
ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
What is the next step in solving an equation that looks like this:
นี่คือพีทาโกรัส หนึ่งในชาวกรีกโบราณ เขาอาศัยอยู่เมื่อ 2-3 ศตวรรษ ก่อนยุคของยุคลิด ราว 2,500 ปีก่อนบนเกาะซามอส ในหมู่เกาะกรีก ในทะเลอีเจียน พีทาโกรัสเป็นนักคณิตศาสตร์และนักปรัชญา ปัจจุบันเขาเป็นที่รู้จักดีในเรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ซึ่งเป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ที่อธิบายถึง ความยาวของด้านทั้งสามด้าน ในรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มีความเกี่ยวข้องกัน มีหลักฐานว่าความสัมพันธ์นี้ เป็นที่รู้จักกันแล้วในกรีซ ในตอนที่พีทาโกรัสบันทึกมันไว้และ นักคณิตศาสตร์ในจีน และอินเดียเองก็ได้ค้นพบสิ่งเดียวกัน นี้ด้วย ซึ่งอาจเกิดขึ้นก่อนหน้า แต่เรายังคง เรียกสูตรนี้ว่าทฤษฎีบทพีทาโกรัส นี่ลักษณะของมัน ถ้าเราวาดมันขึ้นมา ทฤษฎีบทพีทาโกรัส จะเริ่มที่ สามเหลี่ยมมุมฉาก วาดสี่เหลี่ยมจัตุรัสในแต่ละด้าน หากเรารวมพื้นที่ของสี่เหลี่ยม จัตุรัสเล็กๆ สองอันเข้าด้วยกัน เราจะได้พื้นที่เท่ากันกับ สี่เหลี่ยมจตุรัสอันที่ใหญ่ที่สุด หยุดวิดีโอชั่วคราวและนับจำนวน กล่องเพื่อดูด้วยตัวเอง สี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ใหญ่ที่สุด มี 5x5 หรือ 25 ช่อง ขนาดกลางคือ 4x4 มี 16 ช่อง และอันที่เล็กที่สุดคือ 3x3 มี 9 ช่อง และ 25 ก็เท่ากับ 16 + 9 หรือโดยทั่วไปแล้ว สี่เหลี่ยมที่ มีด้านยาวที่สุดจะเท่ากับ ผลรวมของ 2 สี่เหลี่ยมที่มีด้านสั้นกว่า วิธีนี้ใช้ได้กับสามเหลี่ยมทุกแบบ นี่คือคำจำกัดความสองข้อที่เราควรรู้ ด้านที่ยาวที่สุดของสามเหลี่ยมมุมฉาก จะเรียกว่าด้านตรงข้ามมุมฉาก และสองด้านที่สั้นกว่าจะเรียกว่าขา เรามักแทนด้านตรงข้ามมุมฉาก ด้วยตัว C และขาทั้งสองข้าง ด้วยตัวอักษร A และ B ตอนนี้เราสามารถเขียนทฤษฎีบทพีทาโกรัส ได้เป็น C กำลังสองเท่ากับ A กำลังสอง บวก B กำลังสอง ในการใช้ทฤษฎีบทพีทาโกรัส เราต้องสามารถแก้สมการได้ด้วย นี่คือสามเหลี่ยมมุมฉากที่เรารู้ ความยาวของขาทั้งสองข้าง แต่ไม่รู้ด้านตรงข้ามมุมฉาก ใส่ค่าของมันลงในทฤษฎีบทพีทาโกรัส C กำลังสองเท่ากับ 5 กำลังสอง บวก 12 กำลังสอง คำนวณสี่เหลี่ยมจตุรัสเหล่านี้ และรวมค่า ตอนนี้มาถึงส่วนที่น่าสนใจแล้ว เราจะไปต่อยังไง? ด้านตรงข้ามมุมฉากกำลังสองคือ 169 เราจะแก้ปัญหานิพจน์เลขชี้กำลังได้อย่างไร สิ่งที่ตรงกันข้ามกับนิพจน์เลขชี้กำลัง ก็คือนิพจน์ของราก ดังนั้นเราใส่รากให้กับสมการทั้งสองข้าง รากที่สองของ C กำลังสอง เท่ากับรากที่สองของ 169 รากที่สองของ C กำลังสองคือ C นี่คือเหตุผลที่เราต้องใช้นิพจน์ของราก หารากที่สองของ169 ด้วยเครื่องคิดเลขที่มี จะได้เป็น 13 ด้านตรงข้ามมุมฉาก C คือ 13 ทฤษฎีบทพีทาโกรัสจะใช้ได้ กับสามเหลี่ยมมุมฉากทุกแบบ แต่จะใช้ไม่ได้กับสามเหลี่ยมประเภทอื่นๆ สี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีด้านยาวที่สุด จะมีด้านตรงข้ามมุมฉาก เท่ากับผลรวมของขาของ 2 สี่เหลี่ยม ที่สั้นกว่า การแก้ปัญหาด้วยทฤษฎีบทพีทาโกรัส ให้ใส่ค่า ที่ได้จากการแก้สมการ ให้ใส่รากที่สองทั้งสองด้าน หลังจากที่เราแยกค่า ที่ไม่รู้จักยกกำลังสองไว้ข้างหนึ่งแล้ว และนี่คือโบนัส สามเหลี่ยมมุมฉากที่กำหนด ให้ขาทั้งสองข้างเป็น 1 แล้วด้านตรงข้ามมุมฉาก เป็นจำนวนอตรรกยะ คือรากที่สองของ 2 นี่คือสิ่งที่ไฮปัสปิสท์ค้นพบ และมันเป็นสิ่งที่ทำให้พีทาโกรัส หงุดหงิดอย่างยิ่ง เพราะเขาเชื่อว่า ตัวเลขทั้งหมดเป็นตรรกยะ ลองไปดูบทเรียนเรื่องจำนวนอตรรกยะ เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมนะ