ปฏิกิริยาเคมี
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
ปฏิกิริยาเคมี : สมการเคมี
ปฏิกิริยาเคมี : สมดุลสมการเคมี
วิธีการแสดงปฏิกิริยาเคมี
วิธีการแสดงปฏิกิริยาเคมี
ถ้ามีเครื่องหมายบวกที่ด้านซ้ายมือของปฏิกิริยาเคมีนั้นหมายความว่าอย่างไร?
แป้ง น้ำตาล ผงฟู น้ำมันพืช และไข่ ล้วนเป็นส่วนผสมที่ทำให้เค้กของเราอร่อย และที่ขาดไม่ได้ก็คือความร้อน ซึ่งในสูตรขนมนั้น จะบอกปริมาณส่วนผสมไว้ให้เรา ในลักษณะเดียวกันนี้เอง เราก็สามารถเขียนสูตรการเกิด ปฏิกิริยาเคมีพวกนี้ได้ ถ้าเราเอาอะตอมของไฮโดรเจนมา 4 อะตอม มันจะมีอะตอมอยู่ข้างละ 2 อะตอมดังภาพ และถ้าเพิ่มอะตอมของออกซิเจน เข้าไปอีก 2 อะตอม บวกกับความร้อนเข้าไปอีก และนี่ไง สิ่งที่ได้ก็คือ น้ำ นั่นเอง เรามักเรียกสารที่ทำให้เกิดปฏิกิริยา ว่าตัวทำปฏิกิริยา และเรียกผลลัพธ์ที่ได้นั้นว่า ผลิตภัณฑ์ แต่ถ้าเราอยากแสดงการเกิดปฏิกิริยาเคมี ด้วยวิธีอื่นที่ไม่ใช่การใช้รูปมาสื่อล่ะ จริงๆแล้วก็มีภาษาพิเศษ ที่ใช้ในการแสดงปฏิกิริยาเคมีอยู่นะ มันคือการใช้ตัวย่อที่เป็นสัญลักษณ์ ของธาตุไงล่ะ โดยเราสามารถหาและจำมันได้จาก ตารางธาตุ ตัวอย่างเช่น สัญลักษณ์ H ก็จะเป็นตัวแทนของธาตุไฮโดรเจน O แทนธาตุออกซิเจน Cl แทนธาตุคลอรีน และ Ba แทนธาตุแบเรียม ตอนนี้เรามีไฮโดนเจนอยู่ 2 อะตอม ซึ่งเขียนแทนด้วย 2 H แต่อะตอมของไฮโดนเจนจะไม่อยู่โดดเดี่ยว อะตอมของมันจะแนบติดกันเป็นคู่เสมอ ดังนั้นเราจึงเขียนแทนมันได้ โดยเอาตัวเลขลงไปห้อยไว้ข้างหลัง สัญลักษณ์แทนธาตุแบบนี้ H 2 ทีนี้ก็ได้เวลาที่จะแสดงให้ดูกันแล้วว่า สารแต่ละตัวนั้น มีส่วนในการเกิดปฏิกิริยาเคมีอย่างไร ตอนแรกนั้น เรามีไฮโดรเจนอยู่ 2 โมเลกุล จากนั้นก็ใส่เครื่องหมายบวกเข้าไป เพื่อให้รู้ว่าธาตุตัวอื่น ก็มีส่วนในการเกิดปฏิกิริยาด้วยเหมือนกัน ออกซิเจนที่เรามีอยู่คือ 1 โมเลกุล แต่ไม่ต้องใส่เลข 1 ลงไปข้างหน้าธาตุหรอก จากนั้นจึงแสดงทิศทางการเกิดปฏิกิริยาลงไป ด้วยลูกศรแสดงการเกิดปฏิกิริยา และสิ่งที่ได้ออกมาก็คือ น้ำ โดยเราจะเขียนแทนด้วย H 2 O และต่อไป เราต้องเขียนแสดงให้เห็นว่า น้ำที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยานี้มีกี่โมเลกุล คำตอบคือ 2 โมเลกุลนั่นเอง ทีนี้ลองมาทำให้มันซับซ้อนขึ้นอีกนิดนะ เราจะทำให้ธาตุแบเรียม หรือ Ba ทำปฏิกิริยากับน้ำ หรือ H2O ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ แก๊สไฮโดรเจน และแบเรียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งอะตอมแต่ละตัวของแบเรียมนั้น จะต้องใช้โมเลกุลของน้ำเพิ่มเป็น 2 เท่า ทำไมเป็นแบบนั้นล่ะ เหตุผลก็คือถ้าต้องการสร้างโมเลกุล ของโฮโดรเจนขึ้นมา เราต้องใช้ธาตุไฮโดนเจน 2 อะตอม และแบเรียมไฮดรอกไซด์เองก็ต้องใช้ ไฮดรอกไซด์ 2 ไอออน ฉะนั้นเราจึงไม่อาจขาดธาตุในวงเล็บได้เลย เพราะถ้าไม่มีมันแล้ว เราก็จะมีแค่ ออกซิเจนคือ O เพียงตัวเดียว และมีไฮโดรเจน คือ H อยู่ 2 ตัวแค่นั้น สิ่งที่ธาตุในวงเล็บบอกเราก็คือ มันมีออกซิเจนและไฮโดรเจนอยู่ อย่างละ 2 ตัว บางครั้งเราก็ต้องเขียน รายละเอียดพวกนี้ลงไป ถ้าสารพวกนั้นอยู่ในรูปของแข็ง ของเหลว หรือว่าแก๊ส และแม้กระทั่งเมื่อสารเหล่านั้น ละลายลงไปในน้ำแล้วก็ตาม แบเรียมเป็นธาตุโลหะและเป็นของแข็ง เราจึงใส่ตัว s แบบพิมพ์เล็กไว้ให้มัน ซึ่งนั่นก็เป็นตัวย่อที่แทนคำว่า ของแข็ง น้ำเป็นของเหลว และมีตัว l แบบพิมพ์เล็กกำกับไว้ ซึ่งก็หมายถึง ของเหลว หนึ่งในผลิตภัณฑ์จากการเกิด ปฏิกิริยาที่เราได้ ก็คือแก๊สไฮโดรเจนที่มีตัว g แบบพิมพ์เล็ก กำกับเอาไว้ โดยมันเป็นตัวย่อของแก๊ส แบเรียมไฮดรอกไซด์เป็นสารที่ละลายได้ในน้ำ เราจึงเขียนกำกับมันไว้ด้วย a-q ซึ่งมาจากคำว่า ละลายน้ำได้ ไม่ใช่แค่ในปฏิกิริยาเคมีเท่านั้น ที่ผลิตภัณฑ์อาจจะอยู่ในสถานะที่ต่างกับ ตัวทำปฏิกิริยา ดูอย่างตอนที่เราอบขนมเค้กสิ ทั้งไข่และน้ำมันนั้นเป็นของเหลว ในขณะที่แป้ง ผงฟู และน้ำตาล ต่างก็เป็นของแข็ง แต่ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาคือ เค้กแสนอร่อย ก็แค่หวังว่าจะอร่อยน่ะนะ เค้กของเรายังเป็นของแข็งเลย และสิ่งที่ทำให้แป้งเค้กของเราฟูขึ้นมา ก็คือแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเกิดจากผงฟูที่ใส่ลงไปนั่นเอง