
แผนที่เฉพาะเรื่อง

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
What does the term "thematic map" mean?
เมื่อปี 1700 ผู้คนมากมายอาศัยอยู่ ในยุโรป อินเดีย จีน แต่ไม่ค่อยมีใครอาศัยอยู่ ในอเมริกา 200 ปีต่อมา โลกมีประชากรมากขึ้น และมีผู้คนจำนวนมากตั้งรกรากอยู่ใน ฝั่งตะวันออกของอเมริกาเหนือ ในศตวรรษที่ 20 จำนวนประชากรเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในประเทศจีนและอินเดีย ตามทันมั้ย? น้องๆคิดว่าจะจำทั้งหมดนั่นได้มั้ย หลัง วิดิโอนี้จบ การจำอะไรบางอย่างจากตัวหนังสือ มักจะยาก บางทีอาจจะง่ายกว่าถ้าเรามีรูปมาช่วย แผนที่ไง นี่คือแผนที่โลกที่แสดงให้เราเห็นว่า ประชากร บนโลก กระจายตัวอย่างไร เมื่อปี 1700 บริเวณสีขาวคือที่ที่ แทบจะไม่มีมนุษย์เลย ส่วนบริเวณสีแดงหมายถึงบริเวณที่มนุษย์ อาศัยอยุ่ สีแดงยิ่งเข้มขึ้น ก็ยิ่งมีผู้คนอาศัยอยู่มากขึ้น พื้นที่สีแดงเข้มคือ พื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น แผนที่นี้ มีพื้นที่สีแดงขนาดใหญ่ในยุโรป อินเดีย และจีน มีผู้คนอาศัยอยู่ในที่เหล่าน้ันเยอะ เมื่อปี 1700 อเมริกาเกือบเป็นสีขาว มันมีประชากรเบาบาง แผนที่นี้คือแผนที่สำหรับ ปี 1900 ซึ่งมีพื้นที่สีแดงใหญ่ขึ้น เข้มขึ้น และเยอะขึ้น นี่หมายความว่ามีคนอยู่บนโลกมากกว่า แต่ก่อน และในอเมริกาเหนือก็เริ่มมี พื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น แผนที่นี้แสดงให้เห็นว่าคนอาศัยอยู่ ที่ไหนในปี 2000 ประเทศจีนและอินเดียกลายเป็นสีแดงเข้ม มันเป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ครั้งยิ่งใหญ่ขึ้น ระหว่างปี 1900 และ ปี 2000 ประชากรจีนและอินเดียเพิ่มสูงขึ้นอย่าง รวดเร็ว แผนที่ประชากรสามอันนี้ อธิบายถึงสิ่งเดียวกับที่เราพูดถึง ในตอนต้นของวิดิโอเลย ตอนที่มีแต่คำบรรยายไม่มีรูปประกอบหน่ะ จำง่ายขึ้นมั้ยตอนนี้? คิดว่าแผนที่เหล่านี้ช่วยให้เราจำได้มั้ย ว่าในปี 1700 1900 และ 2000 คนเราอาศัยอยู่ที่ไหนบ้าง? แผนที่สามอันนี้มีธีมอยู่ ซึ่งธีมในที่นี้ก็คือ สถิติประชากร มันคือแผนที่เฉพาะเรื่อง มีแผนที่เฉพาะเรื่องที่มีธีมอื่นๆอีก อันนี้ ไม่ได้พูดถึงประชากร แต่พูดถึงสภาพอากาศ มันช่วยให้เราเห็นภาพคร่าวๆว่า พรุ่งนี้อากาศจะเป็นยังไง ทางใต้จะแดดออก ทางตะวันออกจะมีฝนตก และบริเวณ ตอนกลาง จะมีพายุฝนและฟ้าผ่า ในแผนที่นี้ ประเทศต่างๆ มีสีต่างกัน ซึ่งช่วยให้เราแยกมันได้ง่าย มันคือแผนที่ที่แสดงถึงรัฐต่างๆ ซึ่งหมายถึงมันแบ่งตาม การปกครองหรือ การเมือง มันคือแผนที่รัฐกิจ แผนที่รัฐกิจไม่เพียงแต่แสดง ประเทศต่างๆให้เราเห็น มันยังแสดงส่วนต่างๆ ของประเทศนั้นๆอีกด้วย นี่คือแผนที่การแบ่งเขตการปกครองในประเทศ ประเทศหนึ่ง มันคือแผนที่รัฐกิจของภูมิภาคทั้งหมด ในประเทศ แผนที่นี้มีสีสันมาก เป็นแผนที่รัฐกิจเหมือนกันรึเปล่านะ? ไม่ใช่ มีหลายประเทศที่อยู่ติดกัน เป็นสีเดียวกัน แผนที่นี้แสดงถึงกีฬาที่เป็นที่นิยมที่สุด ในแต่ละประเทศ สีเขียวคือฟุตบอล ซึ่งเป็นที่นิยมที่สุดเกือบจะทั่วโลก แต่มันไม่ได้เป็นที่นิยมที่สุด ในทุกๆที่ ออสเตรเลีย อินเดีย และปากีสถาน เป็นสีแดง ซึ่งหมายถึง คริกเก็ต แล้วนี่อะไรอีกล่ะ? บริเวณสีฟ้าหมายถึงบริเวณที่เคยมี คนพบเห็นฉลามขาวยักษ์ พวกมันอาศัยอยู่ในส่วนต่างๆ ของโลก ตามแนวชายฝั่งทุกทวีป ยกเว้น ทวิปแอนตาร์กติกา เราสามารถใช้แผนที่อธิบาย สิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ชีววิทยา หรือสิ่งอื่นๆอีกมากมาย แผนที่ ช่วยให้เราเข้าใจและ จดจำสิ่งต่างๆ ที่ยากต่อการจำผ่านตัวอักษร ได้เร็วขึ้น ลองอธิบายเนื้อหาทั้งหมดในแผนที่ เหล่านี้ ด้วยคำพูดล้วนๆสิ