
ประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
Under the leader Cleisthenes, voting took place ______________ times a year.
คิดอย่างไรกันบ้าง เมื่อได้ยินคำว่าประชาธิปไตย บางทีมันอาจเป็นเรื่องการเมืองใช่ไหม ใช่แล้วล่ะ คำว่า demos นี้มาจากคำภาษากรีก ที่หมายถึง ประชาชน ดังนั้นประชาธิปไตยจึงหมายถึง การปกครองของประชาชน แต่ทำไมเราถึงใช้คำในภาษากรีกล่ะ เพราะชาวกรีกเป็นผู้ริเริ่ม ประชาธิปไตยหรือเปล่านะ ก็ไม่เชิงหรอก เป็นเรื่องธรรมดาที่จะกล่าวว่าประชาธิปไตย เกิดขึ้นที่กรุงเอเธนส์ในสมัยกรีกโบราณ ปีนี้คือปีที่ 594 ก่อนคริสตกาล นี่คือธาลอส พ่อของเขาเป็นชาวนาที่ต้องการเงินกู้ ในการรับเงินกู้ พ่อของเขาจะต้องเอา บางอย่างมาค้ำประกัน นี่คือการจำนำ แต่เขาไม่มีอะไรติดตัวมาเลย ยกเว้นแต่ครอบครัว ดังนั้น พ่อของธาลอสผู้หวังว่า การเก็บเกี่ยวจะสร้างเงิน ให้เขามากพอเพื่อใช้หนี้เงินกู้ โดยมีธาลอสเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในสัญญา แต่สิ่งที่ไม่ควรเกิดก็ได้เกิดขึ้น ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ผลไม่ดี พ่อของเขาหาเงินมาจ่ายหนี้ไม่ได้ ธาลอสจึงกลายเป็นทาส แต่ระบบสินเชื่อเป็นสิ่งที่น่ากลัว มันไม่ควรเป็นแบบนี้เลย นี่คือสิ่งที่โซลอนผู้นี้คิด โซลอนเป็นนักการเมืองในเอเธนส์ และยังเป็นกวี ผู้ที่ใช้บทกวีของเขาเอง โน้มน้าวให้ใครต่อใคร เห็นด้วยกับแนวคิดของเขา เขาจึงมีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมมาก ตอนนี้ธาลอสได้รับมอบหมายให้เปลี่ยนแปลง ระบบเศรษฐกิจและสังคมทั้งหมดในเอเธนส์ เขากำจัดระบบสินเชื่อ และตัดสินให้ประชาชนชาวเอเธนส์ทุกคน เป็นอิสระจากการถูกกดขี่นี้ ไม่เพียงเท่านั้น ใครก็ตามที่กลายเป็นทาสจาก ระบบเงินกู้ก็จะได้รับการปลดปล่อย มันดีกับธาลอสด้วย ตอนนี้ เอเธนส์จึงกลายเป็น ถิ่นที่อยู่ที่ค่อนข้างยุติธรรม ยังมีเรื่องอื่นๆ ที่โซลอนเอง ก็ทำสำเร็จเช่นกัน ผู้คนมากมายย้ายเข้ามาที่เอเธนส์ มันแออัดและมีอาหารไม่เพียงพอ โซลอนจึงเห็นว่าข้าวสาลีและธัญพืชอื่นๆ เป็นสิ่งจำเป็นต่อชาวเมือง จึงไม่อาจขายให้กับเมืองอื่น หรือส่งออกไปขายได้ นอกจากนี้ประชาชนทุกคนที่ต้องการลงคะแนน ในเอเธนส์ก็จะได้รับอนุญาต ตราบเท่าที่พวกเขายังเข้าร่วมกับกองทัพ เย้ ทีนี้ทุกคนก็ลงคะแนนได้แล้ว นี่แหละประชาธิปไตย แต่มันก็ยังไม่ใช่หรอก เพราะคำว่าพลเมืองที่โซลอนเอ่ยถึง ก็คือพวกผู้ชายที่เป็น เจ้าของที่ดินเท่านั้น ไม่ใช่คนที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง และไม่ใช่ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเมือง ผู้หญิง หรือว่าทาส ครอบครัวที่ร่ำรวยในเอเธนส์ ถูกนำมาใช้ในการรักษาอำนาจ โซลอนพยายามเปลี่ยนแปลงสิ่งนี้ โดยแบ่งเมืองออกเป็น 4 พวกตามรายได้ พวกที่ร่ำรวยที่สุดจะต้องจ่ายเงิน ให้กับกองทัพมากที่สุด แต่ถึงกระนั้น ก็มีแต่คนที่ รวยที่สุดเท่านั้นที่จะได้รับเลือก สู่ตำแหน่งที่ทรงอำนาจที่สุด ในเมือง นั่นคือพวกอาร์คอน ดังนั้น ความเป็นจริงแล้วเอเธนส์จึง ถูกปกครองโดยคนเพียงไม่กี่คน - นี่คือคณาธิปไตย - ไม่ใช่ประชาธิปไตย ถึงเวลาที่จะเปลี่ยนแปลง ความคิดของชายคนนี้แล้ว คลิสเทเนสเป็นนักการเมือง ในยุคหลังจากโซลอน 80 ปี ตอนนี้ ถึงเวลาที่เขาจะต้อง เปลี่ยนสังคมเอเธนส์แล้ว คลิสเทเนสทำให้ผู้คน กลายเป็นพลเมืองมากขึ้น ซึ่งก็หมายรวมถึงผู้ที่ไร้ที่ดิน และชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเอเธนส์ด้วย ตอนนี้พวกเขาก็ลงคะแนนได้ด้วยแล้ว และการลงคะแนนจะมีขึ้น 40 ครั้งต่อปี การเปลี่ยนแปลงของคลิสเทเนส ยังรวมถึงการปกครองเมือง โดยสมาชิกสภา 500 คนจากทุกกลุ่มในสังคม ซึ่งใกล้เคียงกับรัฐบาลในปัจจุบัน คลิสเทเนสได้สร้างกฎให้กับผู้คน ตอนนี้ประชาธิปไตยได้เกิดขึ้นแล้ว แม้ว่าผู้หญิงหรือทาสจะยังไม่ได้ รับอนุญาตให้ลงคะแนน ดังนั้น ประชาธิปไตยในเอเธนส์ จึงต่างกันจากสิ่งที่เราเรียกว่า ประชาธิปไตยในวันนี้ ทว่าที่นี่คือจุดเริ่มต้นของมัน