แหล่งความร้อนในห้องปฏิบัติการเคมี
ทำไมเราต้องใช้ความร้อนกับสิ่งต่างๆเมื่อปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการเคมี?
โทษนะ ทำอะไรอยู่เหรอ? ทำให้นี่ร้อนไง แบบที่เธอบอกหน่ะ โอย ฉันไม่ได้บอกให้ใช้เทียนไขซะหน่อย! แบบนี้คงต้องใช้เวลาเป็นชาติ! ในการทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี เราต้องทำให้ส่วนผสมร้อน มา! เดี๋ยวจะโชว์วิธีต่างๆในการ ทำให้ส่วนผสมร้อนให้ดู! เทียนไขไม่น่าจะเป็นแหล่งความร้อนที่ดี เท่าไหร่ เพราะมันให้ความร้อนแค่นิดเดียว นอกจากนี้ มันยัง ปล่อยสารตกค้างสีดำๆไว้ด้วย เรียกว่าเขม่า ถ้าเราไม่ต้องการเขม่า เราควรใช้ ตะเกียงแอลกอฮอล์ ที่ทำงานโดยการเผาของเหลวไวไฟ มันให้เปลวไฟที่ร้อนพอๆกับเทียนไข แต่ไม่มีเขม่า! มันต้องการเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ ดังนั้น เราจึงต้องแน่ใจว่าตะเกียงใช้ เชื้อเพลิงแบบไหน เราจะได้เติมตอนที่มันใกล้หมด แต่ว่า ต้องเติมเชื้อเพลิงเฉพาะเวลาที่ ตะเกียงเย็นแล้วเท่านั้นนะ ไม่อย่างงั้นอาจจะเกิดเป็น... ใช่แล้ว เปลวไฟขนาดใหญ่! นี่คือแหล่งความร้อนที่ดีที่สุดในห้อง แล็บ มันเผาก๊าซไวไฟ ที่เดินทางผ่านท่อข้างๆนี่ มันถูกคิดค้นขึ้นในช่วงปี 1850 โดยนักเคมีชาวเยอรมันชื่อว่า โรแบร์ท บุนเซิน เราเรียกสิ่งนี้ว่าตะเกียงบุนเซิน ตะเกียงบุนเซินมีเปลวไฟที่ร้อนที่สุด มันสามารถปล่อยความร้อนได้มากกว่า หนึ่งพันองศาเซลเซียส สิ่งที่ทำให้มันใช้สะดวก คือการที่เราสามารถปรับปริมาณของอากาศ ที่ทำให้เกิดเปลวไฟได้ แถมยังปรับปริมาณของก๊าซได้อีกด้วย อากาศน้อย เมื่อเราต้องการเปลวไฟที่ไม่ ร้อนมาก อากาศมาก เมื่อเราต้องการเปลวไฟที่ร้อน ก๊าซน้อย สำหรับเปลวไฟขนาดเล็ก ก๊าซเยอะ สำหรับเปลวไฟขนาดใหญ่ แต่เดี๋ยวก่อน! ทำไมไม่ใช้เตาธรรมดาล่ะ? ในการทดลองเคมี เรามักจะใช้ ภาชนะเล็กๆในการทำความร้อน ดังนั้น ความร้อนจากเตาส่วนมาก จึงแพร่กระจายไปในอากาศเฉยๆ และถ้าเป็นเตาไฟฟ้า มันก็จะไม่สามารถให้ความร้อนได้เร็ว เท่ากับตะเกียง แถมเรายังเปลี่ยนอุณหภูมิเร็วเท่าตะเกียง ไม่ได้อีกด้วย สรุปแล้ว ควรใช้แหล่งความร้อนอันไหนล่ะ? อืม...มันขึ้นอยู่กับการทดลอง ถ้าไม่แน่ใจ ก็ถามคุณครูได้เสมอ ระวัง! หรือทำให้แน่ใจว่ามีผู้เชี่ยวชาญอยู่ ใกล้ๆ!