
ที่มาของศาสนาฮินดู

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
True or false? Hinduism was founded by a religious man called Sri Hindu.
ศาสนาฮินดูเกิดขึ้นมาได้อย่างไร? คำว่า"ฮินดู"มีต้นกำเนิดจากภาษาอาหรับ หมายถึงบางสิ่งบางอย่างจากดินแดน ริมแม่น้ำสินธุ คืออินเดีย คำว่าฮินดูใช้อยู่นอกคาบสมุทรอินเดีย ซึ่งครอบคลุมถึงประเพณี ปรัชญา และพิธีกรรมที่มาจากภูมิภาคนี้ แต่ชาวอินเดียเอง เรียกมันว่าสนาตนธรรม คือ กฎอันเป็นนิรันดร์ และด้วยเหตุนี้ มันจึงไม่ได้ หมายถึงศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึงประเพณีที่หล่อหลอม พัฒนาการทางสังคมของพวกเขาด้วย แล้วสิ่งที่เราเรียกว่า"ศาสนาฮินดู" นั้นเป็นมาอย่างไร? ไม่มีบุคคล อย่างพระเยซู มูฮัมหมัด หรือพระพุทธเจ้า ซึ่งก่อตั้งศาสนา แต่มันเกิดจากการพบปะของสองวัฒนธรรม ที่นี่ ริมฝั่งแม่น้ำสินธุ เราจะพบ หนึ่งในวัฒนธรรมนั้น ถ้าย้อนกลับไป ในยุคนั้น ในศตวรรษที่ 26 ก่อนคริสตกาล อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ได้พัฒนาขึ้นที่นี่ ขนาดของวัฒนธรรมในดินแดนนี้ ใหญ่กว่าอียิปต์ หรือโมโสโปเตเมียในขณะนั้น อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนัก แต่นักโบราณคดีได้ค้นพบสิ่งสำคัญ อย่างหนึ่ง ก็คือคนที่อาศัยอยู่ที่นี่เก่งเรื่อง การทำท่อน้ำและการระบายน้ำทิ้ง มานับหลายพันปีก่อนที่วัฒนธรรมอื่นๆ จะทำได้ บ้านทุกหลังมีระบบระบายน้ำทิ้ง ในเมืองแห่งหนึ่ง มีอ่างอาบน้ำขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้น อย่างซับซ้อน แต่ไม่มีใครอ่านจารึกของอารยธรรมนี้ได้เลย ดังนั้นจึงไม่มีใครรู้ว่าอ่างอาบน้ำนั้น ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา หรือใช้เป็นที่อาบน้ำของผู้คนที่รักสะอาด นักโบราณคดียังพบภาพประทับตรา ที่เป็นรูปขนาดเล็ก เป็นภาพนั่งไขว้ขา อาจเป็นการทำสมาธิ นักโบราณคดีบางส่วนเชื่อว่า นี่เป็นพระศิวะในยุคแรกๆ ในขณะที่บางส่วนกล่าวว่า เรายังไม่รู้แน่ชัด อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เจริญสูงสุดในช่วงระหว่าง 2600 ถึง 1900 ปีก่อนคริสตกาล และประมาณปีที่ 1500 ก่อนคริสตกาล กลุ่มคนจากวัฒนธรรมอื่น ในเอเชียกลาง ได้มาถึงที่นี้ นั่นคือชาวอารยัน ชาวอารยันนำเอาภาษาและเทพเจ้าของ ตนเข้ามา ซึ่งรวมถึงพระอาทิตย์ และยังนำเอาเครื่องดื่มที่ทำให้เมา ที่เชื่อว่าจะทำให้เป็นอมตะ นอกจากนี้ก็ยังนำเอาระบบสังคมเข้ามาด้วย พวกเขาแบ่งสังคมออกเป็น 3 กลุ่ม คือ นักบวช ขุนนางและนักรบ และคนงาน ในที่สุดอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ และวัฒนธรรมอารยันก็ผสานกัน ยุคต่อจากนี้เป็นยุคที่แนวคิดต่างๆ ถูกรวมเข้าด้วยกัน เช่น การปฏิบัติตนของนักบวช และขั้นตอนการประกอบพิธีกรรม แนวคิดเหล่านี้ถูกถ่ายทอดด้วยปากต่อปาก และในที่สุดก็ได้รับการบันทึกไว้ เป็นลายลักษณ์อักษร คัมภีร์ชุดนี้มีชื่อว่า"พระเวท" และยุคนี้ก็ได้ชื่อว่า"ยุคพระเวท" นอกจากประเพณีและพิธีกรรมแล้ว ในพระเวทยังมีคัมภีร์เกี่ยวกับ เทวตำนานและปรัชญา เทพในเทวตำนานในพระเวท จะต่าง จากเทพของฮินดูในยุคหลัง เทพเหล่านั้นเป็นสัญลักษณ์ของธรรมชาติ หรือแนวคิดที่เป็นนามธรรม เทพ 3 องค์ที่สำคัญ คือ พระอินทร์ เทพแห่งฝนและสงคราม พระอัคนี เทพแห่งไฟ และพระโสมะ เทพแห่งน้ำเมาซึ่งใช้ประกอบ พิธีกรรม ดังนั้นพระเวทจึงต่างจาก ศาสนาฮินดูในยุคหลัง แต่บางส่วนของพระเวท ก็กลายมาเป็นสิ่งที่เป็นแก่นแนวคิด ในศาสนาฮินดู เช่น กลไกของการกลับชาติมาเกิด การออกจากวงล้อของการเกิดใหม่ หรือ"สังสารวัฎ" การมองผ่านภาพลวงตา หรือ"มายา" การบรรลุอิสรภาพ หรือ"โมกษะ" แนวคิด เช่น หน้าที่ หรือ "ธรรมะ" และการกระทำในชาติหนึ่งที่ส่งผล ไปอีกชาติอื่น หรือ "กรรม" ก็ยังมีการกล่าวถึงในพระเวทด้วย แนวคิดเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้น ที่สุดท้ายกลายมาเป็นศาสนาฮินดู หรือสนาตนธรรมในที่สุด