
บริษัทอินเดียตะวันออก : การเริ่มต้นของลัทธิล่าอาณานิคม

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
จักรพรรดิมุสลิมราชวงศ์ใดที่ปกครองอินเดียในช่วงศตวรรษที่ 18
ช่วงศตวรรษที่ 18 บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ กลายเป็นสิ่งที่ยิ่งกว่าบริษัทการค้า เพราะมันเป็นอำนาจที่ ครอบงำอินเดียอยู่ในตอนนั้น มี 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น ในศตวรรษที่ 17 ข้อแรกคือบริษัทได้สิทธิในการ จัดการกับเงินของตัวเอง รวมทั้งยังได้อำนาจทางทหารในอินเดียมาด้วย ข้อสองคืออำนาจบริษัทการค้า ของอังกฤษนั้นเพิ่มขึ้น ในขณะที่อำนาจบริษัทของชาวดัตช์ นั้นลดลง ข้อสามคือบริษัทได้พบกับศูนย์กลางการค้า ที่สำคัญอีกหลายแห่ง แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือเมืองโกลกาตา แต่ตอนนี้เป็นยุคก่อนศตวรรษที่ 18 ซึ่งอินเดียถูกปกครองโดยจักรพรรดิที่ เป็นชาวมุสลิมคือราชวงศ์โมกุล ผู้ที่มีฐานะรองลงมาก็คือผู้ปกครองส่วน ภูมิภาค หรือนาวับ เช่นในเบงกอล ซึ่งเป็นรัฐที่สุด ในด้านขนาดและประชากรที่หนาแน่น ในปี 1717 จักรพรรดิในราชวงศ์โมกุล ได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมที่บริษัทอังกฤษ ต้องจ่ายให้ จากสินค้าต่างๆ ที่มาจากรัฐเบงกอล ซึ่งสินค้าที่สำคัญที่สุดก็คือ ฝ้าย ผ้าไหม คราม ดินประสิว และแน่นอนว่า ต้องมีพวกชาด้วย กลางศตวรรษที่ 18 มีพวกนาวับหลายคน เกิดความเหนื่อยหน่ายกับจักรพรรดิใน ราชวงศ์โมกุล และได้ประกาศตนเป็นอิสระ นาวับแห่งเบงกอล นามว่าสีราช อับดุลลาห์ ก็เป็นหนึ่งในนั้น นาวับจากหลากหลายแคว้น ต่างก็ได้รับการสนับสนุนจาก ประเทศต่างๆ นาวับแห่งเบงกอลก็มี ฝรั่งเศสคอยหนุนอยู่ มันเริ่มตั้งแต่บริษัทอินเดียตะวันออก ของฝรั่งเศส นั้นต้องการยึดตลาดการค้าที่อังกฤษ เคยครองอยู่เป็นอย่างยิ่ง ระหว่างนั้นในยุโรปเองก็มีสงคราม ระหว่างฝรั่งเศสกับอังกฤษอยู่ ดังนั้นบริษัทของอังกฤษจึงไม่ชอบใจนัก หากจะมีฝรั่งเศสมาป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้ๆ อำนาจทางทหารของบริษัทอังกฤษ จะอยู่ในเมืองโกลกาตา ฟอร์ท วิลเลียม ที่ซึ่งตอนนี้มีกำลังทหารหนุนอยู่ เพื่อต่อต้านกับฝรั่งเศส สีราช อับดุลลาห์ไม่ชอบใจ กับการกระทำดังกล่าว อังกฤษกำลังเอาอิสระ ของเบงกอลมาขมขู่อินเดีย เขาเข้าโจมตีฟอร์ท วิลเลียม ทหารอังกฤษที่รอดชีวิตจากการโจมตี ก็ถูกจับกุม และนำตัวไปขังไว้ในห้องขังที่อยู่ในเมือง ห้องขังนั้นถูกเรียกว่า หลุมดำ ที่มีขนาดเพียง 20 ตารางเมตรเท่านั้น และจะขังนักโทษได้เพียงหนึ่งหรือสองคน