
พลังงานนิวเคลียร์ในปัจจุบันและอนาคต

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
ปกติแล้ว โรงไฟฟ้าพลังงานฟิชชันใช้อะไรเป็นเชื้อเพลิง ?
พููว์ ! ร้อนจังเลย เดี๋ยวต้องเข้าร่มแล้วล่ะ ก่อนจะละลาย กลายเป็นไอน้ำ อืมมม ว่าแต่ มันมาจากไหนหรอ หมายถึง พระอาทิตย์สร้างความร้อนขนาดนี้ ได้ยังไง? มันเรียกว่าปฏิกิริยาฟิวชัน นิวเคลียสอะตอมที่มารวมตัวกันและ ปล่อยพลังงานหน่ะ อ๋อ เหมือนกับในโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ หน่ะสิ ไม่ใช่ อันนั้นมันปฏิกิริยาฟิชชัน แตกต่างกันมากมันคนละอย่างเลย ยังไงล่ะ คนละอย่าง? ก็ อืม ลองคิดดูสิว่าส้มพวกนี้คือโปรตอน ส่วนกีวี่คือนิวตรอน พระอาทิตย์มีธาตุหลักคือไฮโดรเจนและ ฮีเลียม ซึ่งคืออะตอมที่เบาและเล็กที่สุด นิวเคลียสอะตอมที่เบาๆในพระอาทิตย์ วิ่งชนกันทำให้เกิดเป็นอะตอมหนักๆ กลายเป็นนิวเคลียสใหญ่ขึ้น นิวเคลียสของไฮโดรเจนสร้างนิวเคลียส ฮีเลียมขึ้นมา แต่ว่ามีสิ่งที่น่าสนใจเกิดขึ้น ถ้าเราชั่งน้ำหนักนิวเคลียสของไฮโดรเจน สองอันที่รวมตัวกัน และชั่งน้ำหนักนิวเคลียสของฮีเลียมที่ เกิดจากนิวเคลียสไฮโดรเจนนี้ น้ำหนักมันไม่ค่อยเท่ากันเท่าไหร่ นิวเคลียสของฮีเลียมนั้นเบากว่าเล็กน้อย เพราะว่าน้ำหนักที่หายไปได้กลายเป็น พลังงาน ความร้อน แสง และ รังสีที่ทำให้เราผิวไหม้ สรุปแล้ว เวลาที่นิวเคลียสสองอันมา รวมตัวกัน และสร้างนิวเคลียสที่ใหญ่ขึ้น ในขณะที่ปล่อยพลังงานออกมา เราเรียกกว่าปฏิกิริยาฟิวชัน แต่ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ใช้อะตอมที่หนักมากๆ อย่างเช่นยูเรเนียม เมื่อนิวเคลียสยูเรเนียมถูกนิวตรอนชน มันก็จะแยกตัว ออกเป็นนิวเคลียสเบาๆลงสองตัว และนิวตรอนที่เกินมาอีกหนึ่งตัว นอกจากนี้ ยังมีการปล่อยพลังงานเกิดขึ้น เหมือนกับในปฏิกิริยาฟิวชัน ถ้าเราชั่งน้ำหนักนิวตรอนและนิวเคลียส ที่เกิดขึ้นระหว่างการแยกตัว และเทียบกับน้ำหนักของนิวเคลียสยูเรเนียม เราจะเห็นว่ามีมวลหายไป บางส่วน มวลนั้นกลายเป็นพลังงาน พลังงานจลน์ในนิวเคลียสใหม่สองอัน และนิวตรอนที่เกินมา หลังจากนนั้นพลังงานก็จะกลายเป็นความร้อน ซึ่งถูกนำไปใช้ผลิตไฟฟ้า ขั้นตอนนี้เรียกว่าปฏิกิริยาฟิชชัน เวลาที่อะตอมแยกตัว แต่ว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต้องใช้ ปฏิกิริยาฟิชชันเท่านั้นหรอ มันอันตรายแถมยังเสี่ยงด้วยนะ ใช้ปฏิกิริยาฟิวชันแทนไม่ได้หรอ อืม, ถ้าคุณทำได้รับรองได้รางวัลโนเบล สัญญาเลย! ทำไมล่ะ? ก็ พลังงานฟิวชันมีประโยชน์มากมาย เมื่อเทียบกับพลังงานฟิชชัน เราจะสามารถผลิตเชื้อเพลิงจากน้ำทะเล ธรรมดาได้ และโลหะที่เรียกว่าลิเธียมซึ่งหาได้ง่าย เชื้อเพลิงแบบนี้เพียงไม่ถึงหนึ่งกรัม ก็ เพียงพอ ให้คนๆหนึ่งใช้พลังงานไปได้ทั้งปี เราจะไม่มีกากกัมมันตรังสี และไม่มีปฏิกิริยาลูกโซ่ที่อาจเป็นอันตราย แต่ ถ้าว่ามันดีแล้ว ทำไมถึงยังไม่มีโรงไฟฟ้าพลังงานฟิวชันล่ะ? เพราะว่ามันต้องการความดันสูง และอุณหภูมิที่สูงถึงสิบห้าล้าน องศาเซลเซียส เหมือนกันกับอยู่ข้างในดวงพระอาทิตย์เลย นักวิทยาศาสตร์บางคนกำลังพยายามพัฒนา โรงไฟฟ้าพลังงานฟิวชัน แต่บางคนก็ยังคงพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงาน ฟิชชัน ให้ดีกว่าที่มีอยู่ หากพัฒนาได้ เราอาจได้พลังงานมากกว่า เดิมเป็นร้อยเท่า เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงที่เกิดจาก เทคโนโลยีปัจจุบัน แถมเราอาจจะไม่ต้องเจอกับปัญหา เรื่องการเก็บขยะเป็นพิษไว้เป็นเวลานาน ใช่มะ? แปลว่าโรงไฟฟ้าพลังงานฟิชชัน ก็ไม่ได้แย่มาก ถ้ามันพัฒนาไปเรื่อยๆ แต่ว่าลองคิดดูสิ ว่าพลังงานฟิวชันสามารถ สร้างพลังงานที่ เราต้องใช้ทั้งชีวิตจากน้ำเพียง สองสามหยด ใช่เลย แล้วก็ได้รางวัลโนเบลด้วย!