
การปฏิวัติอเมริกา : งานเลี้ยงน้ำชาในบอสตัน

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
จริงหรือเท็จ? ที่บอสตันอยู่ในแมสซาชูเซตส์
ในเมืองบอสตัน ในรัฐอาณานิคมของอังกฤษ ที่มีชื่อว่าแมสซาชูเซตส์ เหล่าชาวพื้นเมืองกำลังรู้สึกไม่พอใจ พวกเขาคิดว่าภาษีที่ทุกคนต้องจ่าย ให้กับอาณาจักรบริเตนใหญ่ ที่ตั้งอยู่อีกฟากของมหาสมุทรนั้น มันมากเกินไป ทั้งยังคิดด้วยว่าพวกเขาไม่ ได้รับอนุญาตให้ตัดสินใจ เองว่าจะจัดการกับรัฐอาณานิคม ของตนด้วยวิธีไหน เกือบทุกอย่างที่เป็นไปล้วนเป็น การตัดสินใจของรัฐสภาในลอนดอนทั้งสิ้น พวกเขาต้องการให้มีผู้แทน จะไม่มีการจ่ายภาษี ถ้าไม่มีผู้แทน มีแต่เสียงตะโกนก้อง จะไม่มีการจ่ายภาษี ถ้าไม่มีผู้แทน จะไม่มีการจ่ายภาษี ถ้าไม่มีผู้แทน จะไม่มีการจ่ายภาษี ถ้าไม่มีผู้แทนในรัฐสภา และคำพูดนี้ได้กลายเป็นคติของชาวอาณานิคม บริเตนนั้นทำสงครามกับฝรั่งเศสอยู่ 7 ปี และถึงแม้ว่าพวกเขาจะชนะสงคราม แต่ก็สูญเงินไปมากมาย การทำสงครามนั้นต้องใช้เงินเยอะ และตอนนี้บริเตนก็ต้องการเงินเสียด้วย เพื่อทำให้เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้น พวกเขาจึงเพิ่มภาษี ทั้งในอาณาจักรของตัวเองและ ในรัฐอาณานิคมที่อยู่ในอเมริกา ไม่ใช่แค่ภาษีเท่านั้นที่ชาวอาณานิคม จะต้องจ่ายจนอ่วม อาณาจักรบริเตนใหญ่ที่เป็นมาตุภูมิ ยังคอยตัดสินใจด้วยว่า พวกเขาต้องค้าขายกับใคร รัฐอาณานิคมได้รับอนุญาตให้ขายสินค้า ให้กับบริเตนเท่านั้น และสิ่งที่พวกเขาจะซื้อได้ก็ต้องเป็น สินค้าที่ส่งมาจาก บริเตนอีกเช่นกัน พวกชาวอาณานิคมโกรธมาก และลุกฮือขึ้นต่อต้านอย่างดุเดือด จนในที่สุดบริเตนก็ต้องยอม และตัดเรื่องจ่ายภาษีและภาษีศุลกากรออกไป แต่พวกเขายังคงเก็บภาษีจากชา เพื่อให้รู้ว่ารัฐพวกนั้นยังถูกควบคุมอยู่ แต่สุดท้ายภาษีจากชาก็ถูกเอาตัด ออกไปเช่นกัน ทว่ามันสายไปเสียแล้ว ภาษีที่เก็บจากชา ได้กลายเป็นสัญลักษณ์การกดขี่ ข่มเหงของชาวอังกฤษ ที่ท่าเรือในเมืองบอสตัน มีเรือ 3 ลำที่บรรทุกชาไว้จนเต็มลำเรือ ชาวบอสตันนั้นอยากจะเอาชาพวกนี้ กลับไปขายให้กับอาณาจักรบริเตนใหญ่ พวกเขาไม่อยากซื้อชาจากพวกอังกฤษ แต่บุรุษที่มีสิทธิ์ตัดสินใจในรัฐอาณานิคม แมสซาชูเซตส์นั้นก็คือผู้ปกครองรัฐ ที่เข้าข้างอังกฤษและบอกทุกคนว่า ให้ขนชาลงจากเรือเพื่อนำมันไปขายต่อ มีการชุมนุมหนึ่งเกิดขึ้นในบอสตัน โดยมีซามูเอล อดัมส์เป็นผู้นำ คนหลายพันได้มารวมตัวกัน และเห็นพ้องต้องกันว่า เรือบรรทุกชาเหล่านี้ ควรไปให้พ้นจากบอสตันและกลับไป ที่อาณาจักรบริเตนซะ แต่ผู้ปกครองรัฐยังคงปฏิเสธ คืนหนึ่งหลังจากการชุมนุม กลุ่มของชาวเมืองบอสตัน ก็ได้ลอบเข้าไปที่อ่าว บางคนปลอมเป็นพวกอินเดียน พวกเขาขึ้นไปบนเรือพวกนั้น และทิ้งสินค้าที่บรรทุกลงเรือมา ซึ่งก็คือชาทั้ง 342 ลังลงไปในน้ำ ชื่อของเหตุการณ์นี้จึงถูกตั้งขึ้นมาว่า การเลี้ยงน้ำชาที่บอสตัน รัฐสภาในกรุงลอนดอนลงโทษ พวกเขาด้วยการปิดอ่าวบอสตัน ทั้งยังเพิกถอนสิทธิเดิมที่ชาวอาณานิคม มีอยู่อย่างจำกัดในการปกครอง ตนเองของพวกเขาออกไปด้วย ตอนนั้นเหล่าชาวอาณานิคม จึงไม่อาจทั้งส่งและรับสินค้าใด จากโลกภายนอกได้เลย เนื่องจากบริเตนได้เข้ามาจัดการทุกอย่าง หรือคิดทุกอย่างแทนพวกเขาหมดแล้ว การเลี้ยงน้ำชาที่บอสตัน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติอเมริกา ซึ่งมันไม่ได้มีแต่ชาวอาณานิคม ในแมสซาชูเซตส์เท่านั้น ที่ไม่พอใจกับการกระทำของบริเตน แต่ยังมีชาวอาณานิคมที่อื่นอีก 13 แห่ง ที่อยู่แถวชายฝั่งตะวันออกของอเมริกา ที่ตอนนี้ก็เริ่มบ่มเพาะความไม่พอใจ ไว้แล้วในอีก 12 แห่ง พวกเขาหยุดการซื้อ หรือจะเรียกว่า คว่ำบาตรสินค้าทุกอย่าง ของอังกฤษก็ได้ ทั้งนี้ชาวอาณานิคมยังทำ การเพาะปลูกไว้เพื่อทวงเอกราชคืนมาด้วย พวกเขาพึ่งพาตัวเองเพื่อเตรียมรบ อาณาจักรบริเตนส่งกองทัพเข้ามา ยังอเมริกาซ้ำแล้วซ้ำเล่า สถานการณ์ยังคงตึงเครียด และในวันที่ 19 เมษายน ปี 1775 การต่อสู้ครั้งแรกระหว่างชาวอาณานิคมกับ กองทัพอังกฤษก็ได้เริ่มขึ้น ที่เมืองเลกซิงตัน ในรัฐแมสซาชูเซตส์