
ดวงอาทิตย์

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
ดวงอาทิตย์แตกต่างจากดาวอื่นๆอย่างไร?
ถ้าเธอเป็นแขกที่มาจากกาแล็กซี่อื่น มันก็มีโอกาสอยู่นะที่เธอจะผ่านเข้ามาได้ โดยไม่มีใครเห็น อ่า! เธออาจคิดได้ว่ามันเป็นเพียง ดาวดวงหนึ่งทั่วๆไป แต่สำหรับพวกเราแล้ว ดาวดวงนี้ ไม่ธรรมดาเลย เราต้องอาศัยมัน เพื่อความอยู่รอด เพราะดาวดวงนี้คือดวงอาทิตย์ของพวกเรา ทุกๆวันดวงอาทิตย์จะส่องแสงมายังโลก แสงอาทิตย์จะให้ความร้อน และสร้างสภาวะอากาศ ทั้งเป็นแหล่งพลังงานให้กับพืช ดวงอาทิตย์อยู่ห่างออกไปจากโลก ถึง 150 ล้านกิโลเมตร แสงของดวงอาทิตย์จึงใช้เวลา มากกว่า 8 นาที ในการเดินทางมายังโลก ดวงอาทิตย์จะใหญ่กว่าที่เรามองเห็นจากโลก ถ้าให้ดวงอาทิตย์มีขนาดเท่ากับลูกบาส โลกก็จะมีขนาดเท่ากับหัวเข็มหมุด ไม่เพียงแต่ปริมาตรเท่านั้น ดวงอาทิตย์ก็ยังมีมวลมหาศาลด้วย มวลของมัน มีอยู่ถึง 99.9 เปอร์เซ็นต์ ของมวลทั้งหมดในระบบสุริยะ และด้วยมวลนั้นทำให้เกิดแรงดึงดูด หรือแรงโน้มถ่วงมหาศาลซึ่ง ยึดระบบสุริยะไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้โลก และดาวดวงอื่นๆโคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่ทว่าดวงอาทิตย์เองก็ได้รับผลจาก สิ่งที่มีแรงโน้มถ่วงมหาศาลมากกว่า วัตถุใดๆในท้องฟ้า คือจากแก่นของดวงอาทิตย์เอง ซึ่งสร้างแรงดันที่สูง จนทำให้อะตอมของมันหลอม รวมเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นธาตุอื่นที่มีมวลมากขึ้น กระบวนการนี้เรียกว่าปฏิกิริยาฟิวชั่น ดวงอาทิตย์ประกอบด้วย ก๊าซไฮโดรเจนเป็นส่วนใหญ่ และเมื่อนิวเคลียสของไฮโดรเจน มารวมตัวกัน จะเกิดเป็นก๊าซฮีเลียม แต่ไม่เพียงเท่านั้น เพราะเมื่อปฏิกิริยาฟิวชั่นแปลงธาตุมวลเบา ให้เป็นธาตุที่หนักกว่าเดิม มันจะปล่อยพลังงานจำนวนมาก ออกมาในรูปของแสง, ความร้อน และรังสี ปฏิกิริยาฟิวชั่นเป็นกระบวนการ ที่ทำให้ดาวส่องแสง พื้นผิวที่ส่องสว่างของดวงอาทิตย์ มีความร้อนที่สูงมากถึง 5,500 °C ด้วยความร้อนระดับนี้สามารถทำให้ ยานอวกาศที่มนุษย์สร้างขึ้น ละลายเป็นไอได้ ก่อนจะแล่น เฉียดเข้าไปใกล้มัน ภายในดวงอาทิตย์ ยิ่งกว่าร้อน มันร้อนมากจนทำให้ อะตอมรักษาอิเล็กตรอนของมันเอาไว้ไม่ได้ เมื่อสูญเสียอิเล็กตรอนไป อะตอมก็กลายเป็นไอออน การผสมของไอออนและอิเล็กตรอนอิสระ ด้วยความร้อนนี้ไม่ใช่ก๊าซ แต่เป็นสถานะของวัตถุ ที่ 4 ซึ่งเรียกว่า พลาสม่า ดวงอาทิตย์เป็นลูกบอลพลาสม่าร้อน ขนาดยักษ์ซึ่งหมุนได้ เจ้าลูกบอลพลาสม่านี้สร้าง สนามแม่เหล็กแรงสูง ที่ครอบคลุมอยู่ทั่วทั้งระบบสุริยะของเรา เมื่อดวงอาทิตย์หมุนไป สนามแม่เหล็กที่อยู่บนพื้นผิวของมัน ก็เปลี่ยนไปด้วย บริเวณที่มีกิจกรรมของแม่เหล็กสูง จะมองเห็นเป็นจุดสีดำ และเย็นกว่าที่อื่นๆ เมื่อพลังงานแม่เหล็กเกิดขึ้น ที่จุดดับของดวงอาทิตย์ บางครั้งก็เกิดการระเบิดที่ปล่อยพลังงาน ออกมา เช่นตรงนั้น! ซึ่งเรียกว่าเปลวสุริยะ เปลวสุริยะนี้จะทำให้อนุภาค และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพุ่งออกไปไกล ในอวกาศ จนรบกวนคลื่นวิทยุ และอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าต่างๆบนโลก อนุภาคประจุไฟฟ้าจำนวนมากที่ปล่อยออกมา โดยดวงอาทิตย์เข้าสู่ระบบสุริยะ แต่โชคดีที่สนามแม่เหล็ก และชั้นบรรยากาศของโลก ได้ปกป้องเราทุกคนไว้จากประจุไฟฟ้าพวกนี้ แต่ในบริเวณแถบขั้วโลก กระแสของอนุภาคประจุไฟฟ้าสามารถ ผ่านเข้าไปในชั้นบรรยากาศ และปะทะเข้ากับโมเลกุลที่อยู่ในอากาศได้ การปะทะกันในกรณีนี้นำไปสู่ ปรากฎการณ์แสงอันน่าพิศวงในยามค่ำคืน หากเกิดใกล้กับขั้วโลกเหนือ มันจะถูกเรียกว่าแสงเหนือ หรือ Aurora Borealis และถ้ามันเกิดใกล้กับขั้วโลกใต้ มันจะถูกเรียกว่าแสงใต้ หรือ Aurora Australis ดวงอาทิตย์มีอายุค่อนข้างมาก ซึ่งมีอายุอยู่ที่ราวๆ 5 พันล้านปี ตอนนี้มันได้ใช้เวลามาถึงครึ่งชีวิตแล้ว เมื่อดวงอาทิตย์ได้ใช้ไฮโดรเจนจนหมด และหลอมรวมเข้ากับธาตุที่หนักกว่า มันจะขยายตัวใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว และเขมือบดาวพุธ ดาวศุกร์ หรือแม้แต่โลกเอง หลังจากนั้นมันจะหดตัวลงเป็นดาวดวงเล็ก ที่มีแสงริบหรี่ ที่เรียกว่าดาวแคระขาว แต่ไม่ต้องกังวลหรอกนะ ก่อนที่มันจะเกิดขึ้น เราจะได้รับทั้งแสงสว่างและความร้อน จากดวงอาทิตย์ต่อไปอีกถึง 5 พันล้านปี