พันธะและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล
อะตอมสามารถดึงดูดกันได้
อะตอมสามารถดึงดูดกันได้
อะตอมส่วนใหญ่จะมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่าใดเมื่อมันพยายามจะอยู่ในเปลือกอิเล็กตรอนชั้นนอกสุด?
เราทุกคนล้วนต่างกัน บางคนชอบสังสรรค์กับเพื่อนเยอะๆ บางคนชอบอยู่คนเดียว ส่วนบางคนชอบอยู่กับแค่เพื่อนซี้เท่านั้น ไม่สังสรรค์กับคนอื่นๆเลย อะตอมก็เหมือนกัน อาร์กอนชอบอยู่คนเดียว อะตอมโลหะ เช่นเหล็ก ชอบรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่ๆ เป็นพันล้านตัว ในขณะที่ อะตอมของไนโตรเจนชอบอยู่ด้วยกันสองตัว แต่อะไรกันนะ ที่เป็นตัวกำหนดว่าอะตอม แต่ละตัวชอบเข้าสังคมขนาดไหน? ก็อิเล็กตรอนในเปลือกอิเล็กตรอนชั้นนอกสุด ยังไงล่ะ วาเลนซ์อิเล็กตรอนหน่ะ ถ้าอะตอมมีอิเล็กตรอนแปดตัวในเปลือก วาเลนซ์ มันก็จะพอใจและเสถียร มันไม่ต้องไปพัวพันกับตัวอื่นๆ ก๊าซอาร์กอนเป็นเป็นตัวอย่างหนึ่ง ของอะตอมแบบนี้ เลขแปดเป็นเลขพิเศษในโลกของ อะตอม อะตอมต้องการจะมีวาเลนซ์อิเล็กตรอน แปดตัวเสมอ เราเรียกสิ่งนี้ว่า กฎออกเตต อะตอมในโลหะต่างๆ ต้องกำจัดอิเล็กตรอนออกไป เพื่อที่จะมีอิเล็กตรอนแปดตัว ในเปลือกอิเล็กตรอนชั้นนอกสุด เมื่อพวกมันทำแบบนั้น อิเล็กตรอนที่โดนทิ้งจึงวิ่งวนไปมา ไม่ได้เป็นอิเล็กตรอนของอะตอม ตัวใดตัวหนึ่ง สิ่งนี้ทำให้อะตอมโลหะอยู่ติดกันเป็น พันล้านตัว อย่างเช่นอะตอมเหล็กเหล่านี้ วาเลนซ์อิเล็กตรอนทำตัวเหมือนกาว ที่คอยยึดอะตอมโลหะเข้าด้วยกัน ต่อมา ยังมีอะตอมที่ต้องการอิเล็กตรอน เพิ่ม เพื่อที่จะมีอิเล็กตรอนครบแปดตัว ในเปลือกชั้นนอกสุด พวกมันใช้วิธีที่แตกต่างออกไป พวกมันสร้างพื้นที่เล็กๆขึ้นมา ซึ่งเป็นที่ๆพวกมันใช้วาเลนซ์อิเล็กตรอน ร่วมกัน แตกต่างจากกรณีของโลหะ ที่อิเล็กตรอนไม่เป็นของอะตอมตัวไหนเลย อิเล็กตรอนเหล่านี้เป็นอิเล็กตรอน ของอะตอมทั้งสอง อะตอมกลุ่มเล็กๆเหล่านี้เรียกว่า โมเลกุล โมเลกุลอาจจะประกอบด้วย อะตอมสองตัว สามตัว สี่ตัว ... หรือหลายพันตัว ดังนั้น โมเลกุลคืออะตอมกลุ่มเล็กๆ ที่อยู่ติดกัน โมเลกุลอาจประกอบไปด้วยอะตอมของ ธาตุๆเดียว อย่างเช่นโมเลกุลไนโตรเจน หรือโมเลกุลกำมะถัน หรือมันอาจจะประกอบไปด้วยอะตอมหลายๆ ธาตุ เช่นโมเลกุลน้ำ เมื่อธาตุต่างๆรวมตัวกันเป็นโมเลกุล พวกมันได้สร้างสารประกอบใหม่ขึ้นมา น้ำนั้น ไม่ใช่ส่วนผสมระหว่างออกซิเจน และไฮโดรเจน แต่มันคือสารประกอบเคมีที่เกิดจากธาตุทั้ง สอง สารประกอบมักจะมีคุณสมบัติต่างจาก ธาตุที่สร้างมันขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่นโซเดียมคลอไรด์ หรือ เกลือแกงนั่นเอง โซเดียมเป็นโลหะที่กัดกร่อน ส่วนคลอรีนก็ เป็นก๊าซพิษที่มีฤทธิ์กัดกร่อน แต่พอเอามารวมกันเป็นสารประกอบ พวกมันจะไม่เป็นอันตรายเลย โมเลกุลบางโมเลกุลยึดติดกันหลวมๆ พวกมันสามารถแยกออกจากกันได้ง่ายๆ หรืออาจจะแลกเปลี่ยนอะตอมกับโมเลกุล อื่นๆได้ โมเลกุลอื่นๆเสถียรกว่านั้น เมื่ออะตอมเหล่านี้มารวมตัวกันแล้ว มันก็จะอยู่ในโมเลกุลนั้นต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับเพื่อนซี้ ที่ตัวติดกันตลอดเวลา แล้วทำไมอะตอมในอาร์กอนชอบ อยู่คนเดียวล่ะ? เพราะมันมีอิเล็กตรอนในเปลือกชั้นนอกสุด ครบแปดตัวแล้วยังไงล่ะ ทำไมอะตอมเหล็กชอบอยู่ด้วยกันเป็น กลุ่มหรอ? เพราะมันไล่อิเล็กตรอนบางตัวออกไป แล้วอิเล็กตรอนที่วิ่งไปมาเหล่านี้ ก็คอยยึดอะตอมเหล็กไว้ด้วยกันเหมือนกาว ทำไมอะตอมไนโตรเจนชอบทำตัวเหมือน เพื่อนซี้ ที่ตัวติดกันและไม่สนใจคนอื่นล่ะ? เพราะว่าพวกมันได้สร้างโมเลกุลขึ้นมา ซึ่งเป็นที่ๆพวกมันใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน ในทั้งสามกรณีนี้ อะตอมประพฤติตัวแบบนี้ เพราะพวกมันต้องการ ที่จะมีอิเล็กตรอนแปดตัวในเปลือก ชั้นนอกสุด นี่หมายความว่าพวกมันพอใจแล้ว และไม่อยากเล่นกับคนอื่น เสียใจด้วยนะลีออน!