
สารกัมมันตรังสี : ให้คุณหรือให้โทษ

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
จริงหรือเท็จ? ผู้ที่รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิม่าและนางาซากิหลายพันคน เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งอันเนื่องมาจากกัมมันตภาพรังสี
มีใครได้ใช้รังสีไอออไนซ์ไป เมื่อเร็วๆ นี้บ้างไหม? แน่ใจเหรอ? บางทีอาจจะมีเครื่องตรวจจับควัน ที่บ้านเรา แล้วผู้ผลิตก็มักจะใช้รังสีอัลฟา เพื่อตรวจจับควันในอากาศนะ หรืออาจมีใครกินอาหารที่ผ่านการ ฉายรังสีมาหรือเปล่า? บางประเทศในโลกนี้มีการจัดการ กับอาหารด้วยการฉายรังสี มันจะคอยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและปรสิต ซึ่งก็ คือ การทำให้อาหารปลอดเชื้อ เมื่ออาหารมาถึงจานของเรา มันก็เลยค่อนข้างปลอดภัย แต่ไม่มีรังสีเหลืออยู่ในอาหารแล้ว มันก็เหมือนกับแสงนั่นแหละ แสงจะไม่ถูกเก็บไว้ในอาหาร เพียงเพราะว่า เราฉายแสงผ่านหลอดไฟไปหรอกนะ แม้แต่เข็มและอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ ก็สามารถฆ่าเชื้อด้วยรังสีได้ คุณอาจเคยรับรังสีไอออไนซ์ โดยแพทย์หรือทันตแพทย์ หากเคยเอ็กซเรย์มาก่อน รังสีไอออไนซ์ได้ถูกใช้ในโลกของเรานานแล้ว นักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อมารี กูรี ได้สร้างคลินิกเอ็กซเรย์ขึ้นมา เพื่อให้แพทย์ทหารชาวฝรั่งเศส ใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 อุปกรณ์จะถูกวางไว้บนรถเพื่อให้ เคลื่อนย้ายได้พร้อมกับทหารกองหน้า ในการใช้รังสีเอกซ์ แพทย์สามารถค้นหาหัวกระสุนก่อนที่จะ ทำการผ่าตัดทหารที่ได้รับบาดเจ็บ สิ่งนี้ช่วยให้หลายคนรอดชีวิต ในปัจจุบัน มีหลากหลายวิธีที่ บุคลากรทางการแพทย์ ใช้ในการถ่ายภาพโดยใช้รังสีไอออไนซ์ ผู้ป่วยรายนี้กำลังดื่มสารกัมมันตรังสี เข้าไปในปริมาณเล็กน้อย เพื่อให้มันรวมตัวกันในบริเวณหนึ่งของ ร่างกายที่จะต้องถูกตรวจ แล้วแพทย์ก็จะมองเห็นรังสีนั้นได้ ผ่านสารดังกล่าวด้วยกล้องชนิดพิเศษ ทั้งนี้ รังสีไอออไนซ์ยังใช้ รักษามะเร็งได้ด้วย นี่คือผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอด แพทย์ได้เล็งลำแสงที่เป็นรังสี อย่างแม่นยำ เพื่อที่มันจะได้โดนตรงเนื้องอก และฆ่าเซลล์มะเร็งได้ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นักวิทยาศาสตร์ค้นพบอีก 1 วิธีใน การใช้รังสีไอออไนซ์ แต่น่าเสียดาย ที่มันใช้เป็นอาวุธ หากมีการวางระเบิดด้วยวัตถุ ที่ทำจากกัมมันตรังสี แรงระเบิดที่ได้จะยิ่งทวี ความรุนแรงกว่าที่เคยมีมา การระเบิดนำไปสู่การสลายตัว อย่างรวดเร็วของสารกัมมันตรังสี ซึ่งมันจะปล่อยพลังงานมหาศาลออกมา ในกลางเดือนกรกฎาคมในปี 1945 ระเบิดปรมาณูลูกแรกถูกทดสอบ ที่ทะเลทรายในสหรัฐอเมริกา เพียง 3 สัปดาห์ต่อมา