่อคุณภาพเสียง และสีสันของเสียง เครื่องดนตรีหรือเสียงร้องแต่ละชนิด มีลักษณะหรือสีสันของเสียงที่ป็นเอกลักษณ์ แล้วเสียงพวกนี้ล่ะ? มันไม่ใช่โทนเสียง แต่เป็นเสียง รบกวนต่างหาก นี่คือเสียงรบกวน หรือ ยังไงดี... เสียงรบกวนไม่ค่อยเกี่ยวกับ ฟิสิกส์เท่าไหร่ มันเป็นเสียงที่เราไม่ต้องการ แต่ว่าเสียงรบกวนของคนๆหนึ่ง อาจจะเป็นเสียงเพลงสำหรับอีกคนก็ได้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับ ความชอบส่วนตัว เสียงรบกวนนั้นสำคัญ ถ้าเราอาศัยหรือทำงานในที่ๆมีเสียง รบกวนเยอะๆ เสียงนี้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของ เราได้ในระยะยาว เสียงรบกวนอาจนำมาซึ่งความเครียด ซึ่งส่งผลเสียต่อการนอนหลับ มันยังทำให้ความดันในเลือดสูง และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อีกด้วย ที่น่าแปลกคือ เสียงรบกวนไม่จำเป็นต้องน่ารำคาญเสมอไป มันสามารถส่งผลกระทบเหล่านี้ต่อเราได้ ทั้งๆที่เราอาจจะชินกับมัน และไม่ได้รู้สึกอะไรเลยก็เป็นได้ แน่นอนว่า เสียงรบกวนสามารถทำลายโสตประสาท ของเรา สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ถึงแม้เราจะรู้สึก เพลิดเพลิน กับเสียงที่เราฟังอยู่ การฟังเพลงผ่านหูฟังดังเกินไป อาจทำให้เราหูอื้อ มันคือตอนที่เราได้ยินเสียงวิ้ง หรือเสียงหึ่งในหู ทั้งที่จริงๆแล้ว ไม่มีเสียงอะไรเลย เสียงจากที่ไกลๆที่เราไม่อยากได้ยิน ส่งเสียงรบกวนน้อยกว่าเสียงจากที่ใกล้ๆ ถ้าเราอยู่ห่างจากเสียงนั้นมากขึ้น เท่าหนึ่ง ความเข้มข้นของเสียงจะลดลงเพียง หนึ่งส่วนสี่ ความเข้มข้นของเสียงแปรผกผัน กับกำลังสองของระยะทาง ถ้าเราไม่สามารถเพิ่มระยะทางระหว่าง ต้นกำเนิดเสียงกับตัวเราได้ เราก็สามารถกันเสียงนั้นได้ โดยการนำวัสดุบางชนิดมาขั้นระหว่าง จุดกำเนิดเสียงและตัวเรา แบบนี้ เราจะได้ยินเสียงเบาลง ถ้าวัสดุนั้นมีคุณสมบัติที่เหมาะสม มันจะสามารถดูดเอาพลังงานทั้ง หมดของเสียงไว้ ไม่ให้ผ่านไปได้เลย แต่ถ้าเราไม่สามารถกั้นได้ ก็ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ ในการกันเสียงรบกวนออกไป ตอนนี้ เสียงของฟิลลิปกำลังทำให้คิมรำคาญ แต่คิมใส่หูฟังอยู่ หูฟังพิเศษนี้มีไมโครโฟนเล็กๆ ที่คอยดักเสียงรบกวนอยู่ มันจะ ส่งเสียงกลับออกมา แต่เป็นเสียงตรงข้าม นั่นหมายความว่า เมื่อมีการกดตัวของคลื่นเสียงที่เข้ามา ลำโพงก็จะขยายคลื่นนั้น และเมื่อมีการขยายของคลื่นเสียงที่เขามา ลำโพงก็จะกดอัดมัน เมื่อทำแบบนี้ เสียงรบกวนจะถูกหักล้าง และถูกกำจัดออกไป นี่คือหูฟังที่ขจัดเสียงรบกวนได้ อ่าาา เงียบสงบซะที