
จักรวาล : ระยะทางและสัดส่วน

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
ระยะทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์เป็นเท่าไหร่?
เคยสงสัยกันบ้างไหมว่าดาวที่เราเห็น ในตอนกลางคืนนั้นอยู่ไกลแค่ไหน? อาจเป็นระยะทางหลายร้อย หลายพัน หรือ หลายล้านกิโลเมตรก็ได้? ดาวที่อยู่ใกล้เราที่สุดก็คือดวงจันทร์ ซึ่งมันอยู่ห่างจากโลกไป 384,000 กิโลเมตร ไม่รู้ว่าระยะทางนี้เรียกว่าไกลหรือใกล้ ถ้าจะเปรียบกับบางอย่างในโลกนี้ล่ะก็ มันค่อนข้างไกลเลยล่ะ นี่คือโลกและดวงจันทร์พร้อมระยะทางตามจริง โดยช่องว่างระหว่างดาวทั้งสองนั้น จะเท่ากับ 30 เท่าของโลกได้พอดี หรือเราอาจจะไปลากเอา ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆในระบบสุริยะมาวางเรียง โดยยังมีพิ้นที่ 8,000 กิโลเมตรเหลืออยู่ ดวงอาทิตย์กลับอยู่ไกลออกไปมากกว่า เรียกว่าไกลกว่าเกือบ 400 เท่า ของระยะทางไปดวงจันทร์เลยทีเดียว ถ้าจะใช้เครื่องบินเจ็ทลำใหญ่ บินไปยังดวงอาทิตย์ เราต้องใช้เวลาทั้งสิ้น 19 ปี เพราะระยะทางที่ห่างออกไป คือ150 ล้านกิโลเมตร ดวงอาทิตย์มีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางของมัน มากกว่าโลกอยู่ 109 เท่า แต่ทว่าก็ยังเทียบไม่ได้กับดาว ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เรารู้จัก คือดาวคานิส เมเจอริส เมเจอริส ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1,400 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางในดวงอาทิตย์ หรือ 2 พันล้านกิโลเมตร ดูเหมือนว่ากิโลเมตรจะไม่ใช่หน่วยที่เหมาะ ต่อการวัดระยะทางอีกแล้ว เพราะเราได้นำหน่วยฐาน ของความเร็วแสงมาใช้แทน แสงนั้นสามารถเดินทางได้เกือบ 3 ร้อย ล้านเมตรต่อวินาที ลำแสงจากดวงอาทิตย์ จะมาถึงโลกด้วยเวลาเพียง 8 นาทีเศษ ดังนั้นระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ จึงเท่ากับ 8 นาทีแสง แต่ถ้าลองมาเปรียบเทียบกับ ระยะทางของดวงจันทร์ มันจะอยู่ห่างจากโลก ไป 1.3 นาทีแสง พอมองภาพออกไหม? ชั่วโมงแสงคือระยะทางที่แสง เดินทางไปได้ใน 1 ชั่วโมง ส่วนปีแสง คือระยะทางที่แสงเดินทางไปได้ใน 1 ปี นั่นคือ 9.46 ล้านล้านกิโลเมตร หรือ 9.46 คูณกับ 10 ยกกำลัง 15 ที่เขียนไว้ในรูปของเลขยกกำลัง หรือจะใช้หน่วยเอสไอมาช่วยก็ได้ เอาล่ะ ทีนี้ก็ถึงคราวที่ต้อง นำคุณปีแสงมาใช้งานบ้างแล้วล่ะ ระบบสุริยะของเรามีขนาดของ เส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 8 ชั่วโมงแสง ดังนั้น แสงอาทิตย์จึงใช้เวลา 4 ชั่วโมง เพื่อจะไปถึงดาวที่อยู่ไกลที่สุด คือดาวเนปจูน นอกจากนี้ ระบบสุริยะของเราก็ยัง เป็นส่วนเล็กๆของกาแล็กซี่ ที่มีชื่อว่า ทางช้างเผือก กาแล็กซี่ทางช้างเผือกนี้ มีแขนที่มีลักษณะเป็นกังหัน ที่เป็นบ้านของดวงดาวถึงสองแสนล้านดวง โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 100,000 ปีแสง ทางช้างเผือกนี้มีขนาดที่ใหญ่มาก แม้แต่ดาวยักษ์ใหญ่ อย่างดาวคานิส เมเจอริส ยังกลายเป็นเพียง จุดสีขาวเล็กๆไปโดยปริยาย ไม่เพียงเท่านั้น กาแล็กซี่ยังอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และเราเรียกกลุ่มกาแล็กซี่ กลุ่มใหญ่นี้เรียกว่า กระจุกกาแล็กซี่ กระจุกกาแล็กซี่ของเรานี้ยังเป็นส่วนหนึ่ง ของกลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาว ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 110 ล้านปีแสง และกระจุกดาราจักรหญิงสาวก็มี เพื่อนบ้านในบริเวณใกล้เคียงเช่นกัน ยิ่งออกไปไกลขึ้น เราก็จะพบว่า มีกลุ่มกระจุกของดาราจักร หลายล้านกลุ่มในจักรวาล แล้วจักรวาลนี้จะกว้างใหญ่แค่ไหนกันนะ นี่คือสิ่งที่เราไม่อาจรู้ได้เลย มันอาจไม่มีที่สิ้นสุดก็ได้ แต่ที่เราไม่รู้ก็เป็นเพราะว่า เรามองไม่เห็นจักรวาลทั้งหมด ในการมองเห็นอะไรสักอย่าง แสงจะต้องเดินทางจากวัตถุที่เรามองอยู่ ก่อนจะมาถึงตาของเรา ถ้าลองมองดูดาวที่อยู่ห่าง จากเราออกไป 1 ปีแสง เราจะมองไม่เห็นหรอกว่า ตอนนี้มันอยู่ที่ไหน แต่นั่นมันเป็นช่วงปีก่อนนี่นา ตั้งแต่จักรวาลมีอายุ ได้ 13.8 พันล้านปี นั่นทำให้เราไม่อาจเห็นอะไรที่ ไกลกว่า13.8 พันล้านปีแสงไปได้ ส่วนต่างๆของจักรวาลที่ สามารถมองเห็นได้ก็คือ จักรวาลที่มองเห็นได้ มันจะเป็นลูกกลมๆอยู่รอบตัวเรา และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง อยู่ที่ 92 พันล้านปีแสง และไม่ว่าเราจะเห็นแสงจากดาวดวงใดก็ตาม ที่เปล่งแสงออกมาจากเจ้าลูกกลมนั่น มันจะยังมาไม่ถึงตาของเรา ต่อให้ไปยืน ดูมันในวันที่เอกภพถือกำเนิดขึ้น เมื่อ 13.8 พันล้านปีก่อนก็ตาม ฉะนั้น หากเราได้มองดูหมู่ดาวยามค่ำคืน นั่นหมายความว่าคุณกำลังมองดูดาว ในรูปแบบเดียวกับเมื่อหลายพันปีที่แล้ว นั่นคือเรากำลังมองอดีตอยู่นั่นเอง