วิธีป้องกันการเกิดสนิม
สนิมคืออะไร?
แย่จัง ดูเหมือนจักรยานคันนี้ จะถูกทิ้งไว้ข้างนอกนานไปหน่อย ส่วนที่เป็นโลหะจึงผุเป็นรู และแตกตัว กลายเป็นสีนํ้าตาล มันถูกสนิมกินแล้วล่ะ หรือที่ทางเคมี เรียกกันว่ามันเกิดการกัดกร่อนนั่นแหละ มีปัจจัยอยู่ 3 ข้อด้วยกันที่จะทำให้ โลหะเป็นสนิมได้ ปัจจัยแรกคือเหล็ก ซึ่งเป็น ส่วนประกอบหลักของโลหะ ปัจจัยต่อมาคือออกซิเจน ที่มีอยู่มากมายในอากาศ ทั้งยังมีน้ำนิดหน่อยเป็นปัจจัยสุดท้าย น้ำไม่ใช่ส่วนผสมที่ทำให้เกิดสนิมหรอกนะ แต่ธาตุเหล็กจำต้องอาศัยน้ำเป็นตัว ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน มีหลายวิธีเหมือนกันที่จะ ป้องกันไม่ให้โลหะขึ้นสนิม และวิธีที่ง่ายที่สุดที่เราทำได้ก็คือ เคลือบโลหะด้วยสีหรือแลคเกอร์เคลือบเงา การทำแบบนี้จะช่วยไม่ให้ออกซิเจนและน้ำ เข้าไปสัมผัสกับธาตุเหล็กในโลหะ ตราบใดที่สียังคงเคลือบโลหะนั้นอยู่ จะไม่มีสนิมขึ้นที่จักรยานคันนี้แน่ เพราะอากาศจะแทรกผ่านเข้าไปไม่ได้ ทว่าหากมีรอยข่วนเล็กๆเกิดขึ้นที่โลหะนั้น ก็สามารถทำให้ออกซิเจน และความชื้นผ่านเข้าไปได้ และเกิดสนิมที่โลหะแม้เพียงครั้งเดียว มันก็จะเกิดขึ้นอีก สนิมที่เกิดจะขยายตัวออกไป จนทำให้สีที่เคลือบไว้ลอกออกมา รูพรุนที่เกิดขึ้นจากสนิม จะทำให้ออกซิเจนและความชื้นเข้าไปได้ เป็นเหตุให้สนิมเริ่มกินพื้นที่ ของโลหะนั้นมากขึ้นไปเรื่อยๆ บางส่วนของจักรยานที่เคลื่อนที่ได้ ยังคงมีการเสียดสีกันอยู่ เช่น ส่วนของโซ่และเกียร์ ถ้าจะดีเราควรหยอดน้ำมัน หรือจาระบีลงไป เพื่อกันไม่ให้น้ำและอากาศเข้าไป สัมผัสมันเข้า แต่ดูที่สลักเกลียวที่อยู่ตรงนี้สิ มันไม่ได้ถูกเคลือบสี หรือ หยอดจาระบีเอาไว้ด้วยซ้ำ แต่ทำไมมันถึงไม่เป็นสนิมล่ะ ก็เพราะสลักเกลียวชิ้นนี้ ทำมาจากสแตนเลสน่ะสิ สแตนเลสเป็นโลหะที่เจือปนกับสิ่งอื่น หรือที่เรียกว่าโลหะผสม ซึ่งโลหะที่ใส่เพิ่มลงไป และเป็นตัวที่ทำให้สนิมไม่เกิดขึ้น ก็คือโครเมี่ยม แต่ข้อเสียของสแตนเลสก็มีอยู่นะ นั่นคือมันกร่อนได้เหมือนกับเหล็กนั่นแหละ แต่ไม่ได้มีสนิมเป็นตัวการหรอก การกร่อนของสแตนเลสจะไม่ผุเป็นรู แต่การกร่อนที่เกิดจากตัวมันเอง จะก่อให้เกิดความหนาเพื่อจะได้ ป้องกันอากาศหรือละอองน้ำ ไม่สามารถแทรกผ่านไปได้ ดังนั้นวิธีที่ดีกว่าคือใช้โครเมี่ยม เคลือบไว้เพื่อป็องกันสนิม โครเมี่ยมเคลือบไว้บางๆ แฮนด์จับของจักรยานและท่อรถมอเตอร์ไซด์ ก็มักถูกเคลือบเอาไว้ด้วยโครเมี่ยม พวกมันคือแผ่นโครเมี่ยมนั่นเอง ยังมีวิธีป้องกันสนิมอยู่หลายวิธี และนี่ก็เป็นอีกวิธีที่ไม่มีการนำ ไปใช้กับจักรยานเลยสักครั้ง จำได้ไหมว่าการกร่อนนั้น เป็นปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี ซึ่งเริ่มต้นมาจากที่เหล็กได้ปล่อย อิเล็กตรอนออกไปให้ออกซิเจน เพื่อไม่ให้ออกซิเจนมาแย่งเอา อิเล็กตรอนไปจากเหล็ก ดังนั้นเราจึงใส่โลหะอีกตัว ที่สามารถปล่อยอิเล็กตรอนได้มากกว่า ซึ่งสังกะสีคือโลหะตัวนั้น สังกะสีถือว่าเป็นธาตุที่แย่มาก ในการเก็บอิเล็กตรอน ดังนั้นจึงมีการนำแท่งสังกะสีไปไว้บนเรือ โดยนำไปวางติดไว้กับเหล็ก ถ้าออกซิเจนในน้ำเริ่มเข้าไปแย่ง อิเล็กตรอนจากเหล็กขึ้นมาเมื่อไหร่ สังกะสีจะปล่อยอิเล็กตรอนของตัวมัน เข้าไปทดแทน ดังนั้นสังกะสีจึงผุกร่อนไปแทนเหล็ก ด้วยเหตุนี้เอง แท่งสังกะสีนี้จึงถูก เรียกว่าโลหะกันกร่อน แท่งกันกร่อนนี้จะทำหน้าที่ปล่อย อิเล็กตรอนออกไป แต่เราจะมาพูดเรื่องนี้กันทีหลัง วิธีที่ว่านี้สามารถนำไปใช้ กับของเล็กๆ เช่นพวกตะปูได้อย่างสบาย โดยเราจะเอาสังกะสีมาเคลือบตะปูเอาไว้ ซึ่งตะปูที่เคลือบไว้แล้วจะถูกเรียกว่า ตะปูบุโลหะ โดยทั่วไป เราจะเรียกเหล็กที่กร่อนแล้ว ว่ามันเป็นสนิม และปัจจัย 3 ข้อที่ทำให้เกิดสนิมก็คือ เหล็ก ออกซิเจน และน้ำ และนี่ก็คือวิธีป้องกันสนิม ข้อแรกคืออย่าให้อากาศและน้ำเข้าไป สัมผัสกับเหล็ก ข้อสองคือผสมโครเมี่ยมลงไปในโลหะนั้น ซึ่งมันจะทำให้ไม่มีการกร่อนเกิดขึ้น และข้อสามคือเอาเหล็กติดเข้ากับแท่งโลหะ ที่มีคุณสมบัติสละอิเล็กตรอนของตัวเองได้ ก่อนที่เหล็กจะทำหน้าที่นั้น