
แผ่นเปลือกโลก

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
What does the term "tectonic plate" mean?
นี่คือทวีปทั้งเจ็ด ในแบบที่เรารู้จัก มันมีมหาสมุทรคั่นอยู่ แต่ถ้าลองดูรูปร่างของมันดีๆ... ...ดูเหมือนว่า... .....มันจะสามารถเรียงติดกันได้พอดี เหมือนกับจิ๊กซอว์เลย! เคยดูแผนที่แล้วสังเกตเห็นสิ่งนี้มาก่อน มั้ย? เมื่อต้นศตวรรษที่ 20 นักวิทยาศาสตร์คิดว่าสิ่งนี้คือ ความบังเอิญ และทวีปต่างๆ ไม่เคยเคลื่อนที่ ไปไหนทั้งนั้น แต่ทุกวันนี้ เรารู้ดีขึ้นแล้ว! เราเชื่อว่ามื่อ 300 ล้านปีก่อน โลกหน้าตาเป็นแบบนี้ พื้นดินทั้งหมดบนโลก เชื่อมต่อกันเป็นมหาทวีปที่เรียก ว่า พันเจีย จากนั้น เมื่อเวลาผ่านไปเป็นล้านๆปี ทวีปต่างๆก็เคลื่อนที่ออกจากกัน... ...และตอนนี้ มันได้เคลื่อนมาอยู่ตรง ตำแหน่งที่เรา เห็นจนคุ้นตา ไม่น่าเชื่อเลยว่ามั้ย? นักวิทยาศาสตร์เมื่อหลายร้อยปีก่อนก็ไม่ อยากจะเชื่อเหมือนกัน เป็นไปได้ยังไง ที่สิ่งที่ใหญ่มหึมา แข็ง และหนักอย่างทวีป จะสามารถ เคลื่อนที่ไปมาแบบนี้ได้? ถ้าอยากรู้ ก็ต้องมาดูข้างใน โลกกันซักแป๊บหนึ่ง โลกจะมีหน้าตาแบบนี้ ถ้าเรา ตัดส่วนหนึ่งออกและมองเข้าไปข้างใน เปลือกโลก คือชั้นหินแข็งๆบางๆ มันลอยอยู่บนแมนเทิล ซึ่งเป็นชั้นหินหนาที่ร้อนและหนืด แมนเทิลนั้น ได้รับความร้อนจากแกนโลก ทำให้เกิดกระแสการพาความร้อน ที่ทำให้ แมนเทิลเคลื่อนที่ อย่างเชื่องช้า เปลือกโลกนั้น เหมือนกับเปลือกหินแข็งๆ ที่ล้อมรอบโลกไว้ แต่มันเป็นเปลือกที่ร้าว ร้าวเป็นส่วนๆ เป็นแผ่นขนาดใหญ่ยักษ์ 7 แผ่น และแผ่นเล็กประมาณ 20 แผ่น เราเรียกแผ่นเหล่านี้ว่า แผ่นธรณีหรือ แผ่นเปลือกโลก แผ่นธรณีเคลื่อนที่ตามแมนเทิล ขยับช้าๆแต่มั่นคง เพียงประมาณ ไม่กี่เซ็นติเมตรต่อปี แต่มัน เคลื่อนที่ไปคนละทิศกัน งั้นจะเกิดอะไรขึ้น ตรงที่ที่แผ่นเปลือก โลกมาเจอกันล่ะ? ตรงรอยต่อของแผ่นโลกหน่ะ อาจมีหนึ่งในสามอย่างนี้เกิดขึ้น ตรงนี้ แผ่นเปลือกโลกสองแผ่นกำลังชนกัน ทำให้เกิดเป็นแนวการมุดตัว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเทือกเขา บนโลกของเรา รอยต่อระหว่างแผ่นโลกแบบที่สอง คือตอนที่แผ่นทั้งสองเคลื่อนที่ออกจากกัน เรียกว่า แนวการแยกตัว บนบก ซึ่งแผ่นเปลือกโลกหนากว่า การแยกตัวแบบนี้จะทำให้เกิดหุบเขาที่มีขอบ ชันเรียกว่าหุบเขาทรุดหรือ ริฟต์แวลลีย์ ส่วนในมหาสมุทร ที่เปลือกโลกบาง แนวการแยกตัว อาจทำให้เปลือกโลกเปิดออก และมีแม็กม่าไหลออกมา แม็กม่านี้ จะเย็นและแข็งตัวลง เมื่อเจอกับน้ำ กลายเป็นแนวเทือกเขายาวๆใต้ทะเล เรียกว่า สันเขาในมหาสมุทร หากเปลือกโลกเคลื่อนที่ผ่านกันแทนที่จะ ชนหรือแยก เราจะเรียกว่าแนวเคลื่อนผ่าน ในบางครั้ง เวลาที่แผ่นเปลือกโลกเคลื่อน ผ่านและติดกัน จะเกิดแรงอัดและ แรงเสียดสีระหว่างแผ่นทั้งสอง ทำให้ มันหลุดออกจากกันอย่างกระทันหัน ส่งผลให้พื้นสั่น คล้ายๆกับบริเวณรอยต่ออื่นๆ นั่นแหละ บริเวณนี้เป็นบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว อยู่บ่อยๆ ในปัจจุบัน เรามีหลักฐานมากมายที่พิสูจน์ ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก หนึ่งในวิธีที่นักวิทยาศาตร์ใช้ ในการพิสูจน์ คือการเปรียบเทียบซากพืชและสัตว์ หรือฟอสซิลนั่นเอง ร่องรอยฟอสซิลของพืชและสัตว์ สายพันธุ์เดียวกัน ซึ่งเคยมีชีวิตอยู่ในยุคเดียวกัน ถูกค้นพบในต่างทวีปกัน พื้นที่ที่ตอนนี้มีมหาสมุทรคั่นกลางอยู่ เคยอยู่ติดกันในป่าผืนเดียวกัน! จริงๆแล้ว มีเบาะแสที่เก่าแก่กว่า นั้นเสียอีก ตั้งนานมาแล้ว ก่อนที่จะมีพันเจียเสียอีก นั่นเป็นเพราะเปลือกโลกนั้น เคลื่อนที่ไปมา มาเป็นพันๆล้านปี และสร้างมหาทวีปมาแล้ว หลายทวีป ซึ่งมาแยกออกจากกันอีกครั้ง เมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้น การที่ทวีปต่างๆมีรูปร่างพอดีกัน แบบนี้ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ พวกมันเป็นเป็นชิ้นส่วนจิ๊กซอว์ยักษ์จริงๆ