
โลกาภิวัตน์และการเคลื่อนไหวของแรงงาน

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
ทำไมการประท้วงต่อเงื่อนไขการทำงานที่ย่ำแย่จึงไร้ประโยชน์?
การปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้นได้ เริ่มขึ้นที่บริเตน ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 โลกที่เปลี่ยนไปจะไม่เหมือนเดิม อีกตลอดกาล การพัฒนาด้านการเกษตรส่งผลให้ คนหลายแสนคน สุญเสียที่ดินและตกงาน พวกเขาบ่ายหน้าเข้าเมืองเพื่อหางานทำ ในอุตสาหกรรมเกิดขึ้น ชีวิตของแรงงานในวงการอุตสาหกรรม นั้นแสนยากลำบาก มันเป็นงานที่หนัก และค่าตอบแทน เพียงน้อยนิด เจ้าของโรงงานนั้นพอใจที่จะจ้าง แรงงานผู้หญิงและเด็ก ที่มีค่าแรงถูกกว่าผู้ชาย มันดีกับคนที่เป็นเจ้าของ ช่วงเวลาทำงานนั้นยาวนาน ผู้ชายนั้นจะทำงาน 12 ถึง 13 ชั่วโมงต่อวัน บางครั้งก็มากถึง 16 ชั่วโมง พวกผู้หญิงและเด็กจะทำงานน้อยกว่านั้น งานพวกนี้มักเป็นงานซ้ำซาก และมีความเสี่ยง มือของคนทำอาจเข้าไปติดอยู่ ในเครื่องจักรเอาได้ง่ายๆ คนงานในโรงงานหลายคนต้องเจ็บตัว ไปตลอดชีวิต ที่ทำงานที่อันตรายที่สุดก็คือ เหมืองแร่ถ่านหิน การใช้เครื่องจักรไอน้ำในการสูบน้ำ ขึ้นมาจากใต้ดิน ทำให้สามารถขุดลงไปได้ลึกมากกว่าเดิม และมีการผลิตถ่านหินเพิ่มมากขึ้น แต่มันก็เสี่ยงที่จะเกิดเหมืองถล่ม การขาดอากาศหายใจ และ แก๊สต่างๆ ที่มีพิษ คนงานในเหมืองแร่นั้นเป็นเด็ก เพราะในเหมืองนั้นแคบมากจนไม่มีใคร สามารถเข้าไปได้เลย พวกเขาจะเลี้ยงนกไว้ในกรงให้มัน คอยช่วย เช่น นกขมิ้น นกพวกนี้จะรับรู้ได้เร็วเมื่ออากาศ เริ่มขาดและเกิดแก๊สพิษ ถ้านกพวกนี้หมดสติ คนงานก็จะรู้ว่าพวกเขาต้อง ออกจากเหมืองแล้ว บางครั้งคนงานเหมืองก็ก่อประท้วง เรื่องเงื่อนไขการทำงานที่ไม่เป็นธรรม แต่มันก็ไม่ช่วยอะไร คนงานที่ประท้วงนั้นจะถูกไล่ออกไป และหาคนใหม่มาแทนที่ ส่วนคนที่ย้ายเข้าไปทำงานในเมือง ก็ต้องการที่อยู่ ในเมืองอุตสาหกรรมอย่างในลอนดอน และเมนเชสเตอร์ ชุมชนแออัดขนาดใหญ่หลายแห่งได้เกิดขึ้น ที่ซึ่งคนงานจะอาศัยอยู่ได้ ท่ามกลางสภาพที่แออัด ที่นี่ไม่มีทางระบายน้ำ และบนถนนแคบๆ ก็เต็มไปด้วยขยะ ขยะพวกนั้นดึงดูดหนูเข้ามา และมันก็นำมาซึ่งแมลงเล็กๆจำพวกเหา โรคภัยเริ่มระบาดออกไป ชีวิตที่ผิดสุขลักษณะของ พื้นที่หนึ่งในการทำงาน เป็นบ่อเกิดของอาการเจ็บป่วย ที่แพร่เชื้อออกไปอย่างรวดเร็ว มีคนล้มตายเพราะอหิวาตกโรค โรคไทฟอยด์ โรคขาดสารอาหาร โรคปอดบวม และแม้แต่การติดเชื้อทั่วไป ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 มีเด็กครึ่งหนึ่งในบริเตนที่ ต้องเสียชีวิตลงก่อนอายุครบห้าขวบ คนงานในโรงงานน้อยคนนักที่ จะมีชีวิตอยู่มากกว่า 30 ปี และสุดท้าย แรงงานพวกนั้น ก็ทนไม่ไหวอีกแล้ว พวกเขาก่อการประท้วง และเริ่มก่อจลาจล อีกทั้งยังจัดการการประท้วงนี้ ด้วยการปฏิเสธการทำงานด้วย พวกเขาหยุดงานประท้วง กลุ่มผู้ที่ออกมาต่อต้านนั้นถูกเรียก ว่าการเคลื่อนไหวด้านแรงงาน เจ้าของโรงงานไม่ชอบอะไรแบบนี้เลย พวกเขามั่นใจว่าการเคลื่อนไหวด้านแรงงาน จะกลายเป็นสิ่งต้องห้าม และกลุ่มคนงานที่ถูกจับได้ว่าเป็นผู้ก่อ การประท้วงก็ถูกตัดสินให้จำคุก แต่แรงงานเหล่านั้นก็ยังคงจัดการ ที่จะประท้วงต่อไปแบบลับๆ ด้วยความช่วยเหลือจากแรงงาน ที่แสดงตัวมารวมกลุ่มกัน พวกเขาได้ตั้งสหภาพแรงงานขึ้น แรงงานจากโรงงานสิ่งทอก่อตั้ง สหภาพแรงงานขึ้น คนงานเหมืองก็ก่อตั้งสหภาพของตน อาวุธที่สำคัญที่สุดของสหภาพแรงงานก็คือ การปฏิเสธการทำงาน การหยุดงานประท้วง แต่ต่อมาพวกเขาก็ไม่ได้ค่าจ้าง และเพื่อจัดการกับเรื่องที่เกิด สหภาพได้เก็บเงินจากสมาชิกทุกคนล่วงหน้า เพื่อนำมาเป็นกองทุนให้ผู้ประท้วง สหภาพเกิดใหม่นี้ได้รับการสนับสนุน จากศาสนจักร และหนังสือพิมพ์หลายฉบับก็เข้าข้าง กลุ่มแรงงานเหล่านี้ ในที่สุด รัฐสภาก็ยอมถอยให้ และมันก็กลายเป็นกฎหมายที่อนุญาตให้ บรรดาแรงงานจัดการตัวเองได้ เมื่อแรงงานทั้งหมดในทวีป ยุโรปรู้เรื่องนี้เข้า พวกเขาก็เริ่มตั้งสหภาพแรงงานขึ้นมา และเรียกร้องสิ่งที่ตนต้องการบ้าง ตอนนี้กฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับแรก ได้ถูกบัญญัติขึ้น ตัวอย่างเช่น ห้ามไม่ให้เจ้าของเหมืองส่งผู้หญิงและเด็ก อายุต่ำกว่าสิบขวบเข้าไปในเหมือง ในช่วงปี 1840 เป็นต้นไป มีแรงงานมากมายในสหภาพแรงงาน จนทำให้เจ้าของอุตสาหกรรมและนักการเมือง ต้องยอมทำตามความต้องการของพวกเขา ที่เรียกร้องเรื่องการเพิ่มค่าแรงและ เงื่อนไขในการทำงานที่ดีขึ้น การเคลื่อนไหวด้านแรงงานได้กลายเป็น แรงผลักทางการเมืองในสังคมตอนนี้ไปแล้ว แต่มันไม่ได้มีประโยชน์ กับพวกแรงงานเท่านั้น แต่เจ้าของโรงงานก็สังเกตว่าเมื่อ แรงงานได้ค่าแรงสูงขึ้น พวกเขาก็จะซื้อสินค้าของโรงงาน มากขึ้นไปด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ เงินก็จะไหลกลับเข้ามา ในกระเป๋าเจ้าของในไม่ช้าเช่นกัน ค่าแรงที่สูงขึ้นย่อมหมายถึงความเสี่ยงของ การหยุดงานประท้วงก็จะลดลง แนวคิดของการเคลื่อนไหวทางแรงงานนั้น เกี่ยวข้องกับชีวิตที่ดีขึ้น และมันก็จะเติบโตขึ้นเป็นทฤษฎีที่ สอดคล้องกัน ซึ่งเกี่ยวพันถึงวิธีการทำงานของสังคม ความยุติธรรม รวมทั้งความเป็นเจ้าของและสิทธิต่างๆ ที่ควรถูกแจกจ่ายอย่างทั่วถึง การเคลื่อนไหวทางแรงงานนี้ ยังกลายเป็นส่วนสำคัญ ของอุดมการณ์ทางการเมือง แบบสังคมนิยมด้วย