
การยกกำลังติดลบ

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
is equal to...
หากเริ่มเข้าใจนิพจน์ ของเลขชี้กำลังแล้ว ก็ได้เวลามาเรียนเรื่อง ยกกำลังติดลบแล้วล่ะ มันจะเป็นยังไงนะถ้าเรามีเลขยกกำลัง ที่ติดลบน่ะ? 4 คูณด้วยตัวเอง -3 ครั้งคืออะไรกัน? เพื่อให้เข้าใจเรื่องนี้ การจดจำ วิธีการหารเลขยกกำลังได้ จึงเป็นเรื่องดี ซึ่งก็คือเราจะลบเลขชี้กำลังออก กำลังของตัวเศษลบออกด้วยกำลังของตัวส่วน และถ้าหากกำลังของตัวส่วนมีค่ามากว่า กำลังของตัวเศษ เราจะได้เลขยกกำลังที่ติดลบ แต่เดี๋ยวเราย้อนกลับมานิดหนึ่งกันก่อน นิพจน์ของเลขชี้กำลังคือการคูณซ้ำๆ ให้เขียนการหารนี้ในรูปการคูณซ้ำๆ แล้วตัดทอน ลองดูบรรทัดแรกและบรรทัดสุดท้าย 4 ยกกำลัง -3 เท่ากับ 1 หารด้วย 4 ยกกำลัง 3 นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่เป็นกฎทั่วไป ที่เราควรจดจำไว้ นิพจน์ของเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลัง เป็นลบจะมีค่าเท่ากับ 1 หารด้วยนิพจน์เดียวกัน ซึ่งมีเลขชี้กำลังเป็นบวก เมื่อเราเห็นเครื่องหมายลบที่หน้า เลขชี้กำลัง เราสามารถลบมันออกไปได้ง่ายๆ แล้วเอา 1 หารด้วยนิพจน์เลขชี้กำลังนั้น 4 ยกกำลัง -3 เท่ากับ 1 หาร 4 ยกกำลัง 3 และ 4 ยกกำลัง 3 คือ 64 ดังนั้น 4 ยกกำลัง -3 จึงเท่ากับ เศษ 1 ส่วน 64 หรือประมาณ 0.02 เมื่อเราใช้งานเรื่องอันดับของขนาด เรื่องของกำลังลบจะทำได้ง่ายขึ้น 10 ยกกำลัง -2 ก็คือ 1 ส่วน 10 ยกกำลัง 2 ซึ่งก็คือ 1 ใน 100 ส่วน และนั่นคือ 0.01 ลองทดสอบด้วย 10 ยกกำลัง -4 ดูสิ นั่นคือเศษ 1 ส่วน 10000 ทางลัดตรงนี้แสดงให้เห็นว่า จำนวนของเลขชี้กำลัง เป็นตัวบอกตำแหน่งที่เราจะย้ายจุด ทศนิยมไปทางซ้าย 10 ยกกำลัง -6 เท่ากับ 1 แล้ว ย้ายจุดทศนิยม ไปทางด้านซ้ายมือ 1, 2, 3, 4, 5, 6 คือ หนึ่งในล้านส่วน 2 สิ่งที่เราต้องจดจำ : นิพจน์ของเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลัง เป็นลบ ก็เหมือนกับ 1 หารด้วยนิพจน์เดียวกัน แต่มีกำลังเป็นบวก และในกรณีพิเศษคือเมื่อฐานเป็นเลข 10 : ให้เริ่มต้นด้วย 1 และย้ายจุด ทศนิยมไปทางซ้าย ตามจำนวนเลขชี้กำลังที่ปรากฏ