
ลัทธิเทพเจ้ากรีกโบราณ

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
จริงหรือเท็จ? ที่จุดเริ่มต้นของยุคเฮลเลนิสต์ถือเป็นปีที่คลีโอพัตราสิ้นชีพ
เรื่องราวที่ผ่านมา ในช่วงยุคโบราณและยุคคลาสสิก กรีซ หรือเฮลลาสนั้นประกอบด้วยเมือง หรือรัฐเล็กๆ ที่ปกครองตนเองหลายแห่ง กษัตริย์มาซิโดเนียคือพระเจ้าฟิลลิปที่ 2 ได้พิชิตเมืองต่างๆเหล่านี้ ได้ และผนวกเมืองเหล่านั้นเข้ามาอยู่ ในสันนิบาตทหารเดียวกัน เมื่อพระเจ้าฟิลิปสิ้นชีพในกาลต่อมา พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชที่เป็นบุตร ก็เอาชนะดินแดนขนาดใหญ่รอบเฮลลาส ต้องยกความดีส่วนใหญ่ให้กองกำลัง ของสันนิบาต ตอนนี้เป็นปีที่ 323 ก่อนคริสตกาล และพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ได้สิ้นชีพไป แต่เขาไม่มีทายาทเลยสักคน แล้วใครจะเป็นผู้ครองอาณาจักร อันยิ่งใหญ่นี้ล่ะ (ปโตเลมี) ข้าเอง (เซลิวคัส) ไม่ ต้องข้า (แอนติโกนัส) ฝันไปเถอะ ของข้า คนเหล่านี้คือนายพลที่ใกล้ชิด กับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่สุด ปโตเลมี เซลิวคัส และ แอนติโกนัสตาเดียว พวกเขาแต่ละคนเชื่อว่า ตนเองนั้นมีสิทธิ์ครองอาณาจักร ดังนั้น จักรวรรดิจึงถูกพวกเขาแบ่งแยก แบบนี้ เอ๊ะ แต่จริงๆ ก็ไม่ได้ แบ่งง่ายแบบนั้นหรอก เหล่านายพลต่างต่อสู้กัน แถมยังมีคนอื่นที่อยากได้อำนาจอีก ในที่สุด ราว 275 ปีก่อนคริสตกาล โลกของกรีก หรือเฮเลนิค ก็มีหน้าตาแบบนี้ จักรวรรดิต่างๆเหล่านี้ได้รับการตั้งชื่อ ตามตระกูลของผู้ปกครอง จักรวรรดิปโตเลมาอิค จักรวรรดิซิลิวซิด และจักรวรรดิแอนติโกนิด ชาวกรีกในอาณาจักรเหล่านี้ นำเอาเรื่องของขนบธรรมเนียม ศิลปะและเทพเจ้าของพวกเขาไปด้วย ซึ่งเป็นวัฒนธรรมเฮเลนิค แต่ผู้คนในแถบนี้มีวัฒนธรรม ของตนอยู่แล้ว เมื่อวัฒนธรรมเฮเลนิคของกรีกผสมผสานกับ วัฒนธรรมของพวกเขา มันจึงได้ออกมาเป็นอารยธรรมเฮลเลนิสต์ และหลังจากที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ สิ้นชีพไปจะเป็นยุคเฮลเลนิสต์ ยุคนี้ยังคงดำเนินต่อไปจนถึง ปีที่ 31 ก่อนคริสตกาล สิ่งหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อชาวเฮเลนนีส ก็คือในเปอร์เซียและอียิปต์ กษัตริย์จะได้รับการเคารพบูชา ไม่ต่างจากเทพเจ้า ราชวงศ์ปโตเลมาอิคและ ราชวงศ์ซิลิวซิดชอบแนวคิดนี้ พวกเขาอยากเป็นพระเจ้ามาก ราชวงศ์ปโตเลมาอิค เรียกตัวเองว่าฟาโรห์ เหมือนกับผู้ปกครองคนก่อนๆ ของอียิปต์ แต่ชาวกรีกหรือเฮเลนิสจะเข้าใจกันเอง