
การค้าทาสของสวีเดน

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
ราชีนีองค์ใดที่อนุญาตให้หลุยส์ เดอเกียร์สร้างเรือบรรทุกทาสลำแรกของสวีเดนขึ้นมา?
การค้าทาสในยุโรปจากทางอเมริกา ได้เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 16 ไปจน ถึงต้นศตวรรษที่ 19 ว่าแต่สวีเดนคิดอย่างไรกับ การค้าทาสกันนะ ฉันรู้ ตอนนั้นเราต้องต่อต้านแน่ๆ ใช่ไหมล่ะ ได้โปรดบอกสิว่า เราต่อต้านการค้าทาสใช่ไหม ไม่เลย เรื่องทาสนี่ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ ในสเปนเลยด้วยซ้ำ ทั้งยุคก่อนหน้าและในยุคของไวกิ้งนั่นแหละ มีทาสมากมายที่มาจากเชลยศึก ในสงครามด้วยนะ ทาสพวกนี้จึงถูกเรียกว่า ทาสรับใช้ ลูกๆของทาสรับใช้ก็ กลายเป็นทาสด้วย แต่เมื่อศาสนาคริสต์ได้เผยแพร่ เข้ามาในช่วงยุคกลาง ผู้คนเริ่มตระหนักถึงเรื่องทาส ว่ามันไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง การจับคนมาเป็นทาส จึงเป็นเรื่องต้องห้าม และทาสรับใช้กลุ่มสุดท้ายก็ได้รับ อิสรภาพในศตวรรษที่ 14 ราว 300 ปีต่อมา ช่วงกลางศตวรรษที่ 17 มีชาวดัตช์นามว่าหลุยส์ ดี แยร์ ได้ย้ายมาอยู่ที่สวีเดน เขาตระหนักถึงความสำคัญของ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กที่จะเข้ามา มีบทบาทในอุตสาหกรรมของสวีเดน นั่นทำให้บางครั้งมีคนเรียก หลุยส์ ดี แยร์ ว่า บิดาแห่งอุตสาหกรรมสวีเดน แต่ ดี แยร์ ยังตระหนักด้วยว่า เหล็กจะเข้าไปมีบทบาทในการค้าทาส ในการค้าทาสนั้นต้องใช้ปืน โซ่ และกุญแจมือ นี่เป็นธุรกิจที่ทำกำไรได้งาม แต่อย่างไรก็ตาม สวีเดนก็ยังไม่ได้ เข้ามามีส่วนร่วมในการค้าทาสดังกล่าว ประเทศอื่นๆนั้นต่างก็นำเหล็กไปใช้ ในการค้าของตัวเอง ในปี 1646 ดี แยร์ ได้รับอนุญาต จากองค์ราชินีคริสติน่า ในการจัดหาเรือบรรทุกทาสลำแรก เรือแล่นออกไปยังแอฟริกา ที่ซึ่งทาสจะถูกซื้อจากที่นั่น และถูกส่งไปขายต่อที่เกาะเวสต์อินดีส มีทาสมากมายตายไประหว่างการเดินทาง ทว่าหากมองในเชิงเศรษฐกิจมันก็เป็น ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอยู่ดี นับว่าเป็นตัวอย่างความสำเร็จ ที่ทำให้องค์ราชีนีอยากเปิด บริษัทค้าทาสขึ้นมา ในปี 1649 ดี แยร์ ก็ได้รับอนุญาต ให้เริ่มกิจการของบริษัท สวีเดน แอฟริกัน และจากนั้นในปี 1650 สวีเดนได้จ่ายเงินซื้อรัฐอาณานิคม มาจากกษัตริย์ของชาวเฟตู คือที่นี่ในแถบแอฟริกา ซึ่งมีการเรียกรัฐอาณานิคมนั้นว่าชายฝั่ง ทองคำแห่งสวีเดน หรือคาโบ คอร์โซ บริษัทได้ตั้งศูนย์ค้าทาสขึ้นที่นี่ ทั้งยังได้มีการซื้อและปรับปรุง ป้อมปราการทาสที่มีอยู่เดิมด้วย ซึ่งก็คือ คือ คาร์โรลัสบอร์ย การแข่งขันทางการค้าทาสนั้น