
หน่วยของแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และความต้านทานไฟฟ้า

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
True or false? It is safe for a large amount of voltage to pass through our bodies.
อืม น้ำตาล 2 เดซิลิตร แป้ง 5 เดซิลิตร เนย 100 กรัม อบด้วยความร้อน 200 องศา 30 นาที เดซิลิตร, กรัม, นาที แล้วก็ยังมีองศาเซลเซียส ต่างก็เป็นตัวอย่างซึ่งในทาง ฟิสิกส์เรียกว่าหน่วย แล้วก็ยังมีไข่ 1 ฟองด้วยนะ ช้าก่อน ฟิลิป นั่นไม่ควรไป รวมอยู่กับการผสมเค้กหรือเปล่า? เหมือนกับปริมาณ อุณหภูมิและเวลา ซึ่งเราสามารถวัดและบอกค่า ของกระแส, แรงดันไฟฟ้าและความต้านทาน ในวงจรไฟฟ้าได้ "แรงดันไฟฟ้า" เป็นการวัดว่า มีการกระตุ้นของ อิเล็กตรอนที่ย้ายจากที่หนึ่งไปยัง อีกที่หนึ่งไปมากน้อยเพียงใด มีหน่วยวัดเป็นโวลต์ แบตเตอรี่หรือถ่านไฟฉายธรรมดา มักจะมีแรงดันอยู่ที่ 1.5 โวลต์ แต่ยังมีแบตเตอรี่ที่มีค่า แรงดันไฟฟ้าอื่นๆอยู่ด้วย แรงดันไฟฟ้าในเต้ารับ ติดผนังคือ 230 โวลต์ ซึ่งสูงกว่าแบตเตอรี่ที่ฟิลิป ถืออยู่ถึง 150 เท่า แรงดันไฟฟ้าในสายเคเบิล ของรถไฟนั้นอยู่ที่ 25,000 โวลต์ ซึ่งมากกว่าเต้ารับติดผนัง 100 เท่า หากแรงดันไฟฟ้าที่สูงขนาดนั้น ผ่านเข้ามาในร่างกายของเรา เราจะบาดเจ็บสาหัสไปจนตาย แรงดันไฟฟ้าที่สูงมาก จะสามารถเคลื่อนที่ผ่านอากาศ ไปได้หลายเดซิเมตร ด้วยเหตุนี้การไม่เข้าไปใกล้สายไฟฟ้า แรงสูงที่ชำรุดจึงเป็นสิ่งสำคัญ แล้วจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ ขั้วของแบตเตอรี่ถูกเชื่อมกันต่อล่ะ? ปกติแล้วอิเล็กตรอนต้องการ ที่จะย้ายไปอีกด้านหนึ่งอย่างทันที พวกมันเริ่มเคลื่อนผ่านมือของฟิลิปไป คุณสมบัติการนำไฟฟ้าของร่างกายจะต่ำ ดังนั้นจึงมีกระแสไฟฟ้าจำนวน น้อยที่ไหลผ่านมือของเขาไป กระแสไฟฟ้าคือการวัดปริมาณ ประจุไฟฟ้าที่ผ่านไปในทุกๆวินาที กระแสไฟฟ้าจะวัดเป็นหน่วยแอมแปร์ ถ้าหากกระแส 1 แอมป์จะมีอิเล็กตรอน ไหลผ่านไปกี่ตัวในทุกๆวินาทีล่ะ? ก็ 6 ล้านล้านล้านตัวน่ะสิ ซึ่งนั่นพอๆกับปริมาณของแมลง ที่มีอยู่บนโลกเลย เพื่อให้ได้กระแสไฟฟ้าสูงเท่ากับ 1 แอมป์ ของแบตเตอรี่ไฟฉายธรรมดา กระแสไฟฟ้าต้องผ่านสิ่งที่มี ความต้านทานต่ำกว่า อย่างลวดทองแดงไงล่ะ แต่ถ้าเราย่อวงจรไฟฟ้าแบบนี้ แบตเตอรี่ ก็จะคายประจุออกมาอย่างรวดเร็ว ยิ่งแรงดันไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น ก็จะยิ่งมีจำนวนแอมป์หรือแอมแปร์ ไหลผ่านวงจรมากขึ้น ในการเพิ่มหรือลดกระแสไฟฟ้า โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแรงดัน ไฟฟ้าของแหล่งจ่าย เราสามารถเปลี่ยนระดับความต้านทาน ที่มีอยู่ในวงจรได้ หน่วยวัดของความต้านทาน นั้นคือ"โอห์ม" เขียนด้วยตัวอักษรกรีกที่เรียกว่าโอเมก้า เมื่อทำการคำนวณด้วยกระแสไฟฟ้า แรงดันและความต้านทาน เราจะใช้หน่วยเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีความต้านทาน 5 โอห์ม และแรงดันไฟฟ้า 9 โวลต์ เราจะหากระแสไฟฟ้าได้ด้วยการหาร แรงดันไฟฟ้าที่ 9 โวลต์ ด้วยความต้านทานที่ 5 โอห์ม ในกรณีนี้ กระแสไฟฟ้า จะเป็น 1.8 แอมป์ แต่, ฟิลิป รีบทำเค้กให้เสร็จซะ จะได้มานึกทบทวน หน่วยต่างๆเหล่านี้ได้มากขึ้น แต่จงจำเอาไว้ว่า แรงดันไฟฟ้าจะวัดเป็นโวลต์ ซึ่งแสดงการกระตุ้นของอิเล็กตรอน ที่ต้องการผ่านวงจร กระแสไฟฟ้ามีหน่วยวัดเป็นแอมแปร์ ซึ่งจะวัดปริมาณของประจุไฟฟ้า ที่ผ่านเข้าไปในวงจร ส่วนสิ่งที่เป็นตัวขวางกระแสไฟฟ้า คือความต้านทานไฟฟ้า ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นโอห์ม