ก็มีการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรก เครื่องบินของอเมริกาทิ้งระเบิด 2 ลูก ที่บรรจุสารกัมมันตรังสี มันถูกทิ้งลงไปที่เมืองฮิโรชิม่า และนางาซากิของญี่ปุ่น ในฮิโรชิม่า มีคนตายจากแรงระเบิด ราว 100,000 คน และยังมีรังสีและเปลวเพลิง ที่เกิดขึ้นตามมา ในนางาซากิเองก็มีผู้เสียชีวิต อยู่ที่ราว 70,000 คน ผู้รอดชีวิตหลายพันคน เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ที่เกิดจากรังสีที่พวกเขาได้รับ อาวุธนิวเคลียร์ไม่ได้ถูกนำมาใช้ ในสงครามนับตั้งแต่บัดนั้น แต่ยังมีอีกหลายประเทศที่ครอบครองมันอยู่ มีการทดสอบหลายพันครั้ง เพื่อการพัฒนาอาวุธ ทุกๆครั้ง นายกเทศมนตรี เมืองฮิโรชิมาจะส่งโทรเลข ไปยังประเทศที่ทดลอง เพื่อขอให้ ทำลายอาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมดทิ้งไป มีประเทศมากมายในโลกนี้ ที่ได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อยุติ การทดสอบอาวุธดังกล่าว แต่ไม่ใช่ทุกประเทศจะลงนามในข้อตกลง ซึ่งมักจะเป็นประเทศที่มีอาวุธ นิวเคลียร์อยู่ในความครอบครอง รังสีไอออไนซ์นั้นช่วยดูแลสุขภาพ และช่วยชีวิตคนไว้มากมาย ทว่ารังสีไอออไนซ์ก็ทรงพลังแห่ง การทำลายล้างในสงครามด้วย 2 สิ่งนี้ค่อนข้างเห็นได้ชัด นี่มันจึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย รังสีไอออไนซ์ยังถูกใช้ไป ในโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ การสลายตัวของกัมมันตภาพรังสี จะสร้างพลังงานที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ พลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานสะอาด ที่ใช้ผลิตไฟฟ้า เมื่อทุกอย่างทำงานอย่างถูกต้อง พลังงานนิวเคลียร์จะไม่ก่อให้เกิดไอเสีย ที่ทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ดังนั้น บางคนจึงเชื่อว่าควรผลิต กระแสไฟฟ้าเพิ่มด้วยวิธีนี้ แต่ถ้ามีอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์ล่ะก็ สารกัมมันตรังสีอาจรั่วไหลออกมา และผลที่ตามมาก็อาจจะแย่มากๆ ซึ่งมันก็เกิดขึ้นได้นะ นอกจากนี้ สถานีไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ยังผลิตของเสียที่อันตรายได้ นั่นทำให้เราต้องเก็บมันไว้ในที่ปลอดภัย เป็นเวลาหลายพันปี นี่คือสาเหตุที่บางคนเชื่อว่า เราควรหยุดใช้พลังงานนิวเคลียร์ เราอาจได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจาก รังสีไอออนไนซ์มากกว่าที่คิด แต่มนุษย์ทุกๆคนก็ยังต้องรับความเสี่ยง ของรังสี สงครามนิวเคลียร์จะกวาดล้างมนุษย์อย่างเรา และของเสียอันตรายนั้นก็อาจแพร่ กระจายไปยังหลายประเทศ หลังจากเกิดอุบัติเหตุ ที่สถานีไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เราจำต้องพิจารณาว่ามีความเสี่ยง อยู่มากน้อยแค่ไหน และมีความเสี่ยงใดบ้าง ที่เราต้องการตัดมันทิ้ง