
สมัชชาแห่งชาติและการสิ้นชีพของกษัตริย์

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
ช่วงเวลาหลังจากที่ราชวงศ์ฝรั่งเศสถูกล้มล้างนั้นเรียกกันว่าอะไร?
คุกบัสตีย์ในฝรั่งเศสล่มสลายไปแล้ว และตอนนี้ประเทศก็ถูกปกครองโดยสภา นิติบัญญัติแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ สมาชิกส่วนใหญ่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มาจากชนชั้นที่ร่ำรวยของพวก ฐานันดรที่ 3 พวกเขาเป็นพ่อค้า ทนายความ และแพทย์ แต่ก็มีขุนนางและนักบวชปะปนอยู่ รวมทั้งมีชนชั้นแรงงานอยู่ไม่กี่คน ตามถนนหนทางในปารีส จะมีทั้งแรงงานมากฝีมือและไร้ฝีมือ ที่กลายเป็นนักปฏิวัติที่มีอาวุธครบมือ พวกเขาสังหารข้าราชบริพารของกษัตริย์ ที่ไม่ได้หนีออกนอกประเทศ การจลาจลไม่ได้เกิดแค่ในปารีสเท่านั้น แต่ยังเกิดในอีกหลายที่ในฝรั่งเศส ชาวนาและช่างฝีมือที่รู้ว่า คุกบัสตีย์ถูกทลายแล้ว พวกเขาก็เผาปราสาท และฆ่าพวกขุนนางด้วย ขุนนางจำนวนมากหนีไปต่างประเทศ ขุนนางและนักบวชไม่กี่คน ที่เหลืออยู่ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พวกเขากลัวและถูกเหล่า ฐานันดรที่ 3 ตามคุกคาม ในคืนวันที่ 4 สิงหาคม ปี 1789 พวกเขายอมสละสิทธิ ทุกอย่างของตัวเองทิ้งไป ตอนนี้มี เพียงลายเซ็นของกษัตริย์ เท่านั้นที่ยังขาดอยู่ ทุกคนจะต้องจ่ายเงินภาษี และทุกคนจะอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไม่ชอบใจกับ การตัดสินของสภานิติบัญญัติแห่งชาตินัก เขาจึงปฏิเสธการลงนาม ผู้คนในปารีสต่างไม่พอใจกษัตริย์ การเดินขบวนประท้วงจึงเริ่มขึ้น พวกผู้หญิงประท้วงต่อความอดอยาก และผู้หญิงอีก 7,000 คนก็เดินขบวน ไปยังพระราชวังแวร์ซาย ที่ซึ่งกษัตริย์และมารี อองตัวเนต ราชินีของเขาอาศัยอยู่ พวกเขาต้องการให้กษัตริย์ ไปที่ปารีสด้วยกัน ผู้ประท้วงบางคนโกรธจัด จนถึงกับบุกเข้าไปหากษัตริย์ พวกเขาไม่ชอบกษัตริย์เลยจริงๆ แต่กับพระราชินีที่มาจากออสเตรียคนนี้ ใช้คำว่าเกลียดก็คงได้ เมื่อมีชาวบ้านบอกเธอเรื่อง ความหิวโหย สิ่งที่ราชีนีพูดกลับเป็นอีกอย่างไปเสีย "ถ้าไม่มีขนมปังกินก็ไปกินเค้กสิ" แต่ส่วนใหญ่แล้ว เธอแทบไม่พูดอะไรแบบนี้ กษัตริย์ต้องยอมแพ้และ ไปปารีสกับผู้ประท้วง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ร่างกฎหมายเพิ่มเติม เพื่อกำจัดการกดขี่ ของระบอบอองเซียงเรฌีม หรือระบอบเก่า ทุกสิ่งที่ขุนนางและศาสนจักรถือครอง จะต้องกลายเป็นของรัฐ คนงานในไร่นาในชนบทนั้นต่างพอใจ กับกฎหมายนี้ ตอนนี้พวกเขาไม่ต้องจ่ายภาษี ที่ไม่เป็นธรรมให้พวกขุนนางแล้ว พวกเขากลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมได้ นักบวชและบาทหลวงหลายคน พยายามอย่างเต็มที่เพื่อปกปิดความร่ำรวย ต่างกับพวกชาวเมือง คนงานในฟาร์มที่ดูจะไม่มีปัญหา อะไรกับเรื่องนี้ เพราะพวกเขาเคร่งครัดในศาสนาอย่างลึกซึ้ง และมีความไว้ใจในคริสตจักร ในปี 1791 สภานิติบัญญิติแห่งชาติลงมติว่า ฝรั่งเศสควรมีกษัตริย์ แต่อำนาจของกษัตริย์จะต้องถูกจำกัด พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เริ่มห่วง สวัสดิภาพของครอบครัวมากขึ้นเรื่อยๆ และในเดือนมิถุนายน ปี 1791 ทั้งครอบครัวได้พยายามหลบหนี แผนการหนีถูกเตรียมขึ้น โดยผู้ที่สนับสนุนราชินี เคานต์อักเซล ฟอน แฟร์เซน ผู้ที่กษัตริย์สวีเดนส่งมาอย่างลับๆ คือพระเจ้ากุสตอฟที่ 3 กษัตริย์และครอบครัวถูกพบ ระหว่างการหลบหนีและนำตัวกลับไปที่ปารีส ตอนนี้พระราชวังก็กลายเป็นคุกของพวก ราชวงศ์ ในปี 1792 กษัตริย์ได้ถูกสภานิติบัญญิติ แห่งชาติถอดถอน พวกเขาเปลี่ยนชื่อเป็น สมัชชาแห่งชาติ กษัตริย์แอบแสวงหาการสนับสนุน จากกษัตริย์องค์อื่นๆอย่างลับๆ รวมทั้งขุนนางที่หนีออกไปจากฝรั่งเศสแล้ว จดหมายบางฉบับที่เขาเขียนถูกพบ และประชาชนตัดสินว่ากษัตริย์มีความผิด ความผิดในสิ่งที่ไม่อาจบอกได้อย่างชัดเจน แต่ก็ถือว่าเขาผิด กษัตริย์ถูกตั้งข้อหากบฏ และถูกตัดสินประหารชีวิต ในเดือนมกราคม ปี 1793 รถม้าแล่นไปยังจตุรัสในกรุงปารีส พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 อยู่ในรถม้าคันนั้น ที่จตุรัสนั้นมีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ตั้งอยู่ มันคือเครื่องมือที่ทำขึ้นเพื่อทำให้ การประหารเป็นไปอย่างรวดเร็ว มันทั้งมีมนุษยธรรมและไร้ซึ่งความเจ็บปวด 'เครื่องกิโยติน' สุภาพชนทั้งหลาย เราต้องตายโดยไร้ความผิด มือกลอง เสรีภาพจงเจริญ! สาธารณรัฐจงเจริญ! แม้แต่มารี อองตัวเนต ก็ถูกกล่าวหาว่าขายชาติ และถูกประหารชีวิต ทั่วทั้งทวีปยุโรป บรรดากษัตริย์และขุนนาง ต่างหวาดกลัวและโกรธแค้น เมื่อรู้ว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกประหารชีวิต และชนชั้นขุนนางถูกล้มเลิกไป ถ้ามันเกิดขึ้นในฝรั่งเศสได้ มันก็อาจเกิดขึ้นที่นี่ได้เหมือนกัน หลังจากการประหารสมาชิกในราชวงศ์ ยุคแห่งความน่าสะพรึงกลัว ในฝรั่งเศสก็ได้เริ่มขึ้น มีคน 35,000 คน ถูกประหารชีวิต ในเวลาอันสั้น และไม่มีใครรู้ว่าใครจะเป็นรายต่อไป