วงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน
หากเรานำไฟดวงหนึ่งออกจากไฟประดับที่เชื่อมต่อกันแบบอนุกรม ....
ฟิลลิปพยายามจะเอาหลอดไฟพวกนี้ มาต่อเข้าด้วยกัน แต่มันจะต่อกันได้ด้วยวิธีไหนล่ะ หลอดไฟที่เห็นกันอยู่นี้จะส่องแสงได้ ก็ต่อเมื่อได้รับกระแสไฟ 1.5 โวลต์ โดยมีแบตเตอร์รี่คอยทำหน้าที่ จ่ายไฟ เมื่อฟิลลิปต่อหลอดไฟ 2 หลอด แบบอนุกรมเข้าด้วยกันแล้ว เขาก็สังเกตเห็นว่าแสงจากหลอดไฟ แต่ละหลอดนั้นสว่างน้อยกว่าที่เคย หลอดไฟเหล่านี้จะถูกเชื่อมกันแบบอนุกรม จากนั้นหลอดไฟที่ต่อกับวงจรไฟฟ้า ก็จะใช้กระแสไฟจากแบตเตอร์รี่ร่วมกัน นั่นหมายความว่าหลอดไฟทั้งสอง จะต้องแบ่งแรงดันไฟฟ้ากันใช้ โดยที่แต่ละหลอดจะมีแรงดันไฟฟ้า อยู่ที่ 0.75 โวลต์ ยิ่งมีหลอดไฟในวงจรแบบอนุกรมมากเท่าไหร่ แสงของมันก็จะยิ่งอ่อนลงมากเท่านั้น นี่คือผลกระทบอีกข้อหนึ่งของการต่อ วงจรแบบอนุกรม ถ้าเราถอดเอาหลอดไฟสักหลอดออก หรือมีหลอดใดหลอดหนึ่งเสีย วงจรก็จะขาด ทำให้หลอดอื่นๆดับตามไปด้วย ฟิลลิปต้องการจะแทนที่หลอดไฟ โดยไม่ทำให้หลอดอื่นดับ และเขาก็อยากให้แสงที่หลอดไฟ สว่างยิ่งกว่าเดิม ดังนั้นเขาจึงทำแบบนี้ สำหรับหลอดที่ยังสว่างอยู่ ถ้าเราดึงหลอดนั้นออกมา มันจะต้องมีสายไฟติดอยู่กับหลอด แบบที่เห็นนี่แหละ ทีนี้กระแสไฟฟ้าก็จะมีทางไหล ในวงจรเพิ่มขึ้นแล้ว ลองทำดูสิ! หลอดไฟไม่อยู่ในวงจรแบบอนุกรมอีกต่อไป แต่มันจะกลายเป็นวงจรแบบขนาน และหลอดไฟทุกหลอดก็จะสว่างได้เต็มที่ เมื่อมีการต่อวงจรแบบขนาน หลอดไฟแต่ละหลอดจะได้รับแรงดันไฟฟ้า จากแบตเตอร์รี่ไปเต็มๆ แม้ว่าจะมีหลอดไฟหลายหลอดในวงจรก็ตาม ดูเหมือนการต่อวงจรแบบขนาน จะเหนือชั้นกว่านะ แล้วมันมีข้อด้อยหรือเปล่าล่ะ? อ๋อใช่ การต่อแบบขนานต้องใช้สายไฟหลายเส้น แต่มันก็ยังมีข้อดีและข้อเสียอีกเหมือนกัน เมื่อทางเดินของกระแสไฟฟ้า ถูกแบ่งออกเป็น 5 ส่วน อิเล็กตรอนจะเข้าไปในวงจร ได้ง่ายขึ้น ทำให้ในวงจรจึงมีอิเล็กตรอนอยู่ เต็มไปหมด ซึ่งต่างกับตอนที่พวกมันจะเข้าไป ในหลอดไฟแต่ละหลอด หลอดไฟทั้งหมดจะได้กระแสไฟจากแบตเตอร์รี่ เพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า นั่นทำให้แบตเตอร์รี่สามารถ ปล่อยกระแสไฟฟ้าได้เร็วขึ้น วงจรที่ต่อแบบอนุกรม ตามภาพที่เห็น เมื่อมีการต่อวงจร แบบอนุกรม แรงดันไฟฟ้าที่มาจากแบตเตอร์รี่ จะถูกแบ่งไปให้หลอดไฟทั้งหมดในวงจร หลอดไฟทุกดวงจะส่องแสงอ่อนลง หาก เทียบกับวงจรที่มีหลอดไฟดวงเดียว และถ้าหากหลอดไฟที่มีถูกถอดออกหรือเสีย วงจรก็จะขาด และไฟทุกดวงก็จะดับลง แต่ในวงจรแบบขนาน หลอดไฟแต่ละดวงจะได้รับ แรงดันไฟฟ้าเต็มที่ ทำให้แสงของมันสว่างจ้า แต่แบตเตอร์รี่นั้นจะปล่อยกระแส ไฟฟ้าออกมาเร็วกว่าเดิม เป็นเหตุให้เราสามารถนำหลอดไฟ หลอดใดออกมาได้ โดยที่ไม่ทำให้วงจรขาด ไม่ใช่แค่หลอดไฟหรอก แต่มันรวม ไปถึงทุกอย่างที่ต้องใช้ไฟฟ้า และสามารถต่อวงจรแบบอนุกรม หรือขนานได้ด้วย เราสามารถต่อวงจรแบตเตอร์รี่ได้ ทั้ง 2 แบบดังนี้ แสงจากหลอดไฟพวกนี้อ่อนมาก เราจึงอยากเพิ่มแรงดันไฟฟ้าให้มัน ด้วยการเพิ่มแบตเตอร์รี่ และต่อมัน เข้าไปในวงจรแบบอนุกรม เมื่อแหล่งพลังงานถูกต่อกับวงจร มันก็จะทำให้มีแรงดันไฟฟ้าในวงจร เพิ่มมากขึ้น จาก 1.5 โวลต์เป็น 4.5 โวลต์ การที่มีแหล่งพลังงานในวงจร ก็มีประโยชน์หลายข้อนะ แรงดันไฟฟ้าที่มากขึ้น ทำให้แสงไฟสว่างขึ้น แต่ข้อด้อยก็คือพลังงานไฟฟ้า ในแบตเตอร์รี่ทั้ง 3 ตัว จะหมดไปอย่างรวดเร็วเหมือนกับ ตอนที่เราใช้แบตเตอร์รี่ตัวเดียว แต่ถ้าอยากให้แบตเตอร์รี่นั้นใช้ได้นาน ก็ต้องต่อวงจรแบบขนานอย่างที่เห็นนี้ แบตเตอร์รี่ทั้ง 3 ตัวในวงจรแบบขนาน จะจ่ายกระแสไฟในปริมาณเท่ากัน เหมือนกับตอนใช้แบตเตอร์รี่ตัวเดียว แต่ใช้คุ้มเหมือนมีแบตเตอร์รี 3 ตัวเลยนะ แบตเตอร์รี่ที่เป็นตัวจ่ายไฟให้ ไฟกระพริบจะทำให้เราใช้แบตเตอร์รี่มาก ซึ่งราคาของมันก็แพง คงดีกว่าแน่ถ้าจะซื้อมันไว้สักอัน แล้วเอาไปติดไว้ที่ฝาแทนน่ะ? แต่จะมีใครรู้บ้างว่าไฟกระพริบ ถูกต่อไว้เป็นแบบอนุกรมหรือขนาน รู้แล้ว เจ้าสิ่งนี้ถูกต่อไว้แบบอนุกรม ปลั๊กเสียบที่ผนังมีแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์ แล้วแรงดันไฟฟ้าที่เข้าไปถึงหลอดไฟ แต่ละหลอดจะมีค่าเท่าไหร่? อย่าโกงนะสิฟิลลิป เธอหาคำตอบได้ โดยไม่ต้องแอบดูด้วยซ้ำ 230 โวลต์ หารด้วยจำนวนหลอดไฟคือ 10 หลอด ใช่แล้ว ก็ 23 โวลต์ไงล่ะ