
วิทยุและโทรทัศน์

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
"ภาพยนตร์ข่าว" คืออะไร ?
เราอาจใช้สื่อที่หลากหลายในแต่ละวัน อาจเป็นข้อเขียน คำพูด รูปภาพ และวิดีโอ แต่มันก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป เมื่อร้อยปีก่อนจดหมายเป็นวิธีที่ปกติ ที่สุด ในการสื่อสารกันระหว่างคนที่อยู่ห่างไกล หากเป็นเรื่องด่วนมากก็สามารถ ส่งข้อความแบบเทเลกราฟ หรือที่เรียกว่าโทรเลข ต่อมาเมื่อโทรศัพท์กลายมา เป็นสิ่งปกติทั่วไป มันเข้ามามีบทบาทในการส่ง ข้อความที่รวดเร็วแทนโทรเลข จดหมาย โทรเลขและโทรศัพท์ มีสิ่งร่วมกันคือมันถูกส่ง จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ทว่าหนังสือพิมพ์รายวันกลับ ต่างออกไป มันกระจายข้อมูลไปยัง คนมากมายได้พร้อมกัน ผู้คนเคยไปที่โรงภาพยนตร์ท้องถิ่น เพื่อดูภาพยนตร์ข่าวสั้น มันเหมือนกับรายการข่าว แต่เราดู มันในโรงภาพยนตร์ การดูข่าวถือว่าเป็นสิ่งใหม่ท้ังหมด ทุกอย่างไม่จำเป็นต้องอธิบาย ด้วยคำพูดเสมอไป ผู้ชมสามารถเห็นไฟที่ลุกท่วมบ้าน ด้วยตาตัวเอง ความก้าวหน้าทางการทหาร ในสงคราม และความเป็นมาของตึกสูงระฟ้าต่างๆ ในอเมริกา การดูภาพเคลื่อนไหวเป็นการดึงดูดผู้ชม ที่ต่างจากการอ่านหนังสือพิมพ์ เหมือนกับว่าเราเห็นโลกได้ใกล้ขึ้น และเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของสิ่ง ที่เกิดขึ้นด้วย ในเวลาเดียวกันกับภาพยนตร์ข่าว มีสื่ออีกอย่างหนึ่งที่กลายมาเป็นสิ่งปกติ ซึ่งก็คือ : วิทยุ ต้องขอบคุณนวัตกรรมทางเทคนิค หลอดสูญญากาศ ทั้งยังมีเครื่องรับวิทยุที่ราคาถูก และใช้ง่ายกว่าที่เคยมีมา สถานีวิทยุเกิดขึ้นเพิ่มเรื่อยๆ และเป็นครั้งแรกก็ว่าได้ที่สื่อ มีความเร็วไม่ต่างจากโทรศัพท์ จนทำให้มันเข้าถึงผู้คน ได้มากเท่ากับหนังสือพิมพ์ ผู้คนรับข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ติดตามเหตุการณ์สำคัญ ของโลกได้ทันท่วงที ชั่วโมงต่อชั่วโมง ข่าวจากวิทยุนั้นไม่มีภาพ แต่มันก็ เหมือนกับภาพยนตร์ข่าวตรงที่ กระตุ้นปฏิกิริยาทางอารมณ์ได้ดี ซึ่งกระตุ้นได้ดีกว่าหนังสือพิมพ์ด้วยซ้ำ เมื่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์ขึ้นสู่อำนาจ ในเยอรมนีเมื่อช่วงปี 1930 เขาใช้ประโยชน์จากความจริงข้อนี้ ด้วยการกระจายคำปราศรัยผ่านทาง วิทยุ เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ ความเป็นชาตินิยม ความเป็นหนึ่งเดียวกัน ของชาวเยอรมัน ทั้งความเกลียดชังชาวต่างชาติ และการต้องการล้างแค้น หลังจากที่เยอรมันแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 60 ปีต่อมาในช่วงปี 1990 เป็นอีกครั้งที่วิทยุได้ เข้ามามีบทบาทที่คล้ายกัน ในเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา ประเทศที่มีการใช้วิทยุแบบเดียวกัน มีคนมากกว่าล้านคนถูกสังหาร ภายในช่วง 3 เดือน ด้วยแคมเปญแห่งความเกลียดชัง ที่ออกอากาศไปทางวิทยุ คล้อยหลังวิทยุ มีการประดิษฐ์สื่อ ที่สำคัญมาก มันมีภาพเคลื่อนไหว และกระตุ้นอารมณ์เหมือนกับภาพยนตร์ข่าว และมันยังเข้าถึงตัวคนได้ใน ห้องนั่งเล่นที่บ้าน เหมือนกับที่วิทยุทำ แน่นอนว่านี่คือโทรทัศน์ ในช่วงปี 1950 โทรทัศน์ได้แพร่ไป สู่บ้านเรือนอย่างรวดเร็ว เริ่มจากอเมริกาแล้วก็ยุโรป เทคโนโลยีที่ใช้ในการออกอากาศ ทั้งวิทยุและโทรทัศน์มีค่าใช้จ่ายมาก จำเป็นต้องมีเสาส่งสัญญาณสูงๆ และอุปกรณ์ขั้นสูงมากมาย บ่อยครั้งที่รัฐบาลเป็นผู้จัดเตรียม เทคโนโลยีนี้ และเป็นผู้ริเริ่มสถานีโทรทัศน์ เป็นรายแรกๆ รัฐบาลเป็นผู้บริหารบริษัทสื่อ และบริษัทที่ตั้งขึ้นก็มักถูกเรียกว่า บริษัทบริการสาธารณะ ที่ให้บริการสื่อ ในรูปแบบสาธารณะ บริษัทที่ให้บริการสาธารณะ ที่รู้จักกันมากที่สุดก็คือ BBC บริษัทกระจายภาพและเสียงแห่งอังกฤษ ซึ่งยังคงทำการอยู่จนถึงทุกวันนี้ ต่อมามีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์ ผ่านดาวเทียมที่โคจรรอบโลก ซึ่งจะส่งสัญญาณที่รับได้ โดยใช้จานดาวเทียม หรือผ่านสายเคเบิลใต้ดิน ซึ่งจะนำสัญญาณไปสู่บ้านเรือน หรืออพาร์ตเมนต์ ช่องทีวีที่ออกอากาศผ่านดาวเทียม หรือเคเบิล มักเป็นบริษัทที่เอกชนดูแล และมีการเก็บค่าธรรมเนียม และค่าโฆษณาในการรับชมด้วย ลองทำแบบนี้นะ เลือกข่าวสัก 2-3 ข่าวจากสัปดาห์ก่อนๆ แล้วหาจุดเชื่อมโยงว่าข่าวเหล่านั้น ถูกถ่ายทอดไปในสื่อต่างๆ อย่างไรบ้าง ทั้งทีวีสาธารณะ เคเบิลทีวี ข่าวทางวิทยุ และหนังสือพิมพ์รายวัน จากนั้นให้เปรียบเทียบดู ว่าสื่อใดมีการใช้คำมากที่สุด? สื่อแบบไหนดึงดูดใจมากที่สุด? เนื้อหาข่าวที่ได้นั้นเปลียนแปลงไป ในทางใดบ้างเมื่อมีการถ่ายทอด มันผ่านสื่อ ทีวี วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์? สื่อดังกล่าวมีผลกระทบกับข้อความหรือไม่?