
สารประกอบไอออนิก

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
จริงหรือเท็จ? เมื่ออะตอมสูญเสียอิเล็กตรอนมันจะกลายเป็นลบ
ลีออนเพิ่งขึ้นมาจากทะเล ที่มีน้ำเกลือ เกลือในน้ำทะเลนั้น คือสิ่งเดียวกับที่ เราใช้ในการปรุงอาหาร เกลือแกงนั่นเอง เกลือแกงประกอบไปด้วยธาตุสองธาตุ โซเดียมและคลอรีน ชื่อทางเคมีของสารประกอบนี้ คือโซเดียมคลอไรด์ โซเดียมและคลอรีนล้วนเป็นสาร อันตราย ทั้งคู่ โลหะโซเดียมสามารถกัดกร่อนผิวของเรา และทำให้เกิดแผลร้ายแรง ส่วนก๊าซคลอรีนนั้น สามารถทำลายปอด ของเราได้หากเพียงแค่เราหายใจเข้าไป อย่างไรก็ตาม เมื่อโซเดียมและคลอรีนมา รวมกันเป็นสารประกอบเคมี โซเดียมคลอไรด์ มันจะไม่มีพิษภัยใดๆ ทำไมกันนะ? เพราะอะตอมนั่นเอง อะตอมในโซเดียม อยากกำจัดอิเล็กตรอนออก ซึ่งหมายความว่าโซเดียมทำปฏิกิริยากับ สารอื่นๆได้ง่าย มันไวต่อการเกิดปฏิกิริยา เมื่ออะตอมแต่ละตัวปล่อยอิเล็กตรอนออกมา มันก็จะกลายเป็นโซเดียมไอออน คลอรีนไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเพราะอะตอม ของมันต้องการอิเล็กตรอนเพิ่ม เมื่ออะตอมคลอรีนได้รับอิเล็กตรอนเพิ่ม ตัวหนึ่ง มันก็จะกลายเป็นคลอไรด์ไอออน โซเดียมไอออนและคลอไรด์ไอออนนั้นพอใจ กับจำนวนอิเล็กตรอนของตัวเองแล้ว ดังนั้น โซเดียมและคลอรีน ที่เป็นไอออนิกจึงไม่ไวต่อ การเกิดปฏิกิริยา โซเดียมไอออนที่เสียอิเล็กตรอนไปหนึ่งตัว เป็นประจุบวก ส่วนคลอไรด์ไอออนที่รับอิเล็กตรอนเพิ่ม เข้าไปหนึ่งตัวนั้น เป็นประจุลบ ประจุบวกและลบดึงดูดกัน แต่ตราบใดที่เกลือยังละลายอยู่ ในน้ำ เหมือนกับในน้ำทะเล ไอออนเหล่านี้ก็จะขยับไปมาไม่สร้างพันธะ กัน น้ำเกลือคือสารละลายโซเดียมคลอไรด์ เมื่อน้ำระเหย เหมือนกับบนแขนของลีออน ตอนนี้ ไอออนจะขยับเข้าใกล้กันมากขึ้น ใกล้มาก จนไอออนบวกและลบเริ่มจะยึดติด กัน ตอนนี้ โซเดียมไอออนหนึ่งตัว ยึดติดกับคลอไรด์ไออนหนึ่งตัว พวกมันพอใจไหมนะ? ไม่เลย ประจุบวกของโซเดียมไอออน ยังคงดึงดูด ประจุลบของคลอไรด์ไอออน ที่อยู่รอบๆต่อไป และคลอไรด์ไอออนก็ยังคงดึงดูด โซเดียมไอออนรอบๆ ไอออนยึดติดกันซ้ำๆไปเรื่อยๆ กลายเป็นผลึกที่เรียกว่าคริสตัล แลตทิส สารประกอบเคมีที่เกิดจากไอออนนั้น เรียกว่า สารประกอบไอออนิก ในผลึกโซเดียมคลอไรด์ ไอออนเรียงตัวแบบนี้ โดยมี โซเดียมไอออนและคลอไรด์ไอออนเรียงสลับกัน เมื่อผลึกใหญ่ขึ้นจนมีโซเดียมไอออน และคลอไรด์ไอออน หลายแสนล้านล้านตัว เราจึงจะมองเห็นมันได้ เป็นเกลือเม็ดหนึ่ง โซเดียมไอออนจะมาคู่กับคลอไรด์ไอออนเสมอ ซึ่งหมายความว่าทั้งสองมีจำนวน เท่ากันเสมอ เขียนด้วยสัญลักษณ์ทางเคมีดังนี้ : NaCl (เอน เอ ซี แอล) นี่คือสูตรทางเคมีของโซเดียมคลอไรด์ ในการเขียนสูตรเคมีของสารประกอบไอออนิก เราจะเขียนไอออนบวกก่อนและ ไอออนลบทีหลัง ประจุบวกและลบหักล้างกันไป เราจึงไม่ต้องเขียนมันไว้ในสูตรเคมีนี้ เวลาที่เราพูดว่า "เกลือ" เรามักจะหมายถึง เกลือแกง อย่างไรก็ตามในทางเคมี มี "เกลือ" อยู่มากมายหลายชนิด เป็นพันๆชนิด แต่เนื่องจากโซเดียมคลอไรด์เป็นเกลือที่ พบเห็นได้ง่ายที่สุด ทั้งในทะเลและในครัว เราจึงมักจะเรียกมันว่าเกลือเฉยๆ