การวัดค่าประจุไฟฟ้า
อิเล็กตรอนมีประจุชนิดใด?
เราไม่สามารถมองเห็นประจุไฟฟ้าได้ ก่อนที่จะสายเกินไป ย้อนกลับไปดูอีกทีซิ ดูที่ประกายสีฟ้านั่นสิ นั่นคืออิเล็กตรอนที่เด้งจาก ลูกบิดประตูไปยังมือของฟิลลิป โอ้ย! ย้อนกลับไปดูอีกนิดซิ ตอนนี้ ร่างกายของฟิลลิปมีประจุบวก แต่ในชีวิตจริงเรามองไม่เห็นหรอก จริงไหม? นอกจากว่าเราจะมี อิเล็กโทรสโคป มาสร้างกันสักอันเถอะ! นี่คือสิ่งที่เราต้องการ กระปุกแก้วหนึ่งใบ กระดาษแข็งชิ้นหนึ่ง กรรไกร คลิปหนีบกระดาษที่เป็นโลหะ อลูมิเนียมฟอยล์ และเทปฉนวน ตัดกระดาษแข็งให้เป็นฝากระปุก ดัดคลิปหนีบกระดาษให้เป็น ห่วงเหมือนตัว J ตัดอลูมิเนียมฟอยล์เป็นรูปใบไม้ สองใบ เจาะรูอย่างระมัดระวัง แล้วแขวนมันไว้กับห่วงคลิปหนีบกระดาษ ใช่ แบบนั้นแหละ สอดห่วงเข้าไปในฝากระดาษแข็ง จากด้านใน แล้วนำฝาไปปิดกระปุกแก้ว จัดให้พอดีแล้วใช้เทปติด ขยำอลูมิเนียมฟอยล์ให้เป็นก้อนกลมๆ แล้วนำไปไว้รอบๆคลิปหนีบกระดาษ แค่นี้แหละ เสร็จแล้ว เรามีอิเล็กโทรสโคปแล้ว! มาดูกันเถอะว่ามันทำงานยังไง ก่อนอื่น เราต้องการสิ่งที่มีประจุไฟฟ้า เช่นหวี หวีผมเลย ฟิลลิป เวลาที่คุณหวีผม อิเล็กตรอนจากเส้นผมจะเด้งไปที่หวี ทำให้เส้นผมมีประจุบวก ในขณะที่หวีมีประจุลบ นำหวีไปใกล้ๆก้อนอลูมิเนียมฟอยล์ โดยไม่โดนมัน ดูข้างในกระปุกแก้วสิ ที่แผ่นอะลูมิเนียมหน่ะ พวกมันขยับ! เอาหวีออก แล้วแผ่นอะลูมิเนียม มันก็จะทิ้งตัวลงอีกครั้ง นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น หวีมีอิเล็กตรอนมากกว่าปกติ อิเล็กตรอนมีประจุเป็นลบ และประจุลบอยากจะอยู่ไกลจากประจุลบอื่นๆ เสมอ คล้ายกับว่าพวกมันผลักกัน เมื่ออิเล็กตรอนในก้อนอะลูมิเนียมฟอยล์ รู้ว่ามีประจุลบในหวี มันจึงวิ่งหนี ให้ไกลจากหวีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำให้อิเล็กตรอนวิ่งลงมา ที่แผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ ตอนนี้จึงมีอิเล็กตรอนในแผ่นอะลูมิเนียม มากเกินไป และจะเกิดอะไรขึ้นกับประจุที่เหมือนกันนะ? มันจะผลักตัวออกจากกัน จริงๆแล้ว สิ่งที่ทำให้แผ่นอะลูมิเนียม ฟอยล์ ทั้งสองเคลื่อนตัวออกจากกัน ก็คือแรงผลักของอิเล็กตรอนนั่นเอง ดังนั้น จริงอยู่แม้ว่าเราไม่สามารถมอง เห็นประจุไฟฟ้าได้ แต่เราสามารถวัดมันได้ ด้วยอิเล็กโทรสโคปนั่นเอง