
ข้อความศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาฮินดู

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
The sacred texts of HInduism are written in an Indo-European language, which one?
ในศาสนาฮินดู มีคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์มากมาย ที่มีความเก่าแก่ และมีมานานก่อนศาสนาฮินดูด้วยซ้ำ ช่วงประมาณ 1500 ปีก่อนคริสตกาล สิ่งที่บอกเล่ากันปากต่อปาก มาเป็นเวลาหลายศตวรรษ ได้กลายเป็นคัมภีร์ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และในที่สุด ประมาณ 500 ปี ก่อนคริสตกาล มันก็ถูกจดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร อย่างเล่มนี้ เขียนเกี่ยวกับวิธีประกอบพิธีกรรม ทางศาสนาของพราหมณ์ การสวดมนต์ในพิธีแต่งงาน และการอภิปรายเชิงปรัชญาเกี่ยวกับ จิตวิญญาณและการทำสมาธิ ชุดของคัมภีร์เหล่านี้เรียกว่า "พระเวท" หรือ ความรู้ และช่วงเวลาระหว่าง 1,500 ถึง 500 ปี ก่อนคริสตกาล ที่พระเวทถูกเขียนขึ้นเรียกว่า"ยุคพระเวท" พระเวทประกอบด้วยคัมภีร์ 4 เล่ม ฤคเวท สามเวท ยชุรเวท และอาถรรพเวท "ฤคเวท"เป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุด ชุดของคัมภีร์พระเวทนี้ ประกอบด้วย เนื้อหา 4 ประเภท คือ บทเพลงของเหล่าทวยเทพ รวมถึงบทสรรเสริญและมนตรา บทที่เกี่ยวกับพิธีกรรม พิธีการ และการบวงสรวงเทพเจ้า บทอรรถาธิบาย วิธีการประกอบพิธีกรรม และบทปรัชญาที่อภิปรายถึงแนวคิด เช่น จิตวิญญาณของแต่ละบุคคล หรือ "อาตมัน" โลกวิญญาณหรือความเป็นจริงสูงสุด คือ "พรหมัน" การกลับชาติมาเกิด หรือ "สังสารวัฏ" แนวคิดเรื่องการกระทำที่ส่งผล ไปยังชาติอื่น หรือ "กรรม" และการหลุดพ้นจากสังสารวัฏ หรือ"โมกษะ" บทปรัชญาเหล่านี้เรียกว่า"อุปนิษัท" อุปนิษัทนั้นมีความสำคัญต่อ พัฒนาการของศาสนาฮินดู ทั้งยังส่งผลต่อพุทธศาสนาและศาสนาเชนด้วย นอกจากพระเวทแล้ว ยังมีคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเรื่องที่บางครั้ง เรียกว่า "มหากาพย์ที่ยาวที่สุด" คือ"มหาภารตะ" เนื้อเรื่องส่วนใหญ่ในมหาภารตะ อาจมีการเล่ากันมาตั้งแต่ศตวรรษ ที่ 9 หรือ 8 ก่อนคริสตกาล แต่บันทึกไว้ในช่วง 400 ปี ก่อนคริสตกาล บางครั้งก็มีการเรียกมหาภารตะ ว่าพระเวทที่ 5 ในมหาภารตะนั้นมีเรื่องราวอยู่มากมาย บทที่สำคัญที่สุดบทหนึ่ง คือ บทเพลง ของเทพเจ้า หรือ ภควัทคีตา ในภควัทคีตา เจ้าชายอรชุนกำลังเตรียม ตัวสำหรับการต่อสู้ครั้งใหญ่ แต่เขาเป็นกังวล เขารู้ว่าหน้าที่ของตนในฐานะนักรบ คือการต่อสู้ แต่ในขณะเดียวกัน เขารู้สึกว่ามันเป็นสิ่งผิด ที่จะสังหาร บุรุษผู้ยิ่งใหญ่และผู้นำทางจิตวิญญาณ ที่เป็นศัตรูฝ่ายตรงข้ามของเขา เขาไม่รู้จะทำอย่างไร แต่โชคดี ที่พระวิษณุได้อวตารมาเกิดเป็นพระกฤษณะ พระกฤษณะสามารถช่วยอรชุนได้ พระองค์บอกถึง 2 ทางเลือกที่เป็นไปได้ ทางแรกคือทางแห่งการกระทำ การทำหน้าที่อย่างไม่เห็นแก่ตัว เป็นธรรมะ และอย่าฟังความเห็นของตนเอง ว่าอะไรถูกผิด จงเข้าใจไว้ว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้น เป็นส่วนหนึ่งของภาพรวมใหญ่ทั้งหมด การอ่านพระคัมภีร์และทำสมาธิระลึก ถึงพระเจ้า จะทำให้การปฏิบัติตามเส้นทาง แห่งการกระทำง่ายขึ้น อีกทางหนึ่ง คือทางแห่งความรู้ ให้ไตร่ตรองข้อความในอุปนิษัทให้ดี จนกว่าจะรู้ว่าอาตมันกับพรหมัน เป็นสิ่งเดียวกันในท้ายที่สุด พระกฤษณะยังบอกถึงเส้นทางแห่งความรัก ต่อพระเจ้า หรือ ภักติ ซึ่งเป็นบทที่สร้างแรงบันดาลใจให้ กลุ่มต่างๆ เช่น ขบวนการกฤษณะ มหากาพย์อีกเรื่องหนึ่ง ที่เกิดขึ้น ในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล คือ "รามายณะ" หรือ "รามเกียรติ์" ในเรื่องรามเกียรติ์ พระวิษณุอวตารลงมาอีกครั้ง เป็นเจ้าชายชื่อ"พระราม" มเหสีของพระวิษณุคือพระแม่ลักษมี ก็มาเกิดมาเป็นนางสีดา ผู้เป็นที่รักยิ่งของพระราม แต่นางสีดาถูกราชาแห่งยักษ์ลักพาตัวไป และพระรามต้องช่วยชีวิตเธอ ผู้ที่ยื่นมือเข้ามาช่วยพระราม ก็คือพระลักษณ์ผู้เป็นน้อง และหนุมานเทพแห่งลิง และพวกเขาก็ทำสำเร็จ ทั้งคัมภีร์พระเวท มหาภารตะ และรามายณะ ต่างถูกเขียน เป็นภาษาสันสกฤต ภาษาสันสกฤตอยู่ในตระกูลภาษา เดียวกันกับภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป คือ"อินโดยูโรเปียน" คัมภีร์เหล่านี้จัดว่าศักดิ์สิทธิ์ เพราะเชื่อกันว่าได้มาจากพระเจ้า บางสิ่งในคัมภีร์เหล่านั้นจึงถูกตีความว่า เป็นกฎทางศาสนา เช่น การตีความจากพระคัมภีร์ว่า มนุษย์มีหน้าที่แตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับกลุ่มของสังคม หรือ วรรณะที่มนุษย์เกิดมา ซึ่งนั่นได้ส่งผลต่อพัฒนาการทางสังคม ของอินเดีย