
ข้อเสนอแนะเชิงบวกที่ได้รับซ้ำไปซ้ำมา

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
True or false? There are large amounts of carbon dioxide frozen into the ground in northern Russia and Canada.
ลองจินตนาการถึงห้องหนาวๆ ที่มีเครื่องทำความร้อนไฟฟ้าอยู่ เครื่องทำความร้อนนั้นมีเทอร์โมสตัตซึ่ง เป็นเครื่องควบคุมอุณหภูมิอยู่ ยิ่งห้องหนาวขึ้นเท่าไหร่ เครื่องทำ ความร้อนก็จะร้อนขึ้นเท่านั้น และเมื่อห้องอุ่นขึ้น เทอร์โมสตัต ก็จะลดความร้อนจาก เครื่องทำความร้อนลง ทีนี้ ลองจินตนาการดู ว่าจะเป็นยังไง ถ้าเทอร์โมสตัตนี้ทำงานตรงกันข้าม ยิ่งห้องร้อนเท่าไหร่ ความร้อนก็ยิ่งถูก ปล่อยออกมามากขึ้นเท่านั้น เทอร์โมสตัตที่ทำงานตรงข้าม จากปกตินี้ จะทำให้เครื่องทำความร้อน ทำให้ ห้องร้อนขึ้นไปอีก.... และความร้อน ก็จะทำให้เทอร์โมสตัต ปล่อยความร้อนออกมาอีก... ....แบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ เหตุการณ์ปฏิกิริยาลูกโซ่ที่เกิดขึ้น ด้วยตัวเองแบบนี้ เรียกว่า วงจรสะท้อนกลับเชิงบวก ในชั้นบรรยากาศของโลก มีกลไกมากมายที่ทำงานเหมือนกับ เทอร์โมสตัต เช่น ยิ่งผิวโลกร้อนขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความร้อนถูกปล่อยออกสู่ อวกาศมากขึ้นเท่านั้น เช่นเดียวกับเทอร์โมสตัตในเครื่องทำ ความร้อน มันสร้างความสมดุลย์ ให้อุณหภูมิของโลก แต่ทว่า ยังมีกลไกอีกอย่างหนึ่ง ที่ตรงกันข้าม เหมือนกับ เทอร์โมสตัตที่ทำงานย้อนกลับหน่ะ กลไกนี้ เกี่ยวข้องกับหิมะ หิมะเป็นสีขาว มันจึงสะท้อน แสงอาทิตย์กลับออกไปยังอวกาศ ยิ่งโลกมีหิมะมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีรังสีจากพระอาทิตย์ถูกสะท้อนออกไป มากเท่านั้น ถ้าโลกร้อนขึ้น หิมะและน้ำแข็งก็จะละลายหายไป ทำให้พื้นดินและน้ำที่มีสีเข้ม ซึ่งสะท้อนแสงได้น้อยกว่าหิมะ โผล่ขึ้นมา นี่หมายความว่า ยิ่งโลกร้อนขึ้นเท่าไหร่ มันก็ยิ่งดูดเอารังสีจากพระอาทิตย์ มากขึ้นเท่านั้น แทนที่จะสะท้อนมันออกไป มันกลายเป็นวงจรสะท้อนกลับเชิงบวก เหมือนกับเครื่องทำความร้อนที่ เทอร์โมสตัตทำงานตรงข้ามกับปกติ เราสามารถเห็นกลไกอีกอันหนึ่งได้ จากการดื่มโซดา น้ำอัดลม คือน้ำ ที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่ ตอนที่โซดาเย็น มันสามารถรองรับ คาร์บอนไดออกไซด์ได้มาก แต่เมื่อมันร้อนขึ้น เช่นตอนที่ เรากลืนมันลงไปในกระเพาะ ความสามารถในการละลายของมันก็ลด น้อยลง ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ ซ่าเป็นฟองออกไปกลายเป็นก๊าซ อุ๊ปส์ ในทะเล ก็มีคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่เช่น กัน