จัดว่าน่ากลัว อังกฤษได้ทำการปล้นเรือของสวีเดนหลายลำ เพราะอยากกำจัดคู่แข่งของตนทิ้ง รวมทั้งมีอีกหลายประเทศที่รอจังหวะ เข้ายึดครองคาร์โรลัสบอร์ยอยู่ ชาวเดนมาร์กเป็นคนกลุ่มแรกที่ทำสำเร็จ ในปี 1658 ชาวเดนมาร์กได้รับชัยชนะ จากการช่วยเหลือของนักรบเผ่า เฟตู สวีเดนและเดนมาร์กทำสงครามกัน แต่ก็สงบศึกกันไปในปี 1660 ตอนนี้สวีเดนก็ได้ป้อมปราการทาส กลับมาเป็นตัวเองแล้ว แต่กลายเป็นว่าผู้นำของเดนมาร์ก ที่เข้าไปยึดครองอยู่ก่อนหน้า ได้ขายมันให้กับชาวดัตช์ แล้วหายตัวไปพร้อมกับเงินที่ได้ ความระอาที่คนท้องถิ่นมีต่อชาวดัตช์ ส่งผลให้พวกเขาชิงเอาป้อมปราการคืนมา และขายมันให้กับสวีเดนอีกครั้ง สวีเดนใช้ป้อมปราการนั้นจนถึงปี 1663 เมื่อชาวดัตช์ยึดมันกลับไป หากไร้ซึ่งป้อมปราการทาสในแอฟริกาแล้ว การค้าทาสก็จะเกิดขึ้นได้ไม่มากนัก ซึ่งก็เป็นที่แน่นอนแล้วว่า ในช่วงศตวรรษที่ 18 สวีเดนได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกเหล็ก ที่สำคัญที่สุดของโลก คงต้องขอบคุณการค้าทาสเป็นการใหญ่แล้วสิ และไม่ใช่แค่เหล็กที่ใช้ทำปืนและโซ่นะ อังกฤษเองก็ต้องซื้อเหล็กเส้นจำนวนมาก ไปจากสวีเดนเช่นกัน พวกเขาใช้เหล็กในการซื้อทาส ซึ่งก็ใช้ได้เหมือนเงินในแอฟริกา เหล็กเส้นที่ใช้ในการค้าทาสจะ มีการขนาดพิเศษ และถูกสั่งทำขึ้นโดยเฉพาะ มันถูกเรียกว่าการเดินทางของเหล็ก เมื่อการค้าทาสดำเนินมาถึง ช่วงที่แข่งขันกันอย่างหนัก การส่งออกเหล็กของสวีเดน ในช่วงเวลาเพียงหนึ่งปี มีจำนวนถึง 954 ตัน ซี่งนั่นถือว่าหนักตั้ง 5 เท่าครึ่ง ของน้ำหนักปลาวาฬสีน้ำเงินเชียวนะ มันมากพอที่จะซื้อ ทาสได้จำนวนมากเลยทีเดียว ในปี 1784 กษัตริย์แห่งสวีเดน นามว่าพระเจ้ากุสตาฟที่ 3 ได้ซื้ออาณานิคมในหมู่เกาะเวสต์ อินดีส คือแซ็ง บาร์เตเลมี ชื่อเมืองหลวงของเกาะจึงถูก ตั้งขึ้นตามชื่อขององค์กษัตริย์ คือ เมืองกุสตาวียา ทว่าดินบนเกาะนั้นไม่พอต่อการ ทำการเกษตรขนาดใหญ่ กำไรที่ทำได้จึงมาจากการขายทาส และจากการที่ยอมให้ประเทศอื่นๆ ทำการขายทาสของตัวเองต่อได้บนเกาะนี้ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 การค้าทาสกลายเป็นสิ่งต้องห้าม ในหลายประเทศในแถบยุโรป ซึ่งสวีเดนเองก็ถูกกดดันให้ยุติ การค้าทาสนี้เหมือนกัน และยอมยุติทุกอย่างในปี 1813 แต่ถึงแม้การค้าทาสจะ เป็นสิ่งต้องห้ามไปแล้ว บนเกาะแซ็ง บาร์เตเลมีก็ยังอนุญาตให้ มีทาสเป็นของตัวเองได้อยู่ จนถึงปี 1845 ที่รัฐบาลสวีเดนได้ตกลงยอมยกเลิก ระบบทาสบนเกาะไป และ 2 ปีให้หลัง ทาสทุกคน ก็ถูกปล่อยให้เป็นอิสระ ดังนั้นสวีเดนจึงเป็นประเทศอันดับ ท้ายๆในยุโรป ที่ยอมล้มเลิกระบบทาส