
เส้นโครงแผนที่

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
True or false? All map projections have distortions.
เมื่อเราดูแผนที่โลกแต่ละอัน เราจะเห็นว่ามันหน้าตาไม่เหมือนกัน ซะทีเดียว ลองเปรียบเทียบแผนที่อันนี้ กับอันนี้ดู บนแผนที่อันนี้ ทวีปต่างๆดูผอมและสูง ยังกับถูกยืดจากด้านบนและล่าง เว้นแต่บริเวณเหนือสุดและใต้สุด ที่ดูเหมือนกับถูกบี้ลงไป ทำไมแผนที่เหล่านี้ถึงหน้าตาไม่ เหมือนกันล่ะ? ก็เพราะว่า เวลาที่เราพยายามแสดงพื้นผิว ของวัตถุทรงกลมลงบน กระดาษแผ่นแบนๆ มันเป็นไปไม่ได้เลย ที่เราจะสามารถ แสดงมันได้อย่างสมบูรณ์ มาลองตัดลูกบอลนี้ออกมาและ ทำให้มันกลายเป็นแผ่นเรียบๆดู เราต้องดึงและยืดมันออก จึงทำให้ลายจุดบนลูกบอลเปลี่ยนรูปไป ถ้าเราทำเช่นนี้กับผิวโลก ตัดแล้วยืดมันออกให้เป็นแผ่นเรียบ แบบแผนที่ รูปร่างและขนาดของทวีปต่างๆก็จะเปลี่ยนไป มีการบิดเบี้ยวเกิดขึ้นในแผนที่ สรุปแล้ว ทวีปต่างๆบนแผนที่ไม่ได้มี หน้าตาเหมือนกับบนลูกโลกซะทีเดียว แต่ว่า ทำไมถึงมีแผนที่หลายแบบล่ะ? ก็เพราะว่าเราสามารถยืดผิวโลกได้หลายแบบ ยังไงล่ะ เราเรียกมันว่า เส้นโครงแผนที่ หรือ โปรเจกชั่น ที่มีอยู่หลากหลายแบบ แผนที่นั้น บิดเบือนรูปร่าง ขนาด และระยะห่างระหว่างทวีปต่างๆ เส้นโครงแผนที่ทุกชนิดมี การบิดเบี้ยวเกิดขึ้น งั้นแผนที่แบบไหนดีที่สุดล่ะ? ในแผนที่นี้ ทวีปต่างๆมีรูปร่าง คล้ายกับบนลูกโลก ทั้งอเมริกาใต้ และออสเตรเลีย แผนที่นี้ คงรูปร่างไว้ แต่ดูสิ! ดูระยะห่างระหว่างโมกาดิชูกับ กัวลาลัมเปอร์สิ เทียบกับระยะระหว่างเรคยาวิกและ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก มันดูเท่ากันเลย เส้นทั้งสองยาวเกือบเท่ากัน ทีนี้มาดูที่ลูกโลก จริงๆแล้ว โมกาดิชูกับกัวลาลัมเปอร์ อยู่ห่างกันมากกว่าถึงสองเท่า ดังนั้น แปลว่าแผนที่นี้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ หากเราอยากจะเปรียบเทียบระยะทาง ดังนั้นมันจึงไม่ดีในเรื่องของขนาดเช่นกัน ถ้าเราย้ายกรีนแลนด์ลงมาที่แอฟริกา มันดูเหมือนมีขนาดใกล้เคียงกันเลย บนลูกโลก เราจะเห็นได้ว่า มันไม่จริง แอฟริกาใหญ่กว่ากรีนแลนด์มาก เส้นโครงแผนที่แบบนี้ถูกคิดค้นขึ้น ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 16 โดยเจอร์ราดัส เมอร์เคเตอร์ เราเรียกมันว่า เส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์ มันคงรูปร่างของทวีปต่างๆไว้ แต่ขนาดและระยะห่างต่างๆกลับบิดเบือนไปจาก