ได้อย่างไรในโลกเฮลเลนิสต์? จากเอเชียไปสู่อียิปต์ หรือมาซิโดเนียนี่ก็ไกลโขนะ พวกเขาพูดภาษาเดียวกันไหม? แน่นอน ภาษาของชาวกรีกถูกนำเข้ามายัง ดินแดนใหม่พร้อมๆ กับเจ้าของภาษา ภาษาจึงกรีกเป็นภาษาถิ่น ที่ใช้พูดกันในเอเธนส์ตอนนี้ มันคือภาษากรีกคอยนี ก่อนหน้านี้ ในสมัยของ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ดินแดนพวกนี้เป็นของมาซิโดเนีย แล้วมาซิโดเนียตอนนี้ มีหน้าตาเป็นอย่างไรนะ? มันถูกปกครองโดยราชวงศ์แอนติโกโนส คือพวกแอนติโกนีด มาซิโดเนียยังคงเป็นรัฐทหารที่ทรงพลัง แม้จะมีขนาดเล็กกว่ามาก แล้วนครรัฐ อย่างเอเธนส์ สปาร์ตา และเมืองอื่นๆ ล่ะ เมืองเหล่านั้นไม่มีความสำคัญ ทางการเมืองอีกต่อไป ไม่มีใครที่ยืนหยัดที่จะต่อสู้ทางทหาร กับอาณาจักรที่ใหญ่กว่านี้ได้หรอก พวกเขาจะต้องรวมกันเป็นหนึ่งเดียว กับจักรวรรดิ หรือไม่ก็ถูกยึดครอง จักรวรรดิเฮลเลนิสต์ต่างๆเหล่านี้ ทำสงครามต่อกันเอง ดังนั้น ทั้งเขตแดนและชื่อประเทศ จึงเปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง มีจักรวรรดิใหม่ๆเกิดขึ้น และบางจักรวรรดิก็หายไป แต่อาณาจักรปโตเลมาอิคในอียิปต์ คือหนึ่งเดียวที่อยู่ได้นานที่สุด ในขณะเดียวกันก็มีอำนาจอื่น ที่เกิดขึ้นในแถบเมดิเตอร์เรเนียน นั่นคือ"จักรวรรดิโรมัน" ราชินีโอพัตราแห่งปโตเลมาอิค เข้าใจว่ามันจะต้องดีแน่ ถ้าจะผูกสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชาวโรมันไว้ เธอก่อตั้งพันธมิตรกับผู้นำโรมัน 2 คน จูเลียส ซีซ่าร์ และมาร์คุส แอนโทนีอุส ในเวลานี้การมีลูกจึงมีความสำคัญ ในเกมที่เป็นขุมอำนาจทางการเมือง เนื่องจากอำนาจของพ่อของพวกเขา จะถูกส่งมอบต่อไปให้ลูกๆ ได้ คลีโอพัตราจึงมีลูกคนแรก กับจูเลียส ซีซาร์ และต่อมาก็มีลูกกับ มาร์คุส แอนโทนีอุส แต่มาร์คุส แอนโทนีอุส มีศัตรูอยู่คนหนึ่ง เขาคืออ๊อกตาเวียนุสซึ่งเป็น ลูกบุญธรรมของซีซ่าร์ ซึ่งทั้งสองกำลังทำสงคราม กับจักรวรรดิโรมัน นี่ทำให้อ๊อกตาเวียนุสหงุดหงิดสุดๆ มาร์คุส แอนโทนีอุสจึงกลายเป็นพ่อเลี้ยง ให้กับลูกชายของซีซ่าร์และคลีโอพัตรา อ๊อกตาเวียนุสโจมตีมาร์คุส แอนโทนีอุส และคลีโอพัตราด้วยทัพเรือ อ๊อกตาเวียนุสชนะ และยึดอียิปต์มาได้จากคลีโอพัตรา ซึ่งเธอได้ฆ่าตัวตายในเวลาต่อมา ต่อมาอ๊อกตาเวียนุสได้เปลี่ยนชื่อ เป็นออกัสตัส และประกาศตัวเป็นจักรพรรดิซีซ่าร์ แต่นั่นก็เป็นอีกเรื่อง เพราะว่าตอนนี้ เมื่อคลีโอพัตราและอาณาจักร ปโตเลมาอิคของเธอสิ้นสุดลง ยุคเฮลเลนิสต์ก็ถึงคราว อวสานด้วยเช่นกัน