
โมเลกุลที่มีพันธะโคเวเลนต์

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
ถ้าอะตอมแบ่งอิเล็กตรอนออกมา 2 ตัว พันธะที่เราได้จะเป็นแบบใด?
ส่วนใหญ่แล้ว อะตอมจะไม่อยู่ตัวเดียว มันมักจะอยู่ติดๆกัน บางที ก็ติดกันเป็นผลึกขนาดใหญ่.... ...บางที ก็ติดกันเป็นหน่วยเล็กๆกว่านั้น ที่เรียกว่า โมเลกุล ทำไมพวกมันถึงติดกันเป็นโมเลกุลนะ? เพราะอิเล็กตรอนยังไงล่ะ โดยเฉพาะอิเล็กตรอนในเปลือกชั้นนอกสุด วาเลนซ์อิเล็กตรอนยังไงล่ะ อะตอมที่มีอิเล็กตรอนเกือบครบแปดตัว ในเปลือกวาเลนซ์ ต้องการอิเล็กตรอนเพิ่มให้ครบ แปดตัว ถ้ามีอะตอมอีกตัว ที่อยากจะกำจัด อิเล็กตรอนของมันออก เราจะได้ไอออนลบและไอออนบวก ไอออนเหล่านี้ดึงดูดกันและกัน และสร้างผลึกขนาดใหญ่ที่มีไอออนเป็น พันล้านตัว แต่สิ่งนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่ออะตอม ตัวหนึ่งต้องการอิเล็กตรอนเพิ่ม ในขณะที่อะตอมอีกตัว อยากจะกำจัด อิเล็กตรอนออกไป แล้วถ้าอะตอมทั้งสองตัวอยากได้อิเล็กตรอน เพิ่ม แต่ไม่มีตัวไหนอยากกำจัดอิเล็กตรอน ออกเลยล่ะ? มีทางออกง่ายๆอยู่ พวกมันสามารถร่วมมือกัน อะตอมสองตัวนี้อยากได้อิเล็กตรอนเพิ่ม แต่ไม่มีตัวไหน อยากกำจัดอิเล็กตรอน ออกไปเลย อย่างไรก็ตาม พวกมันสามารถแบ่งปัน อิเล็กตรอนให้กันและกันได้ มานับอิเล็กตรอนในเปลือกชั้นนอกสุด ของแต่ละอะตอมกันเถอะ 1 2 3 4 5 6 7 ....8 อะตอมตัวนี้ มีอิเล็กตรอนแปดตัวใน เปลือกชั้นนอกสุด เท่าที่มันอยากได้เลย! แล้วอีกตัวล่ะ: 1 2 3 4 5 6 7 .. 8 . อะตอมตัวนี้ ก็มีอิเล็กตรอนชั้นนอกสุด แปดตัวเช่นกัน การใช้อิเล็กตรอนตัวหนึ่งร่วมกัน ทำให้อะตอมทั้งคู่ มีอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้นอีกตัว โดยที่ไม่มีอะตอมตัวไหน ต้องเสียสละอิเล็กตรอนของตัวเองออกไป ตราบใดที่อะตอมทั้งสองอยู่ใกล้กัน อิเล็กตรอน 'คู่' นี้ ก็เป็นอิเล็กตรอนของอะตอมทั้งสองตัว อิเล็กตรอนที่ถูกใช้ร่วมกันเหล่านี้ ได้สร้างพันธะเคมี ระหว่างอะตอมทั้งสอง ขึ้นมา โดยมีสัญลักษณ์เป็นเส้นตรงแบบนี้ อะตอม ได้สร้าง โมเลกุล ขึ้นมา พันธะ ที่อยู่ในโมเลกุลระหว่าง อะตอมทั้งสองนี้ เรียกว่าพันธะโควาเลนต์ เนื่องจากอะตอมเหล่านี้ ต้องการอิเล็กตรอน เพิ่มขึ้นเพียงหนึ่งตัว พวกมันจึงสร้างพันธะโควาเลนต์ได้แค่หนึ่ง พันธะ นี่คืออะตอมที่มีอิเล็กตรอนหกตัวใน เปลือกชั้นนอกสุด เพื่อที่จะมีครบแปดตัว มันต้องการอิเล็กตรอนเพิ่มอีกสองตัว ทางออกหนึ่ง คือการสร้างพันธะโควาเลนต์กับ อะตอมอีกสองตัว ถ้าเรานับอิเล็กตรอนทั้งหมดอีกครั้ง เราจะมี: อิเล็กตรอนสองตัวในพันธะนี้ และอีกสองตัวในพันธะนี้ อีกสี่ตัว ไม่อยู่ในพันธะใดๆ ทั้งหมด มีแปดตัว อะตอมขาดอิเล็กตรอนไปสองตัว มันจึงต้องสร้างพันธะขึ้นมาสองพันธะ แต่ยังมีอีกวิธีหนึ่ง ถ้าอะตอมใช้อิเล็กตรอนร่วมกันสองตัว แทนที่จะใช้ตัวเดียว มันจะส้รางพันธะคู่ขึ้นมา พันธะคู่ มีอิเล็กตรอนสองคู่ และแข็งแรงกว่าพันธะเดี่ยว แล้วถ้าเรามีวาเลนซ์อิเล็กตรอน ห้าตัวล่ะ? เราต้องสร้างพันธะกี่อันหรอ? พันธะเดี่ยวสามพันธะ หรือ พันธะสาม ซึ่งแข็งแรงกว่าพันธะคู่ซะอีก สรุปแล้ว ตอนนี้เรารู้ว่า อะตอมสร้างโมเลกุลขึ้นมา จากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน ในพันธะโควาเลนต์ เมื่อทำแบบนี้ มันจะสามารถเพิ่มจำนวน อิเล็กตรอนในเปลือกชั้นนอกสุด โดยที่ไม่มีอะตอมตัวไหนต้องเสียสละ อิเล็กตรอนของมันออกไปเลย อะตอม จะมีอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้นหนึ่งตัวต่อ การสร้างพันธะหนึ่งพันธะ นอกจากนี้มันยังสามารถสร้าง พันธะคู่และพันธะสามได้อีกด้วย เป้าหมายของมัน คือการมีวาเลนซ์อิเล็กตรอน ครบแปดตัว