เช่นเดียวกับโซดาที่เราดื่ม น้ำทะเลที่อุ่นกว่าจะปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากกว่า คาร์บอนไดออกไซด์ที่ขึ้นมาจากทะเลเหล่านี้ ส่งผลต่อภาวะโลกร้อน ซึ่งทำให้น้ำทะเล ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ออกมาอีก ไปเรื่อยๆ.... กลไกแบบที่สาม เกี่ยวข้องกับก๊าซชนิดนี้ ก๊าซมีเทน มันเป็นก๊าซเรือนกระจกที่สามารถส่งผลต่อ การทำความร้อนได้มากกว่าคาร์บอนได ออกไซด์ประมาณ 20 เท่า หากมีจำนวนเท่ากัน บางส่วนของโลก เช่นรัสเซียตอนเหนือ และแคนาดา มีก๊าซมีเทนเป็นจำนวนมาก ที่ถูกแช่แข็งอยู่ใต้พื้นดิน มันหนาวมากจนพื้นดินกลายเป็นน้ำแข็ง ตลอดปี ทำให้มีก๊าซมีเทนติดอยู่ในนั้นมาเป็น หมื่นๆปี ถ้าอุณหภูมิเพิ่มสูงจนพื้นน้ำแข็งละลาย ก๊าซมีเทนบางส่วน จะถูกปล่อยออกมา สู่ชั้นบรรยากาศ ยิ่งมีก๊าซมีเทนออกมามากเท่าไหร่ อุณหภูมิก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น และยิ่งอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเท่าไหร่ก็ ยิ่งมีก๊าซมีเทนออกมามากขึ้นเท่านั้น อีกตัวอย่างที่เห็นได้ไม่ชัด เท่านี้ก็คือไอน้ำ เมื่อชั้นบรรยากาศร้อนขึ้น มันก็ยิ่งรองรับน้ำได้มากขึ้น ไอน้ำนั้น จัดเป็นก๊าซเรือนกระจก ดังนั้น เราจึงมักจะคิดว่า ไอน้ำจำนวนมาก จะนำมาสู่อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นวงจรสะท้อนกลับเชิงบวกนั่นเอง.... แต่ในทางกลับกัน หากมีไอน้ำในอากาศมาก ก็แปลว่าจะ มีเมฆเกิดขึ้น และเมฆนั้น สะท้อนแสงอาทิตย์ออกไป เหมือนกับหิมะ ดังนั้นการมีไอน้ำมากในชั้นบรรยากาศ อาจนำมาสู่อากาศเย็นก็เป็นได้ เราไม่แน่ใจว่าผลกระทบอันไหน เกิดขึ้นมากกว่ากัน หรือมันอาจจะหักล้างกันพอดีก็เป็นได้ วงจรสะท้อนกลับเชิงบวกเหล่านี้ ทั้งหิมะที่ละลายทำให้พื้นมีสีเข้มขึ้น และสะท้อนแสงได้น้อยลง... คาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อย ออกมาจากมหาสมุทร และก๊าซมีเทนที่ถูกปล่อย ออกมาจากพื้นน้ำแข็ง.. ...ล้วนทำงานเหมือนกับเทอร์โมสตัต ที่ทำงานตรงข้ามกับปกติ ยิ่งร้อนขึ้น กลไกความร้อน เหล่านี้ก็ยิ่งทำงานหนักขึ้น แม้จะดูเหมือนว่า กลไกแต่ละอันส่ง ผลกระทบไม่มากนัก... ....แต่เมื่อรวมกันแล้ว มันอาจนำมา ซึ่ง จุดเปลี่ยนแปลงอันใหญ่หลวง ของภูมิอากาศ ในกรณีที่แย่ที่สุด ภาวะโลกร้อนที่หยุดไม่อยู่แบบนี้ อาจเกิดขึ้นต่อไปเรื่อยๆเป็นร้อยๆปี นักวิทยาศาสตร์ส่วนมากคิดว่ามันไม่น่าจะ เกิดขึ้น เพราะรังสีที่ถูกปล่อยออกไปในอวกาศ เป็นจำนวนมากกว่าที่เคย จะทำหน้าที่เป็นเทอร์โมสตัต และหยุดสร้างความร้อนในที่สุด แต่กว่าจะถึงตอนนั้น คงมีพื้นที่ มากมายบนโลก ที่กลายเป็นที่ซึ่งอาศัยอยู่ไม่ได้