ความจริง มีวิธีอื่นอีกมั้ยนะ? ที่สามารถทำให้ขนาดและระยะทางสมจริง มากกว่านี้? มาลองดูแผนที่อีกอันหนึ่ง แล้วลองเทียบกรีนแลนด์บนแผนที่กับ กรีนแลนด์บนลูกโลกดู ขนาดดูเหมือนจริงอยู่ แต่รูปร่างนั้น บิดเบี้ยวอย่างแรง ทวีปแอฟริกาบนแผนที่นี้ มีขนาดเกือบ เท่ากับบนลูกโลก แต่รูปร่างของมันก็ถูกยืดออกและบิดเบี้ยว มันคือเส้นโครงแผนที่แบบกัลล์ ปีเตอร์ แผนที่นี้มีหน้าตาแปลกๆ แต่มันก็มีมหาสมุทรและทวีปต่างๆครบ นี่คือแอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกาใต้ ทั้งขนาดและรูปร่างของทวีปต่างๆดูสมจริง แต่ดูที่มหาสมุทรสิ ยังกับว่ามันถูกตัดออกจากกัน เส้นโครงแผนที่แบบนี้ มันถูกขัดตอน ลองดูที่เมืองสิ ลอนดอน นิวยอร์ก แล้วลองลากเส้นเชื่อมดู นี่คือเคปทาวน์และเซาเปาโล และเส้นเชื่อมระหว่างเมืองทั้งสอง ระยะห่างอันไหนสั้นกว่ากันนะ? บอกได้ไม่ง่ายเลย เพราะเส้นนั้นลากผ่านบริเวณสีขาว ที่อยู่นอกแผนที่ มันคือเส้นโครงแผนที่แบบบ็อกส์ ซึ่งแสดงรูปร่างและขนาดได้ดี แต่ใช้ยากสำหรับการคาดเดาและ เปรียบเทียบระยะทาง และยังมีสองจุดในแผนที่ที่มีรูปร่างต่าง จากบนลูกโลกมาก หาเจอมั้ย? กรีนแลนด์และแอนตาร์กติกา ซึ่งถูกตัดออกเป็นส่วนๆนั่นเอง ไม่มีแผนที่ที่ดีที่สุด แผนที่แต่ละแบบมีประโยชน์สำหรับ จุดประสงค์ที่ต่างกัน เส้นโครงแผนที่แบบไหนเหมาะสมที่สุด ขึ้นอยู่กับ ว่าเราต้องการอะไรจากแผนที่นั้น อย่างเช่นเปรียบเทียบขนาดของประเทศต่างๆ หรือดูรูปร่างของมัน เส้นโครงแผนที่ที่เป็นที่นิยมที่สุดคือ เส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์ แบบกัลล์ ปีเตอร์นั้น ไม่ค่อยได้เห็น บางที อาจเป็นเพราะว่าแผนที่ส่วนใหญ่ ถูกสร้างและพิมพ์ โดยชาวยุโรปและอเมริกา ในพื้นที่ที่ร่ำรวยกว่าส่วนอื่นๆในโลกนั้น พวกเขาใช้เส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์ และแบบอื่นๆที่คล้ายกัน และไม่รู้สึกลำบากใจเลย ที่ยุโรปและ อเมริกาเหนือดูใหญ่กว่าความเป็นจริง หรือไม่แน่ อาจเป็นเพราะรูปร่างของทวีป ทั้งหมด บนเส้นโครงแผนที่แบบกัลล์ปีเตอร์ ดูผิดรูป ไปหมดเมื่อเทียบกับลูกโลก ซึ่งแปลว่า แผนที่นี้ไม่ดีเท่าไหร่ ที่กล่าวมานี้คือ เส้นโครงแผนที่สามแบบ ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด ยังมีอีกหลายแบบ และเส้นโครงแผนที่ทุกแบบ ล้วนมีการบิดเบี้ยวเกิดขึ้นอย่างใด อย่างหนึ่งอาจเป็น รูปร่าง ขนาด หรือระยะห่างระหว่างทวีปต่างๆ