
การประกาศเรื่องสิทธิมนุษย์ขององค์การสหประชาชาติ

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
จริงหรือเท็จ? เมื่อพูดถึงสิทธิมนุษยชน ผู้คนจะหมายถึงสิ่งเดียวกันเสมอ
อะไรนะ ไม่มีไวไฟเหรอ ฉันรับไม่ได้หรอกนะ พูดแบบจริงจังเลยนะ นี่มันละเมิดสิทธิมนุษยชนกันชัดๆ ไม่หรอก อาจไม่ใช่แบบนั้นก็ได้ ไม่มีข้อตกลงอย่างแท้จริง ว่าสิทธิมนุษยชนมันต้องมีอะไรบ้าง แต่เมื่อพูดถึงสิทธิมนุษยชน เรามักหมายถึงปฏิญญาสากลที่ว่าด้วย สิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ เมื่อปี 1948 น่ะ ซึ่งมีแนวคิดว่ามนุษย์ทุกคน ล้วนมีสิทธิ์ที่ไม่อาจละเมิดได้ ไม่เคยมีความชัดเจน จนกระทั่งผ่านยุคกลางเข้าสู่ ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งผู้คนเริ่มมองมนุษย์กันแบบนี้ ต่อมาในระหว่างยุคเรืองปัญญา คือช่วงศตวรรษที่ 18 แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิของมนุษย์ ทุกๆคนก็เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่นักปรัชญา ที่เรียกตัวเองว่าพวกเสรีนิยม เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด ในปี 1945 ความโหดร้ายทารุณและความรุนแรง เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่อาจทนได้อีกต่อไป องค์การสหประชาชาติ หรือ UN ได้ก่อตั้งขึ้น และองค์การสหประชาชาติก็ได้ ออกเอกสารเรื่องสิทธิมนุษยชน ในอีก 3 ปีต่อมาในปี 1948 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เกิดขึ้นหลังจากการลงประชามติ ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ ประกอบไปด้วยอารัมภบท กับอีก 30 หัวข้อ อารัมภบทอธิบายถึงเหตุที่สหประชาชาติ ออกปฏิญญานี้ขึ้นมา ซึ่งพุ่งเป้าไปที่ความรุนแรง และความป่าเถื่อนของประวัติศาสตร์บางส่วน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผู้คนไม่เคารพ ในสิทธิมนุษยชน ตามมาด้วยหัวข้อต่างๆ : ข้อที่ 1 มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระ และเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ ข้อที่ 2 ไม่มีผู้ใดจะพรากสิทธิเหล่านี้ ไปจากบุคคลหนึ่งบุคคลใด ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ ผิวพรรณ เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง หรือสถานะทางการเงิน หลังจากนั้น มีอีก 9 ข้อ ซึ่งเกี่ยวข้องสิทธิในการมีชีวิต อีกทั้งอิสรภาพจากการเป็นทาส และการทรมาน และสิทธิในการพิจารณาคดีโดยชอบธรรม อีก 6 ข้อที่ตามมาเป็นเรื่อง ของสิทธิความเป็นส่วนตัว สิทธิแห่งการเคลื่อนย้าย สิทธิในการออกนอกประเทศและ แสวงหาที่ลี้ภัย สิทธิในการเลือกผู้ที่จะแต่งงานด้วย และการแต่งงานนั้นเป็นไปโดยสมัครใจ นอกจากนี้ยังระบุว่าครอบครัว เป็นหน่วยธรรมชาติและเป็นหน่วย พื้นฐานของสังคม และทุกคนมีสิทธิในการเป็น เจ้าของสิ่งต่างๆ โดยไม่มีใครสามารถ เอามันไปจากเจ้าของได้ ข้อที่ 18 ถึง 21 เป็นเรื่องของความคิด การแสดงความเห็นและการเมือง ในนี้จะพบเรื่องอิสรภาพทางความคิด ความเห็น การรวมตัวและการชุมนุม นอกจากนี้ยังระบุไว้ด้วยว่าทุกคน มีสิทธิในระบอบประชาธิปไตย แม้ว่าคำนั้นไม่ได้ใช้จริงก็ตาม อีก 6 ข้อถัดไป กล่าวถึงสิทธิเชิงบวกหลายประการ ซึ่งก็คือ สิทธิในการเรียกร้องให้ใครบางคน จัดหาอะไรบางอย่าง นี่คือสิทธิต่อ: ...การเลือกงานโดยอิสระ และรับเงินรายได้ที่ยุติธรรม ...การเข้าร่วมสหภาพแรงงาน ...สิทธิในการหยุดพักผ่อน มีมาตรฐานการครองชีพที่ เหมาะสม ในเรื่องอาหาร เครื่องแต่งกาย ที่อยู่อาศัย การดูแล สุขภาพและได้รับความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น การได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคบังคับ และไม่มีค่าใช้จ่าย รวมถึงสิทธิในการมีส่วนร่วมในศิลปวัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ ยังมีเรื่องของการคุ้มครอง ลิขสิทธิ์ของสิ่งที่สร้างขึ้นมาด้วย ในตอนท้ายมีอีก 3 ข้อที่ระบุ ถึงเรื่องของเสรีภาพอื่นๆ และสิทธิการได้รับการคุ้มครอง และถูกทำให้ปรากฏ และไม่มีใครมาพรากสิทธิอันพึงมี เหล่านี้ไปจากพวกเขาได้ เอกสารนี้ควรค่าแก่การอ่าน มันไม่ยาวมากนักและมีมากกว่า 500 ภาษา แต่ไม่มีส่วนใดในปฏิญญาสากล ที่ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จะพูดถึงสิทธิเรื่องสัญญาณไวไฟหรอกนะ อย่างน้อยก็ยังไม่ใช่ตอนนี้