
การคำนวณด้วยนิพจน์ของราก

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
รู้หรือไม่ว่ารากที่สองและรากที่สาม คืออะไร? ตอนนี้เรากำลังจะลงลึกเรืองของราก และเรียนรู้วิธีการ เกี่ยวกับรากที่สองและนิพจน์ของรากอื่นๆ การคูณรากที่สองเหมือนกับการคูณ ตัวถูกถอดกรณฑ์ที่อยู่ภายใต้ เครื่องหมายรากเดียวกัน รากที่สองของ 5 คูณกับรากที่สองของ 20 จะเท่ากับรากที่สองของ 100 มันมีประโยชน์ตรงที่ 100 เป็นกำลังสองสมบูรณ์ ทำให้เราสามารถคำนวณ ผลลัพธ์ได้โดยไม่ต้องปัดเศษ ในขณะที่ 5 และ 20 ไม่ใช่ กำลังสองสมบูรณ์ หากจะคำนวณแต่ละตัวแยกจากกัน การปัดปัดเศษ อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาด การหารรากที่สองก็มีในลักษณะเดียวกัน รากที่สองของ 12 หารด้วยรากที่สองของ 3 เหมือนกันกับรากที่สองของ 12 หารด้วย 3 ซึ่งก็คือรากที่สองของ 4 ซึ่งเป็น 2 กฎเหล่านี้ใช้กับรากทุกราก ไม่ใช่แค่เพียงรากที่สอง ตราบใดที่ มันยังอยู่ในรากระดับเดียวกัน หรือมีเลขที่อยู่บนสัญลักษณ์ของราก เหมือนกัน การบวกและการลบรากไม่ใช่เรื่องง่าย ก่อนอื่นเราต้องคำนวณค่า และทำการปัดเศษถ้าจำเป็น จากนั้นจึงบวกหรือลบ รากที่สองของ 9 บวกกับรากที่สองของ 16 จะไม่เท่ากับรากที่สองของ 25 เครื่องหมาย"ไม่เท่ากับ"มีลักษณะ เป็นเครื่องหมายเท่ากับที่มีขีดคาด กฎข้อนี้ใช้กับรากที่สาม รากที่สี่ ที่ห้าและรากอื่นๆด้วย บางครั้งในการแยกตัวประกอบ ของนิพจน์ของราก ก็เป็นประโยชน์ต่อการแก้โจทย์ปัญหา 54 ไม่ใช่กำลังสองสมบูรณ์ ดังนั้นรากนี้จะให้ค่าที่เป็น จำนวนอตรรกยะที่ต้องปัดเศษ เราสามารถทำรากนี้ให้ง่ายขึ้น โดยการแยกตัวประกอบ ด้วยกำลังสองสมบูรณ์ที่มากกว่าซึ่งเป็น ตัวประกอบของตัวถูกถอดกรณฑ์ 9 เป็นกำลังสองสมบูรณ์ และเป็นตัวประกอบของ 54 ดังนั้น เราจึงแยกตัวประกอบของ ตัวถูกถอดกรณฑ์เป็น 9 คูณ 6 ตอนนี้เราสามารถใช้ความรู้เรื่องการคูณราก และแบ่งรากนี้ออกเป็นสองตัวประกอบ คือรากของ 9 และรากของ 6 รากของ 9 มีค่าเท่ากับ 3 ดังนั้น จึงสามารถทำให้มันง่ายขึ้นได้ โดยเอา 3 ไปคูณกับรากที่สองของ 6 รากที่สองของ 54 เท่ากับ 3 คูณกับรากที่สองของ 6 เราได้นำเอาตลอดทั้งนิพจน์ของราก มาเขียนใหม่ให้อยู่ในรูปที่ง่ายขึ้น รากที่ไม่สามารถแยกตัวประกอบได้ ด้วยการใช้ กำลังสองสมบูรณ์จะอยู่ในรูปที่ง่ายแล้ว เช่น รากของ 13 มันไม่สามารถหารด้วย 4 หรือ 9 ซึ่งเป็นกำลังสองสมบูรณ์ ที่น้อยกว่า 13 ได้ มันจึงไม่สามารถ เขียนในรูปอย่างง่ายได้ โดยไม่ปัดเศษ กลับมาดูกฏกันอีกครั้งนะ การคูณของรากที่อยู่ระดับ เดียวกันนั้นจะเหมือนกับ การคูณตัวถูกถอดกรณฑ์ที่อยู่ภายใต้ เครื่องหมายรากเดียวกัน เช่นเดียวกันกับการหารซึ่งทำได้ เมื่ออยู่ใต้สัญลักษณ์ของราก หรือระหว่างสองราก แต่กลับกันกับการบวกและการลบ ซึ่งใช้กฏข้อนี้ไม่ได้ ตรงนี้ เราจำต้องคำนวณรากแต่ละราก แล้วค่อยบวกหรือลบผลลัพธ์ หลังจากนั้น มันจะซับซ้อนขึ้นเล็กน้อย รากที่ตัวถูกถอดกรณฑ์สามารถแยก ตัวประกอบได้โดยใช้กำลังสองสมบูรณ์ สามารถทำให้ง่ายขึ้น หากจำนวนของรากนั้น หารด้วย 4, 9, 16, 25 หรือ จำนวนกำลังสองสมบูรณ์ใดๆ เราสามารถแยกตัวประกอบของมัน และคำนวณรากได้โดยไม่ต้องปัดเศษ