
การเผยแพร่ของศาสนาอิสลาม

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
When the Ummayad Caliphat ended the Ummayad rulers created a caliphate in Spain. Which city became the centre of this caliphat?
ในช่วงก่อนยุคของมูฮัมหมัด ผู้คนที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรอาหรับ ดำรงชีวิตแบบชนเผ่าซึ่งรบพุ่งกัน อยู่ตลอดเวลา มีไม่มากนักที่จะรวมชนเผ่าเข้าด้วยกันได้ ในขณะเดียวกันจักรวรรดิใกล้เคียง 2 แห่งก็แข็งแกร่งมาก คือจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งเป็นคริสเตียน และจักรวรรดิซาสซานิยะห์ของพวก เปอร์เซีย ซึ่งนับถือลัทธิโซโรอัสเตอร์ พวกเขาได้พัฒนาวัฒนธรรม และวิธีการปกครอง มาเป็นเวลาร้อยๆปี นอกจากนี้พวกเขายังใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ไปกับการสู้รบกัน ซึ่งกินเวลายาวนาน ดังนั้นเศรษฐกิจและการทหารของ ทั้ง 2 จักรวรรดิจึงอ่อนแอลง ตอนนี้มูฮัมหมัดได้ปรากฏตัวขึ้น เขากลายเป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง ทั้งด้านการเมืองและศาสนา ภายใต้การนำของเขา กลุ่มชนต่างๆ บนคาบสมุทรอาหรับ ได้รวมตัวเป็นกลุ่มเดียวกันที่มีพลัง แต่มันเพียงพอที่จะเอาชนะอาณาจักร ทางเหนือและทางตะวันตกได้ไหมล่ะ? แล้วมาดูกัน ผู้สืบทอด 4 คนแรกของมูฮัมหมัด เริ่มต้นด้วย การพิชิตดินแดนที่อยู่ใกล้กับ คาบสมุทรอาหรับที่สุด จากนั้นจึงเข้าโจมตีชาวเปอร์เซีย ซึ่งกำลังอ่อนแอ ในเวลาไล่เลี่ยกัน พวกเขาก็ เริ่มทำสงครามกับจักรวรรดิไบแซนไทน์ และมีชัยชนะเหนือซีเรียและอียิปต์ ในกองทัพมุสลิมนั้น เบื้องต้นเป็นทหารจากชนเผ่าอาหรับ ตอนนี้มันขยายตัวขึ้น ด้วยกำลังคนจากดินแดนที่ถูกยึดครอง หลังจากหมดยุคของกาหลิบ 4 คนแรก ราชวงศ์ใหม่ก็เข้ามาปกครองระบบคิลาฟะฮฺ คืออุมัยยาด กาหลิบแห่งอุมัยยาดได้ขยายอาณาจักร ไปจนถึงสเปน และยึดเอากอร์โดบาเป็นเมืองสำคัญ ผู้คนในดินแดนที่พิชิตได้ ค่อนข้างคุ้นเคยกับการใช้ชีวิตภายใต้ ผู้ปกครองจากวัฒนธรรมอื่นๆ หลายคนไม่คิดว่ามันสำคัญอะไร กับการอยู่ใต้ผู้ปกครองคนใหม่ๆ ผู้คนในพระคัมภีร์ คือพวกคริสเตียนและชาวยิว ก็ได้รับอนุญาตให้คงไว้ซึ่งศรัทธา และธรรมเนียมเดิมของพวกเขา ทั้งยังมีสิทธิตามกฎหมาย เช่นเดียวกับชาวมุสลิมอื่นด้วย แต่พวกเขาต้องจ่ายภาษีเพิ่ม ภาษีนี้เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญ ของระบบคิลาฟะฮฺ ดังนั้นการเปลี่ยนศาสนาจาก คริสเตียนและยิวมาเป็นอิสลาม