
น้ำกระด้างและน้ำอ่อน

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
จริงหรือเท็จ? น้ำกระด้างเป็นพิษ
ในหนังสือพิมพ์นี่เขียนไว้ว่าน้ำที่ออกมา จากก๊อกเป็นน้ำอ่อนจริงๆเหรอ โอ้ว แต่น้ำแบบนั้นน่ะไม่อ่อนแน่นอน ไม่สิ มันไม่ใช่คำว่าอ่อนแบบนั้น ดูเหมือนว่าน้ำกระด้างกับน้ำอ่อน ต่างก็ต้องจัดการคราบหินปูน ที่สะสมอยู่เหมือนกันนะ ใช่แล้ว น้ำแข็งแบบก้อนก็ประกอบ ไปด้วยน้ำอ่อน และน้ำจากก๊อกก็เป็นน้ำกระด้าง ได้เหมือนกัน ว่าแต่มันหมายความว่ายังไงกัน เมื่อเราบอกว่าน้ำมันมีความกระด้าง นั่นแปลว่ามันประกอบด้วย แคลเซียมอยู่มาก แคลเซียมนั้นเป็นแร่ธาตุในน้ำ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ น้ำอ่อนนั้นจะมีปริมาณ แคลเซียมอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งการดื่มน้ำกระด้างเข้าไปก็ จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับเราหรอก แคลเซียมนั้นมีประโยชน์ต่อฟัน และกระดูก แต่ถ้ามันเกิดขึ้นในเครื่องซักผ้า เครื่องชงกาแฟ และหม้อต้มพวกนี้ ก็ไม่ค่อยถูกกับน้ำกระด้างสักเท่าไหร่ รวมถึงพนักงานทำความสะอาดกระจกด้วย แร่ธาตุที่อยู่ในน้ำจะทำให้เกิด ตัวเคลือบขึ้นมา ที่ตัวทำความร้อน ในเครื่องชงกาแฟ และเครื่องซักผ้า และเมื่อไหร่ที่เราเอาน้ำกระด้าง ไปเช็ดกระจกล่ะก็ เราจะต้องเช็ดกระจกมากขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อขจัดคราบที่มีออกไปให้หมด แล้วแคลเซียมพวกนี้มาจากไหนล่ะ แล้วมันมาอยู่ในก๊อกน้ำของเราได้ยังไง แคลเซียมนี้จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เหมือนกับแร่ธาตุที่อยู่ในชั้นหินดานในดิน เมื่อฝนตกลงมา น้ำฝนจะชะล้าง แร่ธาตุบางตัวทิ้งไป และมันจะถูกพัดลงไปในแม่น้ำ และทะเลสาบ ที่ซึ่งเป็นที่มาของน้ำในก๊อกที่เราใช้ ในบางพื้นที่ที่มีปริมาณแคลเซียม ในดินต่ำกว่าที่อื่น น้ำตรงนั้นจะอ่อนกว่า ในขณะที่น้ำในบางพื้นที่ก็จะกระด้างกว่า โดยมีปริมาณของแคลเซียมสูงมาก จนทำให้เกิดปัญหา และเมื่อน้ำได้ระเหยออกไป แล้วแร่ธาตุที่เหลือก็จะถูกทิ้งไว้ เหมือนกับเปลือกที่เป็นชั้น ซึ่งขั้นตอนนี้ก็จะทำให้มีแคลเซียม คาร์บอเนต หรือคราบหินปูนเกิดขึ้น คราบหินปูนจะเข้าไปสะสมอยู่ใน เครื่องมือรับประทานอาหาร และวัตถุผิวโลหะก็ดูจะยากมาก ในการขจัดคราบหินปูนออกไป แต่ดูเหมือนอุปกรณ์ที่เราใช้ต้มน้ำ จะต้องเจอกับสิ่งที่แย่ยิ่งกว่า เหมือนกับเครื่องชงกาแฟเครื่องนี้ อุปกรณ์ทำความร้อนที่อยู่ใน เครื่องชงกาแฟนี้ ได้ถูกคราบชั้นหินปูนเกาะอยู่จนทั่วไปหมด นั่นแปลว่าเมื่อไหร่ที่มีการใช้งาน มันจะ ต้องใช้พลังงานสูงมากเพื่อให้น้ำเดือด และเมื่อชั้นของหินปูนหนาพอแล้ว อุปกรณ์ทำความร้อนที่อยู่ภายใน ก็จะร้อนจนรับไม่ไหวและพังไปในที่สุด เหตุการณ์ทำนองนี้สามารถเกิดขึ้นได้ ในเครื่องซักผ้าและหม้อต้มน้ำ ท่อน้ำและก๊อกน้ำ ก็สามารถถูกคราบหินปูนที่จับตัวแน่น คุกคามได้เหมือนกัน ที่ว่างภายในอันเป็นทางผ่านของน้ำนั้น จะยิ่งแคบลงไปเรื่อยๆ จนท่อนั้น ไม่สามารถมีน้ำไหลผ่านได้ แต่คราบหินปูนที่เกาะอยู่ก็สามารถ เอาออกไปได้ไม่ยาก ถ้าเรารินน้ำส้มสายชูหรือกรดซิตริก ลงไปในเครื่องชงกาแฟ แล้วเปิด ให้เครื่องทำงานดูล่ะก็ คราบหินปูนพวกนั้นก็จะละลาย ไปกับน้ำที่มีสภาพเป็นกรด เราสามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์ สำหรับขจัดคราบหินปูนมาใช้ เพื่อเอาสารประกอบแคลเซียม เหล่านี้ออกไป แล้วก็อย่าลืมล้างผลิตภัณฑ์ขจัดคราบ หินปูนให้สะอาดหลังใช้งานด้วยนะ ในพื้นที่ที่มีปริมาณแคลเซียม ในน้ำอยู่สูงมาก ทำให้ต้องมีการนำน้ำดังกล่าว มาบำบัดให้อ่อนลง ซึ่งหนึ่งในวิธีนั้นก็คือ เติมโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงไปในน้ำเล็กน้อย มันจะช่วยให้แคลเซียมเกาะกัน เป็นสารที่เป็นของแข็ง ที่จะจมลงไปก้นบ่อได้เลย ข้อดีอีกข้อของการใช้น้ำอ่อน ก็คือเราไม่ต้องใช้ผงซักฟอก หรือสบู่มากนัก รวมถึงเสื้อผ้าที่ซักด้วยน้ำอ่อนนั้น รู้สึกว่านุ่มกว่าเมื่อมันแห้งแล้ว อ๋อ นี่ไงที่หนังสือพิมพ์บอกเอาไว้ ก็เรื่องที่พวกเขากำจัดแคลเซียม ออกไปจากก๊อกน้ำได้มากกว่าเดิมน่ะ เจ๋งไปเลย ถ้าอย่างนั้น ฉันจะไปชงกาแฟรอ ระหว่างที่เธอเช็ดกระจกก็แล้วกันนะ