
หนังสือพิมพ์ในสวีเดน

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
จริงหรือเท็จ? คนส่วนใหญ่ที่อ่านหนังสือพิมพ์ในสวีเดนเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูง
ชาวสวีเดนเป็นพวกชอบอ่านหนังสือพิมพ์ โดยเฉลี่ยประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน ซึ่งเป็นคนมีอายุระหว่าง 15 ถึง 79 ปี อ่านทั้งที่เป็นแบบสิ่งพิมพ์ หรือแบบออนไลน์ ทั้งผู้ชายและผู้หญิงต่างก็อ่าน หนังสือพิมพ์พอๆ กัน และมันก็เป็นเรื่องปกติที่คนเรียนน้อย จะอ่านหนังสือพิมพ์เหมือนๆกับ คนที่เรียนสูงๆ แต่พวกเราเริ่มอ่านกันน้อยลงเรื่อยๆ ไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีชาวสวีเดน มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ อ่านหนังสือพิมพ์ในวันธรรมดาๆ ทว่าวันนี้เปอร์เซ็นต์นั้นได้ลดลง คนที่สูงวัยส่วนใหญ่ มักจะอ่าน หนังสือพิมพ์บ่อยๆ ในบรรดาคนที่อายุน้อยกว่า 25 ปี จะอ่านหนังสือพิมพ์ไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ในวันปกติ หนังสือพิมพ์แบบบอกรับสมาชิก ยังคงอ่านในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์อยู่ ในขณะที่หนังสือพิมพ์แบบ tabloid มักจะอ่านทางออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ ในสวีเดนมีหนังสือพิมพ์หลายฉบับ มากกว่า 150 ฉบับที่ออกข่าวเกือบทุกวัน ซึ่งส่วนใหญ่นั้นสามารถหาอ่านได้ ทั้งแบบกระดาษและแบบออนไลน์ นี่คือฉบับใหญ่ที่สุดจำนวนหนึ่ง ออฟตอนบลอดเด็ต (Aftonbladet) เป็นหนังสือแบบ tabloid ก่อตั้งขึ้นในปี 1830 โดย ลอร์ช ยูวัน แยตตา (Lars Johan Hierta) ทั้งยังเป็นหนังสือพิมพ์ที่เก่าแก่ที่สุด ที่ยังคงเปิดทำการอยู่ในสวีเดน ไม่มีหนังสือพิมพ์ฉบับใดในสวีเดน ที่มีผู้อ่านออนไลน์มากเท่ากับ ออฟตอนบลอดเด็ต (Aftonbladet) หน้าบรรณาธิการเป็นแนวสังคมนิยม ประชาธิปไตย ดอกเก็นนีเฮียตเตอร์ (Dagens Nyheter) เป็น นสพ. บอกรับสมาชิกที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งมีเป้าหมายในบริเวณสตอกโฮล์ม หน้าบรรณาธิการมีความเป็นอิสระเสรีนิยม ซึ่งหมายความว่ามันไม่ได้ เกี่ยวพันกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่จะเข้ากับ พรรคการเมืองฝ่ายขวา เยอเตบอยส โพสเต็น (Göteborgs Posten) เป็น นสพ.แบบบอกรับสมาชิก ที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณชายฝั่งตะวันตก หน้าบรรณาธิการเป็นแบบเสรีนิยม แต่ก็มีความเป็นอนุรักษ์นิยมมากกว่า ดอกเก็นนีเฮียตเตอร์ (Dagens Nyheter) เอ็กซเพรสเซ็น (Expressen) เป็นหนังสือพิมพ์แบบ tabloid และเป็นคู่แข่งรายใหญ่ที่สุด ของออฟตอนบลอดเด็ต (Aftonbladet) เอ็กซเพรสเซ็น (Expressen) มีฉบับท้องถิ่น ใน เยอเตบอย (Goteborg) หรือ GT และในสโกเน่ (Skåne) เรียกว่า คแวลสโพสเต็น (Kvällsposten) หน้าบรรณาธิการเป็นแนวเสรีนิยม ซึ่งไม่ต่างจากออฟตอนบลอดเด็ต (Aftonbladet) เอ็กซเพรสเซ็น (Expressen) มีผู้อ่านแบบออนไลน์เป็นจำนวนมาก สแวนสกะ ดอกบลอดเด็ต (Svenska Dagbladet) เป็น นสพ.