
กิโลวัตต์-ชั่วโมง

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
จริงหรือเท็จ? กำลังไฟฟ้าสามารถวัดเป็นกิโลวัตต์-ชั่วโมงได้
เวลาที่อุปกรณ์ไฟฟ้าทำงาน เรามักจะพูดว่ามีกำร "ใช้ ไฟฟ้า" การใช้ไฟฟ้า คือการแปลงพลังงานไฟฟ้า ให้เป็นพลังงานอื่นๆ เช่น ความร้อน หรือแสงสว่าง ยิ่งอุปกรณ์ไฟฟ้า มีกำลังมากเท่าไหร่ ก็แปลว่า พลังงานถูกแปลงเร็วเท่านั้น สิ่งที่เขียนอยู่บนใบเสร็จค่าไฟ ที่เราจ่ายนั้น คือจำนวนของพลังงานไฟฟ้า ที่ถูกแปลงในแต่ละเดือน แล้วมันเกี่ยวกับกำลังไฟของอุปกรณ์ไฟฟ้า ยังไงนะ? มีวิธีคำนวน การใช้ไฟฟ้าของอุปกรณ์แต่ละชนิดไหม? มาดูหน่วยที่เราใช้เวลาพูดถึงพลังงาน และกำลังไฟกันเถอะ หน่วยที่เราใช้บ่อยที่สุดคือจูลส์ เวลาที่เราพูดว่าพลังงานถูกใช้หมุน ไปเร็วแค่ไหน หรือพลังงานกี่จูลส์ถูกแปลง ในหนึ่งวินาที เรากำลังพูดว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น มี กำลังไฟกี่วัตต์ หน่วยวัตต์ บอกเราว่าพลังงาน ถูกแปลงเร็วแค่ไหน ในขณะที่หน่วยจูลส์บอกเราว่า พลังงานถูกแปลงเยอะแค่ไหน เมื่อเรารู้ว่าอุปกรณ์มีกำลังไฟเท่าไหร่ หรือมีจำนวนวัตต์เท่าไหร่แล้ว เราก็สามารถคำนวนได้ว่ามันใช้ พลังงานเยอะแค่ไหน ในระยะเวลาหนึ่ง มาลองดูตัวอย่างกันสักนิด นี่คือเครื่องทำความร้อน ที่มีกำลังไฟ 1000 วัตต์ แล้วก็โคมไฟ ไฟอีกสองอัน อันหนึ่งใช้หลอดแบบเก่าที่มีกำลังไฟ 100 วัตต์ ส่วนอีกอันใช้หลอดประหยัดพลังงาน แบบใหม่ ที่ใช้ไฟแค่ 10 วัตต์ ถ้าอุปกรณ์สามชิ้นนี้ทำงานทั้งวัน ตลอด 24 ชั่วโมง มันจะใช้พลังงานเท่าไหร่นะ? จำนวนวัตต์ บอกเราว่าพลังงานไฟฟ้า ถูกแปลงไปกี่จุลส์ในหนึ่งวินาที 24 ชั่วโมง มี 86,400 วินาที มันจะใช้พลังงานกี่จุลส์กันล่ะ ถ้ามันทำงานตลอดเวลา? เครื่องทำความร้อนใช้ไฟ 1000 จุลส์ทุกๆ วินาที ดังนั้น 86,400 วิ ก็คือ ประมาณ 86 ล้านจุลส์ หลอดไฟแบบเก่าใช้พลังงาน 100 จุลส์ ทุกๆวินาที ส่วนหลอดใหม่ใช้ 10 จุลส์ ใน 86,400 วินาที หลอดเก่าจะใช้พลังงานประมาณ 8.6 ล้านจุลส์ ในขณะที่หลอดใหม่จะใช้ประมาณ 860,000 จุลส์ เวลาเราคำนวนด้วยหน่วยจุลส์ ตัวเลขจะเยอะมากๆ ยังมีหน่วยอีกหน่วยหนึ่ง ที่เราใช้บ่อยในการวัดการใช้ไฟฟ้า ตอนนี้ เราจะวัดกำลังไฟด้วยหน่วย พันวัตต์ หรือกิโลวัตต์ ดังนั้น เครื่องทำความร้อนจะมีกำลังหนึ่ง กิโลวัตต์ หลอดไฟเก่ามี 0.1 กิโลวัตต์ และหลอดไฟใหม่มี 0.01 กิโลวัตต์ ตอนนี้เราสามารถคูณกำลังไฟเหล่านี้ กับเวลาเป็นชั่วโมง แทนที่จะเป็นวินาที และเวลาของเราก็คือ 24 ชั่วโมง การใช้ไฟของเครื่องทำความร้อน เท่ากับหนึ่งกิโลวัตต์คูณ 24 24 กิโลวัตต์-ชั่วโมง หลอดไฟใช้ 0.1 กิโลวัตต์ และ 0.01 กิโลวัตต์ ดังนั้นใน 24 ชั่วโมง มันจะใช้ไฟฟ้า 2.4 กิโลวัตต์-ชั่วโมง และ 0.24 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง เรานำกำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์ในหน่วย กิโลวัตต์ ไปคูณกับเวลาเป็นชั่วโมง เพื่อหาการใช้ไฟฟ้าในหน่วย กิโลวัตต์-ชั่วโมง คำว่ากิโลวัตต์ และกิโลวัตต์-ชั่วโมง อาจฟังดูคล้ายกัน แต่มันแตกต่างกันมาก หน่วยกิโลวัตต์บอกเราว่าพลังงานนั้นถูก แปลงเร็วแค่ไหน มันเป็นหน่วยของกำลังไฟฟ้า ส่วนกิโลวัตต์-ชั่วโมงนั้น เป็นจำนวนของพลังงาน ถ้าเรารวมพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดที่ หนึ่งครัวเรือนใช้โดยเฉลี่ย โดยไม่รวมเครื่องทำความร้อน เราจะได้พลังงานประมาณ 10 ถึง 15 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อวัน อุปกรณ์ที่มีกำลังไฟต่ำ สามารถทำงานได้นานโดยที่ไม่ใช้ พลังงานมาก อย่างเช่นหลอดไฟประหยัดพลังงาน ที่ชาร์จโทรศัพท์ หรือวิทยุ อุปกรณ์เหล่านี้สามารถทำงานได้เป็นวันๆ โดยใช้พลังงานไม่ถึงหนึ่ง กิโลวัตต์-ชั่วโมง ตรงกันข้าม อุปกรณ์ที่มีกำลังไฟสูง จะทำให้ค่าไฟแพงขึ้นอย่างรวดเร็ว! โชคดีที่ อุปกรณ์เหล่านั้นที่มีกำลัง ประมาณหนึ่งกิโลวัตต์หรือมากกว่า เช่นเตาอบ กาต้มน้ำไฟฟ้า หรือ เครื่องดูดฝุ่น มักจะทำงานเป็นเวลาสั้นๆ เพียงไม่ กี่นาทีต่อครั้ง เตาอบและเครื่องทำความร้อนมี เทอร์โมสตัตหรือเครื่องควบคุมอุณหภูมิอยู่ ซึ่งสามารถเปิดปิดกระแสไฟได้ เราสามารถคำนวนจำนวนกิโลวัตต์-ชั่วโมง ของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ด้วยการคูณกำลังไฟในหน่วยกิโลวัตต์ หรือพันวัตต์ เข้ากับจำนวนชั่วโมงที่เรา ใช้อุปกรณ์นั้นๆ