แต่ตอนนี้มีนักโทษมากกว่า 60 คน ที่ถูกยัดเข้าไปในห้องขังที่ว่านั่น ประตูห้องขังแทบจะปิดไม่ได้ด้วยซ้ำ และนาวับเองก็ไม่ได้คิดเรื่องขนาด ของห้องขังที่เล็กเท่ารูหนูนี้มาก่อน เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าในนั้นทั้งแออัด และร้อนเอามากๆ มันไม่มีแม้อากาศจะหายใจ นั่นทำให้ยังไม่ทันข้ามคืนดี ก็มีคนตายไปแล้วอย่างน้อย 40 คน มีบารอนผู้หนึ่งนามว่าโรเบิร์ต ไคลพ์ ถูกส่งมายังโกลกาตาเพื่อชำระแค้น ในสวนมะม่วงแห่งนี้ ที่ตั้งอยู่ในเขตเพลสซีย์ ไคลพ์ได้นำกองทัพเล็กๆของเขา ที่มีทหาร 3,300 นาย เพื่อต่อต้านกองทัพของสีราช อับดุลลาห์ ที่มีกำลังทหาร 55,000 นายซึ่งมากกว่าเขา แต่นี่มันอะไรกัน หนึ่งในผู้นำกองทัพอินเดียที่ชื่อ มีร์ จาฟาร์ กลับไม่ยินยอมให้ทหารของเขา ร่วมรบในศึกนี้ ดังนั้นบริษัทจึงเป็นฝ่ายชนะไป มีร์ จาฟาร์ได้ทำข้อตกลงกับอังกฤษ ว่าเขาจะหักหลังนาวับเพื่อให้ตัวเอง ได้เป็นนาวับเสียเอง แต่ตอนนี้ บริษัทอินเดียตะวันออก ของอังกฤษ ก็ได้ครอบครองเบงกอลแล้ว มีร์ จาฟาร์ก็เป็นแค่หุ่นเชิดเท่านั้น ในปี 1765 จักรพรรดิแห่งราชวงศ์โมกุลได้ให้สิทธิ การเก็บภาษีกับบริษัทอังกฤษ ไม่ใช่แค่ในเบงกอลหรอกนะ แต่รวมไปถึง ในรัฐพิหาร และรัฐโอริสสาด้วย แต่ทำไมเป็นแบบนั้นนะ ก็เพราะราชวงศ์โมกุล ก็ทนการปฏิวัติจากพวกนาวับไม่ไหว ทั้งยังมีการโจมตีจากผู้ที่ต้องการ คุกคามอำนาจของจักรพรรดิด้วยน่ะสิ ด้วยความขอบคุณในเงินภาษีที่เก็บได้ บริษัทอังกฤษจึงจ่ายเงินให้กับศาล ของราชวงศ์โมกุล และสร้างความเชื่อมั่นว่าอำนาจ ที่มีนั้นจะไม่สั่นคลอน รวมทั้งอำนาจที่บริษัทมีอยู่ใน ภูมิภาคอื่นๆ ในประเทศนี้ด้วย ข้อตกลงมากมายได้ถูกทำขึ้นมา เพื่อเพิ่มเติมที่บอกไว้ว่านาวับนั้น จะไร้ซึ่งอำนาจใด พวกนาวับเองก็จ่ายเงินให้กับ ศาลไปหลายล้าน เพื่อให้ได้มาซึ่งความคุ้มครองจากบริษัท ดังนั้นตอนนี้บริษัทจึงไม่ต้องการ เงินจากอังกฤษ เพื่อใช้ในการซื้อสินค้าอีกต่อไปแล้ว พวกเขาใช้เงินภาษีแทน ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงสามารถซื้อสินค้า ในอินเดียได้ในราคาถูก และขายมันได้ราคาสูงในอังกฤษ จากนั้นก็เอากำไรที่ได้ไปลงทุนต่อไป ตอนนี้ราชวงศ์โมกุลเองก็ไม่ต่าง จากพวกนาวับ ที่ต้องพึ่งพาบริษัท บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ได้เข้ามายึดครองอินเดีย และยังคงเป็นเช่นนั้นไปจนถึงปี 1858 เมื่อรัฐสภาแห่งอังกฤษได้เกิด ความเบื่อหน่ายบริษัท และเข้ายึดครองบริษัท อินเดียทั้งหมดจึงตกเป็นเมื่องขึ้นของ อังกฤษที่ปกครองโดยพระราชีนีวิคตอเรีย