บอกรับสมาชิกในแถบ Stockholm เช่นเดียวกับดอกเก็นนีเฮียตเตอร์ (Dagens Nyheter) หน้าบรรณาธิการเป็นแนวเสรีนิยมอนุรักษ์ และค่อนข้างไปการเมืองฝ่ายซ้าย หนังสือพิมพ์เมโทร (Metro) เป็น นสพ. ท้องถิ่นในสตอกโฮล์ม เยอเตบอย และในสโกเน่ Metroไม่ใช่หนังสืมพิมพ์บอกรับสมาชิก หรือจำหน่าย แต่เป็นหนังสือพิมพ์ที่ แจกฟรี ส่วนใหญ่แจกในระบบขนส่งสาธารณะ Metro ออกวางแผงครั้งแรกในปี 1995 ดังนั้นมันจึงเป็นหนังสือพิมพ์ ที่อาวุโสน้อยสุดในสวีเดน แต่มันได้เป็นหนึ่งในหนังสือพิมพ์ที่ใหญ่ ที่สุดในประเทศ มีหนังสือพิมพ์อื่นๆอีกหลายฉบับในสวีเดน และในเกือบทุกเมืองก็จะมี หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอยู่ แม้แต่ในเมืองเล็กๆ นอกจากนี้ยังมีหนังสือพิมพ์ ที่มีเป้าหมายเจาะจง เช่น คริสเตียน ดอกเก็น (Christian Dagen) หนังสือพิมพ์แนวสังคมนิยม เช่น ดอกเก็น อีทีซี (Dagens ETC) และมีหนังสือพิมพ์ ดอกเก็น อินดุสทรี (Dagens Industri) ซึ่งโฟกัสไปที่ธุรกิจและการเงิน มีหนังสือพิมพ์จำนวนมาก ที่เผยแพร่อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งก่อตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 19 ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์เหล่านี้มักมีส่วน เกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคม ในเวลานั้นหนังสือพิมพ์มักมี ประวัติทางการเมืองที่ชัดเจน และไม่ได้จำกัดแค่ในหน้า บรรณาธิการเท่านั้น ในช่วงปี 1950 เมื่อโทรทัศน์ กลายมาเป็นสิ่งปกติ เป็นการแข่งขันที่ทำให้หนังสือพิมพ์ มากมายปิดตัวลง ผู้คนต่างพูดถึงการล้มหายตายจาก ของหนังสือพิมพ์ ในหลายๆเมืองที่เคยมีหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ก็เหลือเพียงแค่ฉบับเดียว ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่ ผู้คนจะได้รับฟัง ความเห็นทางการเมืองแบบเดียว แทนที่จะเป็นความเห็นหลายทาง เพื่อเพิ่มความหลากหลาย ในหนังสือพิมพ์ จึงมีการอุดหนุนทางการเงินในปี 1970 โดยรัฐจ่ายเงินให้กับ หนังสือพิมพ์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของแต่ละเมือง ทุกวันนี้ไม่ใช่โทรทัศน์ ที่เป็นคู่แข่งหลักของหนังสือพิมพ์ แต่เป็นอินเทอร์เน็ตต่างหาก หนังสือพิมพ์กำลังเข้าสู่วิกฤติอีกครั้ง การตายครั้งที่ 2 ของหนังสือพิมพ์ และมันก็ไม่แน่นอนเลย ว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอิสระ จะยังมีอยู่ในแต่ละเมืองในอนาคตไหม