
ระบบสุริยะ

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
ดาวดวงใดอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด?
มีดาวนับพันล้านดวงที่อยู่ไกลออกไป แต่หนึ่งในนั้นมันพิเศษกว่าดาวดวงอื่น ส่วนใหญ่แล้วเราไม่เคยคิดกันหรอกว่า มันเป็นดาว - ดวงอาทิตย์ไงล่ะ ดวงอาทิตย์พร้อมด้วยดาวเคราะห์ ดวงอื่นๆ และสิ่งอื่นๆที่โคจรอยู่รอบตัวของมัน ทำให้เกิดสังคมบ้านใกล้เรือนเคียงขึ้น ในจักรวาล นั่นคือระบบสุริยะ เห็นไหมว่าดาวเคราะห์พวกนี้ จะโคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ เหมือนกับแผ่นซีดีที่กำลังหมุนอยู่ ซึ่งเราเรียกมันว่า ระบบสุริยะวิถี ระบบสุริยะของเรานี้แบ่งได้เป็น 2 บริเวณ คือส่วนที่เป็นระบบสุริยะชั้นในและชั้นนอก โดยแต่ละชั้นจะมีดาวเคราะห์อยู่ 4 ดวง ดาวที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดคือดาวพุธ ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กมากๆ และเมื่อไม่มีชั้นบรรยากาศคอยปกป้อง อุณหภูมิในดาวพุธจึงไม่อาจควบคุมได้ มันจะไต่ระดับจากจุดที่ร้อนสุดขั้ว ไปจนถึงจุดที่หนาวเย็นสุดขีด ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปไม่ได้เลย ที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่บนดาวพุธ ดาวศุกร์เป็นดาวลำดับที่สองจาก ดวงอาทิตย์ที่มีขนาดเท่ากับโลก ดาวศุกร์นั้นมีชั้นบรรยากาศอยู่ ทว่ามันทั้งหนาและเต็มไปด้วยไอพิษ ดังนั้น จึงไม่พบสิ่งมีชีวิต อาศัยอยู่บนดาวศุกร์เช่นกัน ส่วนโลกของเรานั้นมีทั้งอากาศ ที่ใช้หายใจได้ มีน้ำ และมีชั้นบรรยากาศที่คอย ควบคุมอุณหภูมิให้กับเรา ดาวดวงต่อไปก็คือ ดาวแดง หรือ ดาวอังคาร บนดาวอังคารนั้นเคยมีทางน้ำไหล แต่ก็แห้งขอดไปเมื่อนานมาแล้ว ทั้งยังไม่พบร่องรอยของ สิ่งมีชีวิตบนดาวดวงนี้ด้วย ชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร นั้นเบาบางเกินกว่าจะรักษา ทางน้ำหรืออากาศที่ใช้หายใจไว้ได้ ดาวเคราะห์ทั้ง 4 ดวง คือดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคารนั้นทั้งหนาแน่น เต็มไปด้วยหิน และพื้นผิวที่เป็นของแข็ง จึงทำให้มันถูกเรียกว่า ดาวเคราะห์หิน ยังมีดาวเคราะห์ชั้นนอกอีก 4 ดวง ในระบบสุริยะที่มีส่วนประกอบหลักเป็นแก๊ส และยังมีขนาดใหญ่กว่า ดาวเคราะห์หินมากนัก พวกมันคือ ดาวแก๊สยักษ์ ก็เพราะว่ามันเป็นดาวแก๊สยักษ์นี่เอง ที่ทำให้พื้นผิวของมันไม่มีของแข็งอยู่เลย ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวที่ใหญ่ที่สุด ในระบบสุริยะของเรา ดังนั้นมวลน้ำหนักที่สูงมากของมัน จึงส่งผลต่อแรงโน้มถ่วงภายใน มากกว่าแรงโน้มถ่วงที่เราพบ บนโลกนี้ถึงสองเท่า เหนือดาวพฤหัสฯขึ้นไปคือดาวเสาร์ ที่มีวงแหวนล้อมอยู่ วงแหวนนั้นเกิดจากเศษหินและน้ำแข็ง ซึ่งมันลอยอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ของดาวเสาร์เอง ดาวแก๊สยักษ์ทุกดวงจะมีวงแหวนของมัน แต่ไม่มีวงแหวนใดจะงดงามและมองเห็นได้ เหมือนกับดาวเสาร์ ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ ลำดับที่ 7 จากดวงอาทิตย์ มันเป็นดาวที่ใช้เวลาโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น 84 ปี และใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง17ชั่วโมง มันหมุนรอบแกนของมันด้วย แต่ยูเรนัสก็เป็นแค่ชื่อที่ถูกเรียก และในดาวดวงนี้ กลับไม่ได้มีเวลากลางคืน และกลางวันตามปกติ แต่จะมีเวลากลางคืนที่ หนาวยาวนานถึง 42 ปี ดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ ที่สุดก็คือดาวเนปจูน ซึ่งเป็นดาวที่ทั้งมืด ทั้งหนาวเย็น และมีแต่ลมพายุ ด้วยระยะทางที่ห่างไกลทำให้เรา ไม่ค่อยรู้เรื่องของดาวเนปจูนมากนัก นี่คือระยะทางจากดวงอาทิตย์ไปถึง ดาวเนปจูนโดยมีดาวดวงอื่นเข้ามาด้วย แสงอาทิตย์จะใช้เวลา 8 นาที ในการเดินทางมายังโลก ต่างกับตอนที่มันเดินทางไปยัง ดาวพฤหัสฯ ที่ใช้เวลาถึง 43 นาที แต่กับดาวเนปจูนนั้นกลับไม่มีอะไร ไปเปรียบเทียบได้เลย ลำแสงจากดวงอาทิตย์ ต้องใช้เวลามากถึง 4 ชั่วโมงก่อนจะไปถึง พื้นผิวที่เป็นแก๊สของดาวเนปจูน ระยะทางที่ไกลแสนไกลนี้ทำให้เรา ไม่อาจมองเห็นดาวเคราะห์เหล่านี้ได้ แต่หากจะวัดกันเรื่องขนาดของดาว เราก็ต้องตัดเรื่องระยะทางออกไปก่อน ดาวพฤหัสฯเป็นดาวเคราะห์ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทั้งยังมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ที่ใหญ่กว่าโลกถึง 10 เท่า และเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ ก็มีขนาดใหญ่กว่าของดาวพฤหัสฯ ถึง 10 เท่าเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีพวกวัตถุที่มี ขนาดเล็กในระบบสุริยะของเรา ก็คือดาวเคราะห์แคระอย่างดาวพลูโต และก้อนหินที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็ง - ดาวหาง ดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ จะสลายไปเมื่อเข้าใกล้ความร้อน โดยส่วนหางจะถูกปลดทิ้งไปในการเผาไหม้แก๊ส หางของดาวหางจะถูกแสงอาทิตย์ผลักออกไป ยังทิศทางที่ห่างจากดวงอาทิตย์ ระหว่างระบบสุริยะชั้นในและชั้นนอก เราจะพบแนวหินก้อนใหญ่หลายก้อน รวมทั้งสะเก็ดของพวกดาวเคราะห์ ที่เรียกว่า ดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์น้อยนี้มีขนาดเล็กกว่า ดาวเคราะห์ทั่วไปอยู่มาก แม้แต่ชิ้นส่วนเล็กๆของหินและโลหะ ก็สามารถพบได้ทั่วไปในระบบสุริยะนี้ เมื่อมีก้อนหินหลุดเข้าไปในชั้นบรรยากาศ โดยมีแรงโน้มถ่วงของโลกเป็นตัวการ แรงต้านของอากาศ จะให้ความร้อนกับมันจน กลายเป็นการเผาไหม้ และทำให้เกิดผีพุ่งไต้ หรือ ดาวตก อย่างที่เราเห็น ส่วนใหญ่นั้นดาวตกจะเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ ก่อนจะตกถึงพื้นด้วยซ้ำ แต่บางครั้ง สะเก็ดหินที่ถูกเผาไหม้ หรือโลหะนั้นก็ตกลงสู่พื้นดินได้ และเราเรียกมันว่า อุกกาบาต ไม่ง่ายนักที่เราจะได้ พบกับผู้มาเยือนรายนี้ ที่เป็นอีกส่วนหนึ่งของระบบสุริยะ ระบบสุริยะนั้นเกิดขึ้นมาได้ก็เพราะ ดาวทุกดวงมาโคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยมีดาวเคราะห์ที่มีดวงจันทร์และวงแหวน ทั้งยังมีดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง กับพวกกองฝุ่นละอองและหิน นอกจากนี้ยังมีชิ้นส่วนของดาวเคราะห์ ที่แตกออกมาจากปะทะกัน และล่องลอยอยู่ในอวกาศ สิ่งเหล่านี้เองที่ก่อกำเนิด สังคมบ้านใกล้เรือนเคียงในอวกาศ นั่นก็คือระบบสุริยะของเรานั่นเอง