
ยุคเรืองอำนาจของพรรคนาซี : ค่ำคืนอันยาวนานของเหล่าอัศวิน

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
What did the Nazis do with books in Germany that did not support National Socialism?
ในปี 1933 ฮิตเลอร์และพวกนาซีได้เข้า ครองเยอรมันได้เกือบทั้งหมด ตอนนี้เหลือพรรคการเมือง อยู่เพียงพรรคเดียวแล้ว เพราะพรรคที่เหลือถูกตัดสิทธิทั้งหมด สื่อวิทยุและหนังสือพิมพ์เยอรมัน ยังถูกพวกนาซีควบคุมไว้ ทั้งยังคัดกรองข่าวที่จะออกอากาศ หรือเขียนลงไปในหนังสือพิมพ์ พวกเขาใช้อำนาจบังคับควบคุมสื่อ หนังสือทุกเล่มที่เขียนโดยนักเขียนชาวยิว ถูกห้ามไม่ให้เผยแพร่ และยังมีหนังสือของนักเขียน คนอื่นๆ อีกหลายเล่ม เช่น หนังสือของเออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ และ ออสการ์ ไวลด์ก็กลายเป็นสิ่งต้องห้ามด้วย พวกนาซีเชื่อว่าวรรณคดีทุกเรื่อง ควรสนับสนุนลัทธินาซี วรรณคดีอื่นๆอาจเป็นผลเสีย ต่อประชาชนและจักรวรรดิเยอรมัน ทั้งนี้ ยังมีภาพยนตร์และละครอีกมาก รวมไปถึงดนตรี ที่ถูกห้ามเผยแพร่ แม้จะมีการห้ามเผยแพร่วรรณกรรม แต่พวกนาซีก็ยังไม่พอใจอยู่ดี ในเดือนพฤษภาคมของปี 1933 สมาคมนักเรียนนาซี เริ่มทำการเผาหนังสือ โดยมีหน่วยเอสเอคอย อำนวยความสะดวกให้ ห้องสมุดวรรณกรรม ถูกทำลายลงอย่างราบคาบ กองไฟขนาดมหึมาถูกจุดขึ้นที่ มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ หนังสือที่เขียนโดยชาวยิว หรือหนังสือใดก็ตามที่ถือว่า เป็นภัยคุกคามได้ถูกนำมาเผา ซึ่งในการเผาหนังสือแห่งหนึ่ง ในกรุงเบอร์ลิน ได้ถูกโฆษณาชวนเชื่อโดย โจเซฟ เกิบเบิลส์ ที่ได้ปราศัยกับผู้ชมทั้ง 4 หมื่นคน เขาสรรเสริญนักเรียนผู้ซึ่ง กำลังเผาหนังสือว่า “ยุคที่เรืองรองของปัญญาชนชาวยิว ได้สิ้นสุดลงแล้ว” ตามถนนในเยอรมัน กองทหารสตอร์มทรูปเปอร์ของฮิตเลอร์ หรือหน่วยเอสเอ มีอยู่ในทุกๆที่ มันเริ่มจากการเป็นทหารหน่วยเล็กๆ ที่คอยดูแลการประชุมของนาซี ไปจนถึงการทำลายล้าง กับพรรคการเมืองอื่นๆ หน่วยเอสเอได้ขยายตัวขึ้น และมีทหารในหน่วยถึง 2 ล้านคน เรียกได้ว่าสตอร์มทรูปเปอร์นั้นมีขนาดใหญ่ กว่ากองกำลังทั้งหมดของเยอรมัน ซึ่งประกอบด้วยทหารเพียง 1 แสนนายเท่านั้น ชาวยิวและพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม มักถูกหน่วยเอสเอคุกคามและตามสังหาร หน่วยเอสเอจะคอยตรวจตรา จนแน่ใจว่าชาวยิวบนรถเมล์ จะยอมลุกขึ้นและสละที่นั่งให้กับ คนเชื้อสายอารยัน หรือชาวเยอรมัน กฎหมายใหม่ได้มีการห้ามชาวยิว ไม่ให้ทำงานในบางสาขาอาชีพ อีกทั้ง ไม่ได้รับอนุญาต ให้เข้าร่วมสมาคมกีฬา หรือว่ายน้ำในพื้นที่อาบน้ำสาธารณะ กฎหมายเหล่านี้จะถูกหน่วยเอสเอ ตรวจสอบถึงการบังคับใช้อยู่ตลอดเวลา แต่ดูเหมือนว่าจะไม่มีกฎหมายใด ที่สามารถบังคับใช้กับหน่วยเอสเอได้ พวกเขาสามารถทำทุกอย่างได้ตามใจ โดยไม่ต้องถูกปรับเมื่อก่อความเสียหาย เข้าจู่โจม หรือฆ่าใครตาย แต่ในที่สุด หน่วยเอสเอก็กลายเป็น ปัญหาของฮิตเลอร์ ความรุนแรงโหดร้ายของพวกเขา ไม่เพียงแต่ทำให้ชาวยิวกลัว แต่ชาวเยอรมันก็กลัวพวกเขาด้วย บรรดานายพลต่างก็เกรงกลัวอำนาจ ทางทหารที่หน่วยเอสเอได้มา และเจ้าของธุรกิจกลัวว่าหัวหน้า หน่วยเอสเอที่ชื่อ แอร์นส์ เริห์มจะมายึดบริษัท และมาคอยกำกับดูแลพวกเขา และพวกเขาก็คิดถูก เริห์มอยากเอาทหารของตัวเองเข้ามา แทนที่ทหารในกองทัพเยอรมัน และต้องการเข้ายึดครองบริษัท ฮิตเลอร์รู้ดีว่าถ้าตัวเขายังอยาก อยู่ในอำนาจ เขาต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากกองทัพ และผู้นำทางธุรกิจที่สามารถ ช่วยเหลือเขาในเรื่องการเงินได้ เหล่านายพลจากกองทัพ และแฮร์มันน์ เกอริง แม่ทัพแห่ง กองทัพอากาศได้ตำหนิฮิตเลอร์ และอยากให้เขายุบหน่วยเอสเอทิ้ง ฮิตเลอร์ยังลังเลอยู่ แอ็นสท์ เริห์มคือ 1 ใน เพื่อนเก่าแก่ที่สุดของฮิตเลอร์ และเป็นคนที่ช่วยให้เขา ขึ้นมามีอำนาจ แต่เส้นทางแห่งอำนาจไม่มีอะไร จะขัดขวางได้ ฮิตเลอร์พบทางแก้ปัญหา ในวันที่ 30 มิถุนายนของปี 1934 ฮิตเลอร์ส่งกองกำลังคุ้มกันส่วนตัว หน่วยใหม่ของเขา คือชุทซ์ชตัฟเฟิล หรือหน่วยเอสเอส เข้าจับกุมและสังหาร แอร์นส์ เริห์ม หัวหน้าหน่วยเอสเอ ฮิตเลอร์กล่าวหาว่าหน่วยเอสเอ พยายามก่อการปฏิวัติ และตัดสินโทษประหารผู้นำคนสำคัญ ของหน่วยเอสเอถึง 90 ชีวิต เหตุการณ์นี้เรียกว่า ”คืนแห่งมีดยาว” ไม่มีหน่วยเอสเออีกต่อไปแล้ว ชาวเยอรมันบางคนรู้สึกยินดี ที่หน่วยเอสเอถูกทำลายไปได้ ในขณะที่คนอื่นๆรู้สึกขวัญกระเจิง ต่อความรุนแรง ที่ฮิตเลอร์ได้กระทำต่อผู้ที่ ช่วยให้เขาขึ้นมามีอำนาจ สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนมากสำหรับ ชาวเยอรมันและโลกคือ ฮิตเลอร์ไม่ลังเลเลยที่จะใช้ ความรุนแรงและการฆาตกรรม เพื่อให้เป้าหมายของเขาบรรลุผล ในเดือนสิงหาคมของปี 1934 พอล วอน ฮินเดนเบอร์ก ประธานาธิบดี เยอรมันได้สิ้นชีพไป ดังนั้นฮิตเลอร์จึงได้เป็นทั้ง ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรี และถูกเรียกว่า ”ฟือเรอร์” หรือ ”ผู้นำ” ฮิตเลอร์ไม่เพียงแต่เป็น ผู้นำของประเทศเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้บัญชาการสูงสุด ของกองทัพเยอรมันด้วย 13 ปีหลังจากฮิตเลอร์กลายมาเป็น หัวหน้าพรรคของพรรคการเมืองเล็กๆ อำนาจทั้งหมดในเยอรมัน ก็ตกมาอยู่ที่เขาอย่างสมบูรณ์