
จากบรรทัดฐานสู่กฎหมาย

อัปเกรดสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม
จริงหรือเท็จ? บรรทัดฐานอาจเป็นสิ่งที่ดีที่ช่วยให้เราเข้ากับคนในสังคมหมู่มากได้ดีขึ้น
นี่ จะทำแบบนั้นไม่ได้นะ แซงคิวคนที่ต่อแถวอยู่เนี่ย ใครเขาทำกัน ทำไมจะทำไม่ได้ ในกฎหมาย ไม่ได้ห้ามแซงคิวสักหน่อย ไม่ใช่อย่างนั้น มันเป็นกฎ ที่ไม่ได้เขียนไว้ กฎที่ไม่ได้เขียนเหรอ งั้นก็ไม่นับ ทำไมจะไม่นับ กฎที่ไม่ได้เขียนไว้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติตัวในกลุ่ม หรือในสังคมเรียกว่าบรรทัดฐาน เราต้องปฏิบัติตามบรรทัดฐาน ตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่นเมื่อไปที่โรงภาพยนตร์ เราต้องปิดมือถือใช่ไหม? แล้วเราก็จะไม่พูดเสียงดังกับคนที่ อยู่ข้างๆ ด้วยใช่หรือเปล่า? นี่แหละ การทำตามบรรทัดฐาน บรรทัดฐานบางอย่างเราอาจรับรู้มาแล้ว โดยที่พ่อแม่สอนเราไว้ เมื่อตอนที่เรา ยังเด็กมาก ยังมีบรรทัดฐานอื่นๆที่ไม่เคยอธิบาย แต่เราเรียนรู้จากสภาพแวดล้อม มากหรือน้อยโดยที่เราไม่รู้ตัว เพราะคนอื่นๆ รอบตัวเรา ล้วนทำแบบนั้น และในที่สุด เราก็ทำแบบนั้น เหมือนกัน บรรทัดฐานอาจแตกต่างกันไป ตามสถานที่และกลุ่มคนที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ที่เกาะแห่งนี้ เราจะไม่เดินและเข้าไปยืนใกล้ๆ กับคนที่ไม่รู้จัก เราจะรักษาระยะห่าง เพื่อให้พื้นที่ส่วนตัวแก่กัน แต่บนเกาะภูเขาไฟแห่งนี้ ซึ่งเป็นเกาะที่เล็กกว่า ทั้งยังมีประชากรอยู่มากมาย ผู้คนยืนอยู่ใกล้กันมาก ไม่มีใครคิดว่ามันแปลกเลย บรรทัดฐานอาจเปลี่ยนไปตามกาลเวลาด้วย นานมาแล้ว ที่ผู้ชายส่วนใหญ่ จะออกไปทำงานนอกบ้าน กฎหมายไม่ได้ห้ามไว้หรอก แต่มันไม่เหมาะที่ผู้หญิง จะต้องไปทำงาน บรรทัดฐานจะเปลี่ยนแปลงไป เมื่อมีคนเริ่มต่อต้าน ในเวลานั้น หลายคนคิดว่า คนพวกนี้คิดผิด ที่ละเมิดบรรทัดฐานเดิม แต่วันนี้ คนส่วนใหญ่มองว่า คนเหล่านั้นเป็นผู้บุกเบิกที่กล้าหาญ ซึ่งท้าทายบรรทัดฐานและ ทำในสิ่งที่คิดว่าถูกต้อง เหมือนที่ฉันทำไง ก็อาจจะนะ ไม่เพียงแต่พฤติกรรมของพวกเราที่ส่งผล ต่อบรรทัดฐานเท่านั้น กฎหมายก็มีส่วนด้วยเหมือนกัน จำสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้วได้ไหม ตอนที่เราหงุดหงิดกับ คนที่ขี่จักรยานและส่งข้อความ ไปพร้อมกันน่ะ? จำได้สิ เจ้าโง่พวกนั้น ทุกคนก็รู้ว่ามันโง่ แต่ก็ยังทำ ดังนั้นฉันจึงเขียนถึงทุกคน ในรัฐสภาและร้องทุกข์เรื่องนี้ ใช่ เธอเขียนมันและเรียกร้องให้ ยกระดับบรรทัดฐานเป็นกฎหมาย แล้วเธอทำอะไรอีกบ้างนะ? ฉันก็เขียนมันลงไปในหนังสือพิมพ์ ล่ะมั้ง คิดว่างั้นนะ ใช่เลย เธอปรากฏตัวในสื่อด้วย และนักวิจัยบางคนก็สนใจ แล้วพวกเขาก็ทำการทดลอง และวัดค่าต่างๆ ออกมา จนได้ข้อสรุปว่าสิ่งที่เธอพูดนั้นถูกต้อง การส่งข้อความขณะขี่จักรยานเป็นความ เสี่ยงต่ออุบัติเหตุมากขึ้น ใช่แล้ว ซึ่งต่อมามันก็กลาย เป็นกฎหมายจนได้ ใช่ การรับรู้สิ่งที่ถูกต้องของผู้คน มีผลต่อกฎหมาย และมันก็เกิดสิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง ขึ้นมา ก่อนจะเป็นกฎหมาย ครึ่งหนึ่งของประชากร คิดว่าการส่งข้อความขณะปั่นจักรยาน เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง แต่ตอนนี้เมื่อมันเป็นกฎหมายแล้ว 4 ใน 5 คิดว่าการทำแบบนั้น เป็นสิ่งผิด ดังนั้นการรับรู้ของผู้คนในสิ่งที่ถูกต้อง ก็ได้รับอิทธิพลจากกฎหมายเช่นกัน บรรทัดฐานเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ นั่นคือมันไม่คงที่ มันมีพัฒนาการไปพร้อมกับพฤติกรรม และมุมมองของเรา และบรรทัดฐานกฃ้ล้วนส่งผล และได้รับผลจากกฎหมายเช่นกัน นี่เธอ ทำอย่างนั้นไม่ได้นะ และการแซงคิวในแถวก็ทำไม่ได้เช่นกัน