จึงไม่ใช่สิ่งที่ชาวมุสลิมเข้าไปมี ส่วนร่วมอย่างจริงจัง ต่างจากกลุ่มที่บูชาเทพเจ้าหลายๆองค์ หรือพหุเทวนิยม พวกพหุเทวนิยมจะถูกข่มเหง และบางครั้งก็ถูกบีบบังคับให้เปลี่ยนศาสนา ตอนนี้ชาวมุสลิมกลายเป็นชนชั้นระดับสูง ในสังคม สีผิวหรือต้นกำเนิดนั้น ไม่ได้สำคัญเท่าไหร่นัก พวกคริสเตียนและชาวยิวมากมาย หันมานับถือศาสนาอิสลาม อาจเป็นเพราะพวกเขาไม่อยากจ่ายภาษีเพิ่ม หรือด้วยเหตุผลอื่นๆทางศาสนา หรือเพื่อจะได้เข้าร่วมเป็นชนชั้นปกครอง ในปีที่ 750 ราชวงศ์ใหม่เข้ามาปกครองระบบคิลาฟะฮฺ ราชวงศ์อับบาซิด แต่พวกอุมัยยาดยังคงให้กอร์โดบา เป็นคิลาฟะฮฺของพวกเขาเอง ตอนนี้ สิ่งที่เรียกกันว่า ยุคทองของชาวมุสลิมก็ได้เริ่มขึ้น กอร์โดบากลายเป็นศูนย์กลาง ของวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์ สถาปัตยกรรมได้รับการพัฒนา และคัมภีร์โบราณก็ถูกแปล และเก็บรักษาไว้ แต่มันเทียบไม่ได้เลยกับสิ่งที่เกิดขึ้น ในเมืองหลวงของราชวงศ์อับบาซิด คือกรุงแบกแดด บ้านแห่งปัญญาถูกสร้างขึ้นที่นี่ ห้องสมุดแห่งหนึ่งได้กลายเป็นศูนย์กลาง ของวิทยาศาสตร์ ที่แห่งนี้ พวกเขาพูด เขียน และแปล ภาษาอาหรับ เปอร์เซีย ฮิบรู อราเมอิก กรีก ละติน และสันสกฤตซึ่งเป็นภาษาอินเดียโบราณ นักวิทยาศาสตร์และนักแปลมีทั้งชายและหญิง ที่มาจากหลากหลายศาสนาและ หลายประเทศ ในปี 1095 ระบบคิลาฟะฮฺ ก็มีศัตรูผู้ทรงพลังคนใหม่ คือ สมเด็จพระสันตะปาปา คริสตจักรแห่งยุโรปตัดสินใจ ที่จะเข้ายึดกรุงเยรูซาเล็ม และดินแดนปาเลสไตน์อันศักดิ์สิทธิ์ มาจากคิลาฟะฮฺ พระสันตะปาปาเรียกร้องให้อัศวินชาวคริส เข้าร่วมรบในสงครามศักดิ์สิทธิ์ สงครามครูเสดจึงเริ่มขึ้น ในปี 1099 กองทัพคริสเตียน เข้ายึดกรุงเยรูซาเล็มและสังหาร ชาวมุสลิมและชาวยิวทุกคนในเมือง สงครามยังคงดำเนินต่อไป ชาวมุสลิมได้ยึดกรุงเยรูซาเล็มกลับคืน ในอีก 100 ปีต่อมา แม้จะเกิดสงคราม แต่ยุคทองของชาวมุสลิม ก็ยังคงมีอยู่จนถึงปี 1258 จนกระทั่งกองทัพม้าของพวกมองโกล ได้มาถึงใน ศตวรรษที่ 13 ซึ่งเผากรุงแบกแดดในปี 1258 ซึ่งในขณะเดียวกันกองทัพคริสเตียน ก็พิชิตส่วนสุดท้ายของคิลาฟะฮฺ ในกอร์โดบาได้ ยุคทองจึงสิ้นสุดลง นั่นหมายถึงจุดจบของจักรวรรดิมุสลิม ขนาดใหญ่ในยุคกลางหรือเปล่า? ไม่เลย ในปี 1299 พวกเติร์กสร้างจักรวรรดิ "ออตโตมัน" ขึ้นมา จักรวรรดิออตโตมันเติบโตที่สุดในปี 1683 หลังจากนั้นมันก็เริ่มเล็กลง แต่ก็ยังคงอยู่จนสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1