
การรายงานทางวิทยาศาสตร์

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
เราเรียกการคาดการณ์ผลลัพธ์ของการทดลองว่าอย่างไร?
ไมเคิลและเจนนี่ได้ทำการทดลองไปแล้ว ว่าน้ำส้มหรือน้ำสับปะรด เปรี้ยวกว่ากัน แล้วตอนนี้พวกเขาก็ได้เขียนรายงานวิทยา ศาสตร์เกี่ยวกับการทดลองเป็นที่เรียบร้อย มาดูกันเถอะว่าพวกเขาเสนอรายงานนี้ ยังไง เริ่มจากข้อสังเกตุต่างๆที่พวกเขา จดไว้ระหว่างการทดลอง ยิ่งจดละเอียดเท่าไหร่ ก็ยิ่งเขียนรายงานง่ายขึ้นเท่านั้น หัวข้อบอกเราว่ารายงานนี้เกี่ยวกับอะไร เพื่อทำให้รายงานเข้าใจง่ายขึ้น เราต้องแบ่งรายงานเป็นส่วนต่างๆ การแบ่งส่วนนี้มีกฎง่ายๆอยู่ นี่คือวัตถุประสงค์ของการทดลอง เพื่อตรวจสอบว่าน้ำผลไม้ชนิดไหน เปรี้ยวกว่ากัน เจนนี่กับไมเคิลได้เดากันไว้แล้ว ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นยังไง นี่เรียกว่า สมมติฐาน ก่อนการทดลอง เจนนี่คิดว่าน้ำส้มเปรี้ยวกว่าน้ำสับปะรด ส่วนไมเคิลคิดว่าน้ำสับปะรดเปรี้ยวกว่า ในการทดลอง พวกเขาอยากจะทดสอบว่า สมมติฐาน ถูกต้องหรือไม่ ตรงนี้เรามีคำอธิบายว่าพวกเขา ทำการทดลองอย่างไร เรียกว่า กระบวนการ พวกเขาตรวจสอบความเปรี้ยวหรือความเป็นกรด ของน้ำสับปะรดสิบยี่ห้อ แล้วก็น้ำส้มยี่ห้อต่างๆอีกสิบยี่ห้อ เพื่อวัดความเปรี้ยว พวกเขาใช้เครื่องวัด ค่าพีเอช แล้วก็คำนวนค่าพีเอชเฉลี่ย ของน้ำทั้งสองชนิด นี่คือคำอธิบายง่ายๆสั้นๆ ทีนี้ มาดูผลลัพธ์กันเถอะ ดูจากค่าที่วัดได้ น้ำส้มมีค่าพีเอชสามจุดห้า ส่วนน้ำสับปะรดมีค่าพีเอชมากกว่าคือ สามจุดแปด ในส่วนของการอภิปรายผล เราสามารถแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับการทดลองได้ บางทีอาจจะมีปัจจัยอื่นๆที่ส่งผล ต่อผลลัพธ์ก็เป็นได้ หรือบางที อาจจะมีกระบวนการทดลอง อื่นๆ? ข้อสรุปจะย้อนกลับไปพูดถึงสมมุติฐาน ในการทดลองของพวกเขา น้ำส้มเปรี้ยวกว่าน้ำสับปะรด สมมุติฐานของเจนนี่นั้นถูกต้อง รายงานมีโครงสร้างแบบนี้ หัวข้อ วัตถุประสงค์ สมมุติฐาน... กระบวนการ ผลลัพธ์ และ การอภิปรายผล ... และข้อสรุป ตอนท้ายของรายงาน เจนนี่กับไมเคิลใส่ตาราง ที่แสดงค่าที่วัดได้ไว้ และพวกเขายังวาดแผนภาพไว้อีกด้วย เยี่ยมมาก! แบบนี้รายงานยิ่งดีขึ